กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานกองทุนฯ6 พฤศจิกายน 2561
6
พฤศจิกายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำรูปเล่มรายงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้จัดทำรูปเล่มรายงาน

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินและผอมโดยภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านภาวะทุพโภชนาการ6 พฤศจิกายน 2561
6
พฤศจิกายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เยี่ยมบ้านและชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 เดือน พร้อมทั้งแนะนำผู้ปกครองให้ดำเนินการต่อเนื่อง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินและผอมโดยภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านภาวะทุพโภชนาการ โดยโรงเรียนจัดกิจกรรมออกเยี่ยมบ้าน ให้คำแนะนำเรื่องการดูแลสุขภาพและเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและจัดให้มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเดือนละครั้ง ผลการติดตามพบว่า ก่อนดำเนินกิจกรรมนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการทั้งหมด มีจำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 38.52 หลังดำเนินกิจกรรม พบว่า นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ มีจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 25.21

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการออกกำลังกายและพัฒนาการ21 สิงหาคม 2561
21
สิงหาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

4.1 สร้างลานตัวหนอนเพื่อการเรียนรู้ บริเวณ ถนนหน้าอาคารเรียน           - หนอนน้อยนับเลข           - หนอนน้อยเรียนรู้เลข           - ตารางกระโดด 9 ช่อง           - ตารางอีฉุด           - ตารางเรียนรู้ภาษาไทย           - ตารางเรียนรู้ภาษาอังกฤษ 4.2 ออกกำลังกายตามความสนใจ - ครูและเด็กนักเรียนร่วมกันออกกำลังกายเพื่อสุขภาพทุกวัน เวลา 15.00-16.00 น. ตามชมรมต่างๆ ดังนี้ 1. ชมรมวอลเล่ย์บอล 2. ชมรมแบตมินตัน 3. ชมรมฮูลาฮุป 4. ชมรมฟุตบอล - แกนนำนักเรียนบันทึกผลการออกกำลังกายของแต่ละชมรม รายงานครูผู้รับผิดชอบ - ครูผู้รับผิดชอบแต่ละชมรม ทดสอบสมรรถภาพร่างกายหรือประเมินความแข็งแรงของร่างกายของสมาชิกในชมรมทุก 3 เดือน 4.3เต้นแอโรบิกตอนเย็น - รับสมัครสมาชิกการออกกำลังกานโดยการเต้นแอโรบิค - อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิคจำนวน 5 วันๆละ 2 ชั่วโมง - ออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิคทุกวัน โดยผู้ที่ผ่านการอบรมผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้นำในการเต้นแอโรบิค - วัดความดันโลหิตและน้ำหนัก ส่วนสูง ก่อนดำเนินกิจกรรมและหลังดำเนินกิจกรรม อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเปรียบเทียบภาวะสุขภาพของสมาชิก - สมาชิกที่ร่วมออกกำลังกายมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ผู้ดูแลระบบเรียกมาเพื่อให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม   4.4 ส่งเสริมทันตสุขภาพ - คัดเลือกแกนนำนักเรียนหรือสารวัตรนักเรียน เพื่อทำหน้าที่ตรวจสุขภาพในช่องปากของนักเรียนเบื้องต้น รายงานครูผู้รับผิดชอบ - อบรมให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพ สำหรับเด็กวัยเรียน หลักสูตร1 วัน - รณรงค์ให้นักเรียนทุกคน แปรงฟันหลังอาหารทุกวัน - บันทึกการแปรงฟันและตรวจสอบโดยแกนนำนักเรียน - กรณีเจอนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากไม่รุนแรง  ครูผู้ดูแลเชิญผู้ปกครองมาให้คำปรึกษา แนะนำ
- กรณีเจอนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากรุนแรง ครูผู้ดูแลเชิญผู้ปกครอง เพื่อส่งต่อไปรับการรักษา ณ โรงพยาบาลหรือคลินิคทันตแพทย์ต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการออกกำลังกายและพัฒนาการ

4.1 สร้างลานตัวหนอนเพื่อการเรียนรู้ บริเวณ ถนนหน้าอาคารเรียน (สนาม BBL) โดยนักเรียนและผู้ปกครอง ผลการดำเนินงาน โรงเรียนมีลานตัวหนอนเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 2 จุด คือ ถนนหน้าอาคารเรียน 1 และลานตัวหนอนหน้าอาคารเรียนอนุบาล โดยเด็กจะใช้ลานตัวหนอนในการเล่นออกกำลังกายในช่วงเวลาว่าง หรือตอนพักกลางวัน มาเล่นกิจกรรมการเรียนรู้บนลานตัวหนอนต่างๆ ส่งผลให้นักเรียนร้อยละ 80 มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา และรักการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น

