กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเด็กปิใหญ่สดใส ใส่ใจรักสุขภาพ

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการเด็กปิใหญ่สดใส ใส่ใจรักสุขภาพ
รหัสโครงการ 2561– L8010 – 2 - 01
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านปิใหญ่
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2561
ปี 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 93,610.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านปิใหญ่
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านปิใหญ่ หมู่ที่ 5 ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ประเด็น
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล

อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการณ์เจริญเติบโตไม่สมวัย มีพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสมเช่นการไม่รับประทานผักผลไม้ เด็กเบื่ออาหารเด็กชอบกินขนมกรุบกรอบ เป็นต้นซึ่งปัญหาเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียนการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและกีฬา จะทำให้ร่างกายแข็งแรงจิตใจสดชื่น ดังคำกล่าวที่ว่า "จิตใจที่งดงามย่อมอยู่ในร่างกายแข็งแรง" แสดงว่าร่างกายกับจิตใจมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก ถ้าร่างกายแข็งแรงจิตใจก็จะเบิกบานหรือในทางกลับกัน ถ้ามีจิตใจเข้มแข็งจะเกิดพลังหรือกำลังใจ ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นซึ่งทางโรงเรียนบ้านปิใหญ่ได้จัดทำ “โครงการเด็กปิใหญ่สดใสใส่ใจรักษ์สุขภาพ”ซึ่งมีกิจกรรมการให้ความรู้ทางโภชนาการในเด็กวัยเรียนกิจกรรมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาในโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนและบุคคลากรภายในโรงเรียนได้มีการออกกำลังกายและเล่นกีฬากัน เป็นการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจให้สมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการเด็กทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์สังคมและสติปัญญา การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม ปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว สังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และเพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 5-13 ปี พ.ศ.2560 พบว่า เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านปิใหญ่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ พบว่า เด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มีจำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 15.45เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มีจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 13.82 , เด็กที่มีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มีจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 8.94 รวมจำนวนเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการจำนวน47คนคิดเป็นร้อยละ38.52นอกจากนี้ยังมีเด็กที่ไม่กินผัก จำนวน 39 คนคิดเป็นร้อยละ 31.71 มีนักเรียนชั้นปฐมวัยและเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการที่ไม่กินไข่จำนวน23คนคิดเป็นร้อยละ 18.70และเด็กที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปาก จำนวน 40คน คิดเป็นร้อยละ 32.79ซึ่งจากปัญหาเหล่านี้จะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนากการและพัฒนาการเด็กในสถานศึกษา และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านปิใหญ่จึงได้จัดทำโครงการ“เด็กปิใหญ่สดใสใส่ใจรักษ์สุขภาพ” เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการเด็กและติดตามเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์, เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยงส่งเสริมเมนูเพื่อสุขภาพสำหรับหนูน้อย เป็นการเพิ่มทักษะให้เด็กในการประกอบอาหาร ส่งเสริมการออกกำลังกายและพัฒนาการ ทางด้านสติปัญญาด้วย สนาม BBL โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการในกลุ่มเด็ก 5-13 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ
  2. เพื่อให้ครู ผู้ปกครองเด็ก แม่ครัวและคณะกรรมการสถานศึกษา มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก และส่งเสริมให้เด็กรับประทานผักและผลไม้
  3. เพื่อให้เด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิดโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านภาวะทุพโภชนาการ
  4. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของเด็กและส่งเสริมให้เด็กรักออกกำลังกาย
  5. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของเด็กและส่งเสริมให้เด็กรักออกกำลังกาย
  6. เพื่อให้เด็กและผู้ปกครองในชุมชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงปัญหาโรคฟันผุลดลง และลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้และสร้างความรักความสามัคคีในชุมชน
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการเด็ก
  2. กิจกรรมติดตามเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์, เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยงโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านภาวะทุพโภชนาการ
  3. กิจกรรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก 5-13 ปี แก่ครู ผู้ปกครอง และแม่ครัว โรงเรียนบ้านปิใหญ่
  4. กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการออกกำลังกายและพัฒนาการ
  5. กิจกรรมที่ 2.2 เสริมประสบการณ์ การประกอบอาหาร
  6. กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานกองทุนฯ
วิธีดำเนินการ

