กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ชุมชน 4.0 ร่วมต้านภัยไข้เลือดออก ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L5303-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.687,99.965place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่งที่สามารถป้องกันได้ ซึ่งการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตเนื่องจากโรคไข้เลือดออกส่งผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นอย่างมากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในปี 2560(ม.ค.-ธค.) มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกกระจายทั่วทั้งจังหวัดสตูลอย่างต่อเนื่องมากเป็นอันดับต้นๆของประเทศ และพบผู้ป่วยในพื้นที่อำเภอเมืองสตูล จากลักษณะการระบาดในอดีตกล่าวคือระบาด 2 ปีเว้น 1 ปี และจากสถานการณ์ในต้นปี2560ถ้าไม่มีการดำเนินการรณรงค์ควบคุมและป้องกันอย่างจริงจังและต่อเนื่องแล้ว คาดว่าจะเกิดการแพร่ระบาดมากขึ้น ในปี 2561 ผู้นำชุมชน อบต.อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวได้ร่วมกันจัดการประชุมแบบมีส่วนร่วม (AIC) เพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ขึ้นได้มีการรณรงค์สำรวจลูกน้ำยุงลายพร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก คือ ต้องให้ประชาชนตระหนักถึงความร้ายแรงและเห็นความจำเป็นพร้อมทั้งร่วมมือป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ดังนั้นกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมร่วมกับรพ.สต.เจ๊ะบิลังจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกขึ้นในพื้นที่ถ้าไม่ได้รับการควบคุมและการป้องกันโรคอย่างทันท่วงทีและต่อเนื่องจะทำให้เกิดการระบาดได้อย่างรวดเร็วและหากมีผู้ป่วยเกิดขึ้นไม่ได้รับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องก็จะทำให้เกิดการเสียชีวิตของผู้ป่วยในอัตราค่อนข้างสูง
จากสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกดังที่กล่าวมาข้างต้นทำให้คาดการณ์ได้ว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก อาจจะมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นกว่าในปัจจุบัน ถ้าชุมชนไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจในครัวเรือนของชุมชน จึงได้จัดโครงการพัฒนาความรู้ การดูแลสุขภาพเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคไข้เลือดออก สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคและลดความเสี่ยงการเกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 สร้างนโยบายชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย

สร้างนโยบายชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย ร้อยละ ๙๐

0.00
2 ทีมควบคุมโรคในชุมชนได้รับการฟื้นฟูความรู้

ทีมควบคุมโรคในชุมชนได้รับการฟื้นฟูความรู้  อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี และร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

0.00
3 ลดปัจจัยเสี่ยงงต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ลดปัจจัยเสี่ยงงต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายไม่เกิน ร้อยละ 10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก เน้นหนักเรื่องการควบคุมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งทางกายภาพ,ชีวภาพและเคมี 75 7,500.00 7,500.00
1 ม.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 2. รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข คณะกรรมการชุมชน นักเรียน และทีม SRRT 75 7,500.00 7,500.00
รวม 150 15,000.00 2 15,000.00
  1. อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก เน้นหนักเรื่องการควบคุมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งทางกายภาพ,ชีวภาพและเคมี
  2. รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข คณะกรรมการชุมชน นักเรียน และทีม SRRT
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในทุกกลุ่มอายุลดลง
2.สามารถลดอัตราการแพร่โรคไข้เลือดออกในสถานศึกษาและชุมชน
3.ไม่มีรายงานพบชุมชนที่มีการเกิดโรคใน generation ที่ ๒ ในผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
4.ค่าHouse Index น้อยกว่าหรือเท่า 10 (HI ≤10) และค่า Container Index น้อยกว่าหรือเท่า 10 (CI ≤ 10)
5.ในสถานบริการต่างๆ เช่น โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และสถานที่ราชการที่ภาคส่วนมีค่า CI = 0 ร้อยละ ๑๐๐
6.ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออก มีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2561 11:26 น.