4.2 กิจกรรมการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง โรงเรียนจัดตั้งชมรมกีฬาเพื่อสุขภาพ มีชมรมวอลเลย์บอล ชมรมแบตมินตัน ชมรมฟุตบอล และชมรมฮูลาฮูป เพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาหลังเลิกเรียนหรือใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มาออกกำลังกายก่อนกลับบ้าน จัดเตรียมอุปกรณ์การออกกำลังกายให้กับนักเรียนทุกคนได้ใช้อย่างพอเพียง จากการดำเนินงานตามโครงการที่กล่าวมาแล้ว ส่งผลให้เด็กและผู้ปกครองร้อยละ 80 มีน้ำหนักและส่วนสูงตามวัย ลดปัญหาทุพโภชนาการ มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพของตน รู้จักหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค อุบัติเหตุ ถัย และสิ่งเสพติด การได้ออกกำลังกายบ่อยๆ ส่งผลให้เด็กมีทักษะในการเลื่อนไหวตามวัย

4.3 กิจกรรมเต้นแอโรบิคเพื่อออกกำลังกายในตอนเย็น เพื่อให้นักเรียน ประชาชน มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ และเพื่อสร้างความรักความสามัคคีในชุมชน ผลการดำเนินการ ทางโรงเรียนเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับการเต้นแอโรบิคแบบง่ายๆ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ในช่วงตอนเย็น ส่งผลให้เด็กมีน้ำหนักและส่วนสูงตามวัย ลดปัญหาทุพโภชนาการ มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพของตนเอง การได้ออกกำลังกายบ่อยๆ ส่งผลให้เด็กมีทักษะในการเคลื่อนไหวตามวัย

4.4 กิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพ ผลการดำเนินการเพื่อดูแลและแก้ปัญหาด้านสุขภาพของผู้เรียนดูแลให้ผู้เรียนรักษาความสะอาดอนามัยส่วนตัว จัดกิจกรรมแปรงฟังหลังอาหารกลางวัน โดยการประสานงานกับเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลละงู มาอบรมวิธีการดูแลสุขภาพในช่องปากและฟันของเด็กวัยเรียน สอนวิธีการแปรงฟัน การตรวจฟันเพื่อรักษาและตรวจสุขภาพฟัน พบว่าคะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 83.80 เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินความพึงพอใจรายข้อ พบว่า ความรู้ที่ได้รับจากหัวข้อ วิธีการใช้สีย้อมฟัน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 90.00 รองลงมา คือความรู้ที่ได้รับจากหัวข้อ การสาธิตการแปรงฟันและฝึกการแปรงฟันที่ถูกวิธี มีค่าเฉลี่ย 84.14 ส่วนสถานที่ในการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 81.61

กิจกรรมที่ 2.2 เสริมประสบการณ์ การประกอบอาหาร15 สิงหาคม 2561
15
สิงหาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สอน/สาธิต การทำอาหารเมนูเพื่อสุขภาพสำหรับหนูน้อย เป็นการเพิ่มทักษะให้เด็กในการประกอบอาหาร ได้แก่

1.ไข่แปรงร่าง

2.สลัดผัก/ผักโรล

3.ผักกร๊อบกรอบ

4.ซูชิแฟนซี

5.สมู๊ทตี้ผัก-ผลไม้

โดยการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ปกครอง เด็ก สำหรับกลุ่มเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่ 2.2 เสริมประสบการณ์ การประกอบอาหาร

กิจกรรมสอน/สาธิตการทำอาหารเมนูเพื่อสุขภาพสำหรับหนูน้อย "ไข่แปลงร่าง" พบว่าคะแนนความพึงพอใจในกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย 81.14 เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินความพึงพอใจรายข้อ พบว่า ความรู้และขั้นตอนการทำไข่แปลงร่าง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 82.32 รองลงมาคือ ความรู้ที่ได้รับจากหัวข้อความรู้ประโยชน์ของไข่แปลงร่าง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 81.47 ส่วนความรู้ที่ไ้รับจากหัวข้อ ไข่แปลงร่าง คืออะไร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 79.58

