กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออก ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L8011-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ปะลุกาสาเมาะ
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิทยาไชยลาภ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาระดับประเทศ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมากก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้นำปัญหาโรคไข้เลือดออกมากำหนดเป็นนโยบายหลักในการดำเนินงาน โดยที่สถานบริการสุขภาพทุกแห่งจะต้องร่วมมือกับองค์กรชุมชนดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี แต่อัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกยังไม่ลดลง ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งในปัจจุบันยังมีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะลุกาสาเมาะ จึงมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาเพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือกออกให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือนและทุกหมู่บ้าน และได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออก เพื่อหาแนวทางปฏิบัติร่วมกันเพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างถูกต้อง 1.2 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออก

ตัวชี้วัด ลดค่า HI ไม่เกินร้อยละ 10 และค่า CI เท่ากับ 0

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับ ผู้นำชุมชน สท. ผู้นำศาสนา ครู อสม. และ
    แกนนำครอบครัวเพื่อระดมความคิดเห็นในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านอย่างครอบคลุมและต่อเนื่อง
  2. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่ นักเรียน และ ประชาชนทั่วไป
    โดยเน้นกระบวนการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
  3. ประสานงานกับ อสม. แต่ละชุมชนร่วมรณรงค์กับประชาชน ทุกครัวเรือนในการสำรวจและทำลายแหล่ง เพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  4. จัดทำคำสั่งคณะทำงานหน่วยเคลื่อนที่เร็วระดับพื้นที่
    ๕. ดำเนินการพ่นหมอกควันในชุมชน สัปดาห์ละ ๑ – ๒ ครั้ง ในกรณีช่วงระบาด อาจจะต้อง มากกว่า ๒ ครั้งต่อสัปดาห์
  5. ดำเนินการติดตามการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยอสม
  6. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนมีการตื่นตัวและตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอทำให้ค่าดัชนีความชุกชุมลูกน้ำยุงลาย (CI , HI) ลดลงทำให้อัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับที่ไม่เป็นปัญหาทางสาธารณสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2561 10:37 น.