กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการใกล้บ้านใกล้ใจ ใส่ใจสุขภาพผู้พิการ ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L8423-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 31 ธันวาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 17,910.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวนิดา สนิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจพบว่า ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก มีปัญหาด้านสุขภาพและมีวิธีดูแลสุขภาพของตนเองและของครอบครัวยังไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งปัญหาสุขภาพที่สำคัญของครอบครัว ได้แก่การเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นโรคไข้หวัด ปวดศีรษะ ปวดขา โรคกระเพาะ ปัญหาโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหาสุขภาพที่มีผลกระทบต่อครอบครัวในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ ค่าใช้จ่าย และด้านจิตใจ ซึ่งวิธีการดูแลสุขภาพของครอบครัวเมื่อเกิดการเจ็บป่วย พบว่าครอบครัวส่วนใหญ่ จะทราบวิธีการดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยได้ดี นอกจากนี้ยังมีการดูแลที่ไม่ถูกต้อง เช่น การดูแลฟื้นฟูผู้พิการ เพื่อลดปัญหาแผลกดทับ เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ น้ำตาลในเลือดสูง หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งถ้ามีวิธีการดูแลที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้เกิดอันตรายหรือทำให้เกิดความพิการมากขึ้นและเกิดภาวะแทรกซ้อน ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากผู้พิการขาดความรู้ หมดกำลังใจ ท้อแท้ผู้ดูแลผู้พิการเองก็ขาดความรู้ ความเข้าใจ หรือชุมชนขาดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟู และจากข้อมูลพบว่า ผู้พิการที่ถูกส่งตัวกลับมารักษาตัวต่อที่บ้านจากโรงพยาบาล จึงมักเกิดปัญหาว่ามีวิธีการดูแลที่ไม่ถูกต้อง ผู้พิการเกิดความพิการมากขึ้น เกิดแผลกดทับมากขึ้น ต้องเสียเงิน เสียเวลา พากลับไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลเหมือนเดิมดังนั้น ถ้าหากมีการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนและครอบครัวสามารถดูแลตนเองได้และมีระบบการเฝ้าระวัง ดูแลปัญหาสุขภาพของผู้พิการ เพื่อลดอันตรายหรือเพื่อลดความพิการที่อาจเกิดขึ้น ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก มีจำนวนผู้พิการทั้งสิ้น 70 คน ซึ่งจะเห็นได้ว่า จำนวนบุคลากรสาธารณสุขมีไม่เพียงพอแก่การให้บริการโดยเฉพาะการให้บริการในชุมชน ซึ่งพบว่ายังมีปัญหาสุขภาพอีกมากมายที่ยังเข้าไปไม่ถึง แต่เนื่องจากยังมีองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน อีกมากมายที่ถ้าได้มีการพัฒนาศักยภาพ ให้สามารถดูแลผู้พิการในชุมชนได้ โดยเฉพาะคนที่ใกล้ชิดผู้พิการมากที่สุด คือผู้ดูแลผู้พิการ น่าจะเป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถทำได้และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้ป่วยและผู้พิการดังนั้น โครงการนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ของครอบครัวในการดูแลสุขภาพของตนเอง โดยมีบุคลากรสาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้พิการในชุมชนได้รับการดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และฟื้นฟูร่างกาย ได้อย่างถูกต้อง

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้พิการมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้พิการ

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในเรื่องการดูแลสุขภาพผู้พิการ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16.00 1 17,910.00
7 มี.ค. 61 อบรมให้ความรู้ผู้นำชุมชนเกี่ยวกับบทบาทการดูแลผู้พิการ 0 3.00 17,910.00
8 มี.ค. 61 อบรมผู้ดูแลผู้พิการ 0 9.00 -
9 มี.ค. 61 อบรมฟื้นฟู อสม.เกี่ยวกับการดูแลผู้พิการ 0 4.00 -
  1. อบรมให้ความรู้ผู้นำชุมชนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานหมอครอบครัว จัดตั้งทีมของชุมชน ชี้แจง ถึงความสำคัญ แนวทางการดำเนินงานตลอดจนบทบาทของผู้นำชุมชนในการขับเคลื่อนภารกิจของ หมอครอบครัวให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน
    1. จัดอบรมผู้ดูแลผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียงในชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ผู้ดูแลมีองค์ความรู้ ทักษะที่ จำเป็นในการปฏิบัติและดูแลผู้ป่วยและผู้พิการ
    2. จัดอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.เพื่อเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการดำเนินงานหมอครอบครัว เป็นแกน นำสุขภาพในชุมชน มีความรู้ มีทักษะ มีความพร้อมในการดูแล และดำเนินกิจกรรมหมอครอบครัวใน ชุมชน
    3. มีการติดตามเยี่ยมบ้าน และให้การดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้พิการอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับ อสม.และภาคี เครือข่ายในชุมชน เพื่อรับทราบปัญหา และหาแนวทางการดูแลร่วมกัน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้พิการในชุมชนมีความรู้และมีกำลังใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง
  2. ผู้ดูแลผู้พิการมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพผู้พิการได้อย่างถูกต้อง
  3. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2561 09:53 น.