กิจกรรมสอน/สาธิตการทำอาหารเมนูเพื่อสุขภาพสำหรับหนูน้อย "สลัดผัก/ผักโรล" พบว่าคะแนนความพึงพอใจในกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย 81.30 เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินความพึงพอใจรายข้อ พบว่า ความรู้และขั้นตอนการทำสลัดผัก/ผักโรล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 82.32 รองลงมาคือ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย 81.68 ส่วนสถานที่ในการจัดกิจกรรมและความเหมาะสมของอาหารว่างและเครื่องดื่ม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 80.63

กิจกรรมสอน/สาธิตการทำอาหารเมนูเพื่อสุขภาพสำหรับหนูน้อย "ผักกร๊อบกรอบ" พบว่าคะแนนความพึงพอใจในกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย 81.43 เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินความพึงพอใจรายข้อ พบว่า ความรู้และขั้นตอนการทำผักกร๊อบกรอบ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 82.74 รองลงมาคือ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรม ความรู้ที่ได้รับจากหัวข้อเมนูผักกร๊อบกรอบ คืออะไร และความรู้ที่ได้รับจากหัวข้อประโยชน์ของผักกร๊อบกรอบ มีค่าเฉลี่ย 81.68 ส่วนความเหมาะสมของอาหารว่างและเครื่องดื่ม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 80.63

กิจกรรมสอน/สาธิตการทำอาหารเมนูเพื่อสุขภาพสำหรับหนูน้อย "ซูชิแฟนซี" พบว่าคะแนนความพึงพอใจในกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย 81.96 เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินความพึงพอใจรายข้อ พบว่า ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม และความรู้ ขั้นตอนการทำซูชิแฟนซี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 82.74 รองลงมาคือ ความรู้ที่ได้รับจากหัวข้อประโยชน์ของซูชิแฟนซี มีค่าเฉลี่ย 82.36 ส่วนสถานที่ในการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 80.84

กิจกรรมสอน/สาธิตการทำอาหารเมนูเพื่อสุขภาพสำหรับหนูน้อย "สมูทตี้ผัก-ผลไม้" พบว่าคะแนนความพึงพอใจในกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย 81.85 เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินความพึงพอใจรายข้อ พบว่า ความรู้ที่ได้รับจากหัวข้อ ประโยชน์ของสมูทตี้ผัก-ผลไม้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 83.16 รองลงมาคือ ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมและความรู้และขั้นตอนการทำสมูทตี้ผัก-ผลไม้ มีค่าเฉลี่ย 82.74 ส่วนความเหมาะสมของอาหารว่างและเครื่องดื่ม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 80.63

กิจกรรมที่ 2.1 ให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก 5-13 ปี แก่ครู ผู้ปกครอง และแม่ครัว โรงเรียนบ้านปิใหญ่7 สิงหาคม 2561
7
สิงหาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อบรมให้ความรู้ เรื่อง

  • การดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กวัยเรียน

  • ความสำคัญของอาหาร

  • วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก

  • โรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่ 2.1 ให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก 5-13 ปี แก่ครู ผู้ปกครอง แม่ครัวและคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่า คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 81.04 เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรมและความรู้ที่ได้รับจากหัวข้อความสำคัญของอาหาร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 82.63 รองลงมาคือ ความรู้ที่ได้รับจากหัวข้อการดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กวัยเรียน มีค่าเฉลี่ย 81.43 ส่วนสถานที่ในการจัดกิจกรรม มี่าเฉลี่ยต่ำสุด 77.05

กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการเด็ก22 พฤษภาคม 2561
22
พฤษภาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.1ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กอายุ 5- 12 ปี

1.2 บันทึกผลในสมุดทะเบียนเด็กและสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก  พร้อมแจ้งผู้ปกครองให้ทราบ

1.3 จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นรายเฉพาะ

1.4 จัดทำคู่มือเมนูอาหารแต่ละชนิด คุณประโยชน์ของอาหารแต่ละชนิดและโภชนาการสำหรับเด็ก

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการเด็ก

โรงเรียนได้ดำเนินการจัดทำเอกสารสมุบันทึกสุขภาพนักเรียน โดยจัดให้มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ทุกเดือน และทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม และมีการออกเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อติดตามเรื่องภาวะทุพโภชนาการและการได้รับประทานอาหารของเด็กขณะอยู่ที่บ้าน และจัดทำคู่มือเมนูอาหารสำหรับเด็กวัยเรียน แจกให้ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ผลการติดตามพบว่า ก่อนดำเนินกิจกรรมนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการทั้งหมด 47 คน คิดเป็นร้อยละ 38.52 หลังดำเนินกิจกรรมพบว่า นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 25.21