กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการช่วยชาวบ้านเลิกบุหรี่ วิถีมุสลิม นวัตกรรมชีฟาอ์โมเดล ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L8423-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 30,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวนิดา สนิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาที่มีความสำคัญโดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของคนไทยในระดับต้นๆในจำนวนโรคไม่ติดต่อทั้งหลาย โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญตั้งแต่ระดับประเทศจนมาถึงระดับพื้นที่มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีอัตราการเกิดโรคและเกิดผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มในอัตราที่สูงทุกปี มีการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากสาเหตุของโรคดังกล่าวนี้เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ประชาชนขาดการเอาใจใส่และไม่ตระหนักในการดูแลสุขภาพเท่าที่ควร เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ประชาชนชอบรับประทานอาหารตามใจปาก ไม่เอาใจใส่คัดสรรเลือกรับประทานอาหารเฉพาะที่เป็นประโยชน์ตามหลักโภชนาการ นิยมบริโภคอาหารหวาน มันและเค็ม พฤติกรรมการออกกำลังกายที่ประชาชนยังขาดการออกกำลังกายโดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงานในสำนักงาน พฤติกรรมด้านอารมณ์ความเครียดต่างๆ ตลอดจนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ที่ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญที่ต้องเอาใจใส่และแก้ปัญหาอย่างจริงจังไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการแก้ปัญหาพฤติกรรมสุขภาพด้านอื่นๆที่กล่าวมาข้างต้น ในปี 2556 ถึงปัจจุบัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก ได้มีความพยายามและดำเนินการแก้ปัญหาในเรื่องโรคไม่ติดต่ออย่างต่อเนื่อง เป็นปัญหาที่เป็นนโยบายสูงสุดของหน่วยบริการที่ต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องตามบริบทของพื้นที่หรือเป็นไปตามครรลองศาสนาอิสลาม ในสองปีที่ผ่านมาได้มีความพยายามที่จะสร้างสรรค์รูปแบบบริการและการส่งเสริมสุขภาพตามวิถีมุสลิม ซึ่งจะเห็นได้ว่าในสองปีที่ผ่านมาล้วนแต่เป็นนวัตกรรมทั้งสิ้น โดยได้มุ่งเน้นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยเฉพาะในเรื่องของการบริโภคอาหารเป็นสำคัญ จึงได้คิดค้นตัวกิจกรรมและรูปแบบบริการเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในด้านการบริโภคอาหารที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของผู้คนในพื้นที่ สอดคล้องกับวิถีความเชื่อตามหลักศาสนาอิสลาม ตลอดจนเป็นไปตามความต้องการของประชาชน ซึ่งจากการแก้ปัญหาในปีที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจแต่อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคจากการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาพบว่าประการหนึ่งที่สำคัญที่ส่งผลทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อต่อความดันโลหิตสูงและเบาหวานก็คือปัญหาเรื่องการสูบบุหรี่ ต้องยอมรับว่าในปีที่ผ่านมาที่แก้ไขปัญหา เรื่องบุหรี่ไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควร ทั้งที่ตัวเลขจากการสำรวจข้อมูลของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในปี 2560 ที่ผ่านมาพบว่าในกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมีอัตราการสูบบุหรี่อยู่ในอัตราที่สูงพอสมควรคือ ร้อยละ 56.13ด้วยตัวเลขดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องได้รับการเอาใจใส่และแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังไม่แพ้ในเรื่องของการแก้ปัญหาพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารและพฤติกรรมด้านอื่นๆที่ต้องดำเนินการอย่างควบคู่กันไป และจำเป็นที่จะต้องสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาเรื่องบุหรี่ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่และวิถีมุสลิมเช่นกัน ปัญหาเรื่องบุหรี่เป็นปัญหาที่ยากในการแก้ไข การแก้ปัญหาจึงต้องจริงจัง เอาใจใส่ติดตามต่อเนื่องและแก้ปัญหาตามความต้องการของประชาชน เพราะไม่เช่นนั้นการแก้ปัญหาจะไม่ได้ผล กลุ่มเป้าหมายไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้หรือผู้ที่เลิกแล้วอาจจะไม่เลิกอย่างเด็ดขาดและตัดสินใจกลับมาสูบอีกในกลุ่มเป้าหมายเองก็ยากที่จะแก้ปัญหาเพราะการเลิกบุหรี่ต้องเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สมัครใจและตั้งใจจริงในการลด ละ เลิกบุหรี่ด้วยตนเอง บุหรี่จึงเป็นปัญหาที่ต้องจริงจังกันทั้งสองฝ่ายทั้งกลุ่มของผู้ให้บริการและกลุ่มของผู้รับบริการ การคัดสรรกิจกรรมหรือการคิดค้นนวัตกรรมรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อเลิกบุหรี่จึงต้องเป็นการแก้ปัญหาที่เป็นไปตามบริบทของพื้นที่และเป็นไปตามที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก จึงได้คิดค้นนวัตกรรมรูปแบบการเลิกบุหรี่ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เป็นไปตามครรลองของศาสนาอิสลาม และเป็นรูปแบบกิจกรรมที่พัฒนามาจากผลการวิจัยด้านบุหรี่ในพื้นที่ เป็นข้อมูลประกอบกันให้ได้มาซึ่งตัวกิจกรรมและกระบวนการของการแก้ปัญหาที่ได้ผลจริงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนที่สำคัญที่สุดคือกลุ่มเป้าหมายจะมิใช่เพียงแค่สามารถเลิกบุหรี่ได้แต่ในตัวกิจกรรมนั้นกลุ่มเป้าหมายจะสามารถยกระดับศรัทธาและศาสนาของตนเองให้ดีขึ้นควบคู่ไปด้วย “ได้ทั้งสุขภาพดี ได้ทั้งบุญ” นี่คือจุดมุ่งหมายสูงสุขของหน่วยบริการแห่งนี้ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านเจ๊ะเก จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของโครงการช่วยชาวบ้านเลิกบุหรี่ วิถีมุสลิม นวัตกรรมชีฟาอ์โมเดล เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาในเรื่องบุหรี่ให้ได้ผลทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่

