กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลด ละ เลิก ใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลตำบลลำภูรา
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 31 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 13,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวดรรชนี แต้มเฒ่า
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.698,99.583place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมเศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็ว และมีการประกอบอาหารด้วยตนเองน้อยลง ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ถึงแม้เทศบาลตำบลลำภูราจะมีการส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาล และมีโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) แล้วก็ตามแต่ยังมีพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือแฝงมากับภาชนะบรรจุอาหาร “โฟม” ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสะดวก ราคาถูก และหาซื้อได้ง่าย จากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่า เมื่อนำกล่องโฟม (Potystyrene) ไปบรรจุอาหารที่มีความร้อนสูง หรือที่มีไขมัน หรือน้ำมัน จะมีสารพิษออกมาปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (Corcinogen) ได้แก่สารสไตรีน (Styrene) ออกฤทธิ์ทำให้สมองมึนงง ในผู้ชายเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งตับ ในผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งตับ ส่วนสารเบนซิน (Benzene) ออกฤทธิ์ทำลายไขกระดูก ทำให้โลหิตจาง และสารทาเลท (phthalate) เป็นสารทำลายระบบสืบพันธุ์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และจากการสำรวจปริมาณขยะตั้งแต่ปี 2552-2556 ของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขี้นอย่างต่อเนื่อง จาก 34 ล้านใบ/วัน เป็น 61 ล้านใบ/วัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ใบ/คน/วัน โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น จะพบว่ามีขยะประเภทโฟมมากกว่าปกติ ซึ่งโฟมเป็นขยะที่มีความคงทน และใช้เวลาในการย่อยสลายประมาณ 450 ปี ซึ่งสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องจากต้องใช้พลังงานต้นทุนการกำจัดสูง เปลืองพื้นที่ฝังกลบ และขบวนการกำจัดโฟม อาจทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง จากข้อมูล ร้าน/แผงจำหน่ายอาหารภายในเขตเทศบาลลำภูรา รวมทั้งหมด 15 ร้านยังมีการใช้โฟมในการบรรจุอาหารดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการรณรงค์ถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลตำบลลำภูราจึงเห็นความสำคัญในการจัดทำโครงการ ลด ละ เลิก ใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน เทศบาลตำบลลำภูรา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลลำภูรา มีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้โฟม

 

0.00
2 เพื่อให้ร้านและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ลด ละ เลิกการใช้กล่องโฟม

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมเอกสารสถานการณ์การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารภายในหน่วยงาน ร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงเรียน ชุมชน ในเขตเทศบาลตำบลลำภูรา
    1. จัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม.ในเขตเทศบาลตำบลลำภูรา
    2. ตรวจเยี่ยมร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร พร้อมให้ความรู้และเข้าร่วม ร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหารที่ปลอดโฟมบรรจุอาหาร
    3. รณรงค์เลิกใช้โฟมบรรจุอาหาร แก่ประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลลำภูรา
  2. ติดตามเยี่ยมร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ครั้งที่ 2 พร้อมมอบสติกเกอร์ “ร้านนี้ปลอดภัย” ไม่ใช้โฟมบรรจุอาหาร
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลลำภูรา มีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้โฟม
  2. ร้านและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ลด ละ เลิกการใช้กล่องโฟม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2561 09:48 น.