กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพประชาชน เพื่อจัดการสุขภาพชุมชน ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L8423-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโงสะโต
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 มีนาคม 2561 - 27 มีนาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 27 มีนาคม 2561
งบประมาณ 81,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุลัยมาน เจ๊ะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 177 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ส่งผลทำให้วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพโดยรวมของประชาชนไทย การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ ประชาชนมีอายุยืนยาวขึ้น การเจ็บป่วยและเสียชีวิตลดลง ทำให้มีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น คนไทยใช้ชีวิตแบบรีบเร่งและแข่งขันมากขึ้น และนำมาซึ่งพฤติกรรมบางอย่างที่ส่งผลกระทบทางด้านลบต่อสุขภาพ เช่น ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง รับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอการสูบบุหรี่ พฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ดังกล่าว ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ที่สำคัญได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือด อัมพาต อัมพฤกษ์ ภาวะวิตกกังวลและความเครียด และโรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งโรคหรืออาการต่าง ๆ ดังกล่าว เป็นโรคหรืออาการเรื้อรัง ที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทยในปัจจุบัน และมีแนวโน้มของปัญหาที่รุนแรงมากขึ้น กระทรวงสาธารณสุขเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพดี การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการดูแลจัดการด้านสุขภาพ จะนำไปสู่การป้องกันและลดปัญหา และส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพได้อย่างยั่งยืน กระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้กลวิธีสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทยดำเนินการมากว่า 20 ปี มีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นกลไกสำคัญในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอสม. ถือเป็นผู้ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศโดย อสม. 1 คน ดูแลรับผิดชอบประชาชน 8-15 หลังคาเรือน ทำหน้าที่ แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงานสาธารณสุขบำบัดทุกข์ให้ประชาชน ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งในปัจจุบัน อสม.ต้องมีบทบาทมากขึ้นทั้งในด้านการถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพให้กับคนในชุมชน การให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน การเป็นผู้เชื่อมประสานระหว่างเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ กับประชาชน และกลุ่ม/องค์กรต่าง ๆ ในชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการดูแลจัดการด้านสุขภาพ เชื่อมโยงไปถึงการพัฒนาด้านอื่น ๆ การรวมพลังกับแกนนำสุขภาพอื่น ๆ ในการสร้างสุขภาพ การเฝ้าระวังโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ รวมถึงเป็นผู้นำในการรณรงค์ด้านสุขภาพต่าง ๆ ในชุมชน จากสภาพปัญหาและวิถีของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ อสม.จำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการจัดการด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น อีกทั้งจากการที่รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาประเทศไทยให้เป็น “ประเทศไทย 4.0” หรือ “Thailand 4.0” โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีดิจิตัลเข้ามาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยกระดับคุณภาพของการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ตั้งเป้าหมายให้ “ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน” ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคเป็นเลิศ ยุทธศาสตร์ที่ 2 บริการเป็นเลิศยุทธศาสตร์ที่ 3 บุคลากรเป็นเลิศ และยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล ซึ่งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญและเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงานสุขภาพภาคประชาชนของประเทศไทย อยู่ใกล้ชิดประชาชน เป็นอาสาสมัครที่ทำงานด้วยความมีจิตอาสาในการดูแลสุขภาพประชาชน ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีศักยภาพ ทักษะ และความพร้อมตามนโยบายการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของยุทธศาสตร์ชาติ สามารถดูแลสุขภาพของตนเองและประชาชนในชุมชนได้ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพของคนในพื้นที่ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ตามแนวทางการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขยุทธศาสตร์ชาติ (อสม. 4.0)

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขในการเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ สามารถให้ความรู้ และแสดงบทบาทสำคัญในภารกิจขั้นพื้นฐานของอาสาสมัครสาธารณสุขได้

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพของตนเองและประชาชนในชุมชน ทั้ง 14 องค์ประกอบ ได้

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 73.00 0 0.00
22 - 24 มี.ค. 61 อบรมพัฒนาศักยภาพ (อสม.4.0) 0 39.00 -
25 - 27 มี.ค. 61 อบรมพัฒนาศักยภาพประชาชน (14 องค์ประกอบ) 0 34.00 -
  1. ประชุมคณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโงสะโต เพื่อหารือถึงแนวทางในการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนในเขตตำบลบาโงสะโต ตลอดจนหารือเกี่ยวกับการบูรณาการองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ด้วย
  2. ร่างแผนปฏิบัติงาน/ร่างโครงการ เสนออนุมัติ
  3. มอบหมายงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
  4. ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อเตรียมพร้อมในการอบรมพัฒนาศักยภาพ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนที่ผ่านการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถถ่ายทอดความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.ชุมชนมีการจัดระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพของชุมชน และสามารถจัดการด้านสุขภาพในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสุขภาพประชาชนได

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2561 11:53 น.