ขั้นเตรียมการ 1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจาก กองทุนฯ อบต.กำแพง 2. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ขั้นดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1เฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการเด็ก
1.1ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กอายุ 5- 12 ปี
1.2 บันทึกผลในสมุดทะเบียนเด็กและสมุดบันทึกสุขภาพเด็กพร้อมแจ้งผู้ปกครองให้ทราบ 1.3 จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นรายเฉพาะ 1.4 จัดทำคู่มือเมนูอาหารแต่ละชนิด คุณประโยชน์ของอาหารแต่ละชนิดและโภชนาการสำหรับเด็ก กิจกรรมที่ 2เสริมประสบการณ์ การประกอบอาหาร 2.1 ให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก5-12 ปี แก่ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง แม่ครัวและกรรมการสถานศึกษา 2.2 สอน/สาธิต การทำอาหารเมนูเพื่อสุขภาพสำหรับหนูน้อย เป็นการเพิ่มทักษะให้เด็กในการประกอบอาหาร ได้แก่ ไข่แปรงร่าง, ผักกร๊อบกรอบ,
สมู๊ทตี้ผัก-ผลไม้, ซูชิแฟนซี และสลักผัก เป็นต้นโดยการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ปกครอง เด็ก สำหรับกลุ่มเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ 2.3 ติดตามผลการบริโภคผักของเด็กไปยังผู้ปกครอง 2.4 คัดเลือกผู้ปกครองตัวอย่าง เพื่อเป็นต้นแบบให้กับผู้ปกครองคนอื่นๆ กิจกรรมที่ 3ติดตามเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์, เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยงโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านภาวะทุพโภชนาการ 3.1 เยี่ยมบ้านและชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง จำนวน 2-3 ครั้ง พร้อมทั้งแนะนำผู้ปกครองให้ดำเนินการต่อเนื่อง กิจกรรมที่4กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายและพัฒนาการ ทางด้านสติปัญญาด้วย สนาม BBL 4.1 สร้างลานตัวหนอนเพื่อการเรียนรู้ บริเวณ ถนนหน้าอาคารเรียน - หนอนน้อยนับเลข - หนอนน้อยเรียนรู้เลข - ตารางกระโดด 9 ช่อง - ตารางอีฉุด - ตารางเรียนรู้ภาษาไทย - ตารางเรียนรู้ภาษาอังกฤษ 4.2 ออกกำลังกายตามความสนใจ - ครูและเด็กนักเรียนร่วมกันออกกำลังกายเพื่อสุขภาพทุกวัน เวลา 15.00-16.00 น. ตามชมรมต่างๆ ดังนี้ 1. ชมรมวอลเล่ย์บอล 2. ชมรมแบตมินตัน 3. ชมรมฮูลาฮุป 4. ชมรมฟุตบอล - แกนนำนักเรียนบันทึกผลการออกกำลังกายของแต่ละชมรม รายงานครูผู้รับผิดชอบ - ครูผู้รับผิดชอบแต่ละชมรม ทดสอบสมรรถภาพร่างกายหรือประเมินความแข็งแรงของร่างกายของสมาชิกในชมรมทุก 3 เดือน 4.3เต้นแอโรบิกตอนเย็น - รับสมัครสมาชิกการออกกำลังกานโดยการเต้นแอโรบิค - อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิคจำนวน 5 วันๆละ 2 ชั่วโมง - ออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิคทุกวัน โดยผู้ที่ผ่านการอบรมผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้นำในการเต้นแอโรบิค - วัดความดันโลหิตและน้ำหนัก ส่วนสูง ก่อนดำเนินกิจกรรมและหลังดำเนินกิจกรรม อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเปรียบเทียบภาวะสุขภาพของสมาชิก - สมาชิกที่ร่วมออกกำลังกายมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ผู้ดูแลระบบเรียกมาเพื่อให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4.4 ส่งเสริมทันตสุขภาพ - คัดเลือกแกนนำนักเรียนหรือสารวัตรนักเรียน เพื่อทำหน้าที่ตรวจสุขภาพในช่องปากของนักเรียนเบื้องต้น รายงานครูผู้รับผิดชอบ - อบรมให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพ สำหรับเด็กวัยเรียน หลักสูตร1 วัน - รณรงค์ให้นักเรียนทุกคน แปรงฟันหลังอาหารทุกวัน - บันทึกการแปรงฟันและตรวจสอบโดยแกนนำนักเรียน - กรณีเจอนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากไม่รุนแรงครูผู้ดูแลเชิญผู้ปกครองมาให้คำปรึกษา แนะนำ
- กรณีเจอนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากรุนแรง ครูผู้ดูแลเชิญผู้ปกครอง เพื่อส่งต่อไปรับการรักษา ณ โรงพยาบาลหรือคลินิคทันตแพทย์ต่อไป ขั้นสรุปผล 1. ประเมินผลสำเร็จของโครงการ 2. รายงานผลการดำเนินโครงการต่อกองทุน อบต.กำแพง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก 5-13 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการอย่างครอบคลุม
  2. ครู ผู้ปกครอง และแม่ครัวมีความรู้และเข้าใจเรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก
  3. เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย
  4. เด็กมีภาวะโรคฟันผุลดลงและได้รับการรักษาที่ถูกวิธี
  5. เด็ก ครูผู้ปกครองมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้และลดปัญหาทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียน