กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวบ้านนา บ้านสะอาด ไร้ขยะ ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลบ้านนา
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 362,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางผุสดี นพชัยยา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.901,100.742place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 700 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 135 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปริมาณขยะ ซึ่งมาจากการดำรงชีวิตของคนในครัวเรือน โรงเรียน หมู่บ้าน ชุมชนมากขึ้น การจัดกิจกรรมขยะแลกไข่ที่ผ่ามามีขยะอยู่ในชุมชนทั้งหมด ๒๐,๐๓๒.๕๐ กิโลกรัม จึงเป็นภาระหนัก ในการบริหารจัดการกำจัดขยะเหล่านั้น ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมากมายทุกวัน ส่งผลให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมากในแต่ละวันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนมากมาย ได้แก่ บ้านเมืองสกปรกไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ และพาหนะนำโรคต่างๆ เช่นหนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจระร่วง บิด โรคผิวหนัง บาดทะยัก โรคทางเดินหายใจ เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่นตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดิน และแหล่งน้ำ แหล่งน้ำเสีย ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วม เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่นฝุ่นละออง เขม่า ควัน จากการเผาขยะ และเกิดก๊าซมีเทนจากการฝังกลบขยะ และขยะบางชนิดไม่ย่อยสลาย และกำจัดได้ยาก เช่นโฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบ้านนาเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการชาวบ้านนา บ้านสะอาด ไร้ขยะ ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ขึ้น เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะที่มาจากครัวเรือนและในโรงเรียนโดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ในครอบครัว และโรงเรียน จัดตั้งครัวเรือนในการบริหารจัดการขยะโดยกระบวนการมีมีส่วนร่วมของครัวเรือนและโรงเรียน การคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบและถูกวิธี เพื่อเป็นต้นแบบแห่งการจัดการสิ่งแวดล้อม และก่อให้เกิดการสร้างรายได้ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกต่อการรักษ์สิงแวดล้อม นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน โรงเรียนและชุมชน ของตนเอง จนเกิดชุมชนต้นแบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในตำบลแล้ว ยังเป็นการลดปริมาณขยะที่นำไปกำจัดโดยการเผาและฝังกลบได้ ทำให้ช่วยลด สภาวะเรือนกระจก


……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1เพื่อมีการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายอย่างเป็นระบบและถูกวิธีในครัวเรือน และโรงเรียน

อสม. และนักเรียนมีความรู้เรื่องการจัดการขยะมูลฝอย และลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคมากกว่าร้อยละ 80

0.00
2 ข้อที่ 2เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน และโรงเรียน

มีการจัดตั้งรวบรวมขยะอันตราย ในหมู่บ้าน และในโรงเรียน มากกว่าร้อยละ 80

0.00
3 ข้อที่ 3เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน โรงเรียน หมู่บ้าน ชุมชน

ระดับความพึงพอใจระดับดี มากกว่าร้อยละ 80

0.00
4 ข้อที่ 4เพื่อมีการจัดตั้งสถานที่แยกขยะอันตราย ในชุมชนและในโรงเรียน

ครัวเรือนและนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมโครงการมากกว่าร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 362,800.00 2 362,800.00
6 มี.ค. 61 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะในชุมชนและโรงเรียน 0 181,400.00 141,345.00
6 มี.ค. 61 จัดอบรมเชิญปฏิบัติการเกี่ยวกับการผลิตน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพในชุมชนและโรงเรียน 0 181,400.00 221,455.00

วิธีดำเนินการ
………………ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยเทศบาลตำบลบ้านนา ตัวแทนครัวเรือน ผู้นำชุมชนแกนนำอสม.และผู้มีจิตอาสา โดยเสนอปัญหาเรื่องขยะและระดมความคิดเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหารวมทั้งกำหนดรูปแบบในการจัดกิจกรรม 2. จัดตั้งคณะทำงาน 3. เขียนโครงการนำเสนอขออนุมัติ 4. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร สถานที่และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 5. ประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6. ประชาสัมพันธ์โครงการ 7. ประชุมชี้แจงคณะทำงานเพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ก่อน การดำเนินงาน

ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่ ๑ ๑. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ ๑.๑ จัดฝึกอบรม อสม.เพื่อเป็นแกนนำและเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะและคัดแยกขยะในครัวเรือน ชุมชนและในโรงเรียนโดยมีหลักสูตรดังนี้ - หลักสูตรการคัดแยกขยะในครัวเรือนตามมาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด - ผู้ประกอบการรับซื้อของเก่ามาให้ความรู้ชนิดขยะรีไซเคิล ๑.๒ ติดตาม ประเมินผล และให้การสนับสนุนกิจกรรมการคัดแยกขยะ และการลดมลพิษสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและโรงเรียนเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการขยายผลการปฏิบัติจริงครอบคลุมทุกครัวเรือนในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลบ้านนา - ถุงกระสอบในการแยกขยะแต่ละประเภท กิจกรรมที่ ๒ 1. จัดอบรมเชิญปฏิบัติการเกี่ยวกับการผลิตน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพในชุมชนและโรงเรียน - ถังน้ำ - น้ำตาลทรายแดง - N 70
- เกลือแกง - ไม้กวนน้ำหมักชีวภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ชุมชนและโรงเรียนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ได้ด้วยตัวเอง
๒. ปัญหาสิ่งแวดล้อมลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากขยะต่างๆได้มีการกำจัดได้ถูกวิธี ๓. ขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและเด็กนักเรียน ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนและในโรงเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2561 17:00 น.