 

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเลิกบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่อย่างได้ผล

 

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่สามารถเลิกบุหรี่ เป็นต้นแบบคนเลิกบุหรี่และสามารถขยายเครือข่ายต่อไปได้

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29.00 1 30,150.00
7 มี.ค. 61 จัดอบรมสร้างกลุ่มเยาวชนต้นแบบเลิกบุหรี่ 0 6.00 30,150.00
7 มี.ค. 61 จัดกิจกรรมถอดบทเรียน 0 1.00 -
2 เม.ย. 61 - 2 มี.ค. 61 ประชุมคณะคณะกรรมการ/คณะทำงาน 0 1.00 -
9 - 10 เม.ย. 61 ดำเนินการโปรแกรมเลิกบุหรี่ 2 รุ่นๆละ 2 วัน เป็นเงิน 21,600 บาท 0 21.00 -
  1. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำรูปแบบการดำเนินงานและกำหนดตัวกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาเรื่องบุหรี่ที่สอดคล้องกับหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม
  2. พัฒนาคลินิกที่มีอยู่เดิมแล้วในที่ผ่านมา สู่การจัดตั้งคลินิกเลิกบุหรี่วิถีมุสลิมในสถานบริการ “อัตตักวา” ดำเนินการตามมาตรฐานและรูปแบบการดำเนินงานคลินิกเลิกบุหรี่ในสถานบริการสาธารณสุข โดยมีสโลแกนการดำเนินงานคลินิกเลิกบุหรี่ตามวิถีมุสลิมคือสโลแกน S M A R T
  3. ดำเนินการกิจกรรมการเลิกบุหรี่วิถีมุสลิมนวัตกรรม “โปรแกรมเลิกบุหรี่โมเดลชีฟาอ์” โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถในตัวเอง (Self –Efficacy) และแรงสนับสนุนทางสังคม (Social Support) ตลอดจนการน้อมนำรูปแบบการเลิกบุหรี่วิถีมุสลิม ดังนี้
    3.1 มีการอบรมให้ความรู้พิษภัยของบุหรี่ต่อสุขภาพโดยใช้สื่อการนำเสนอที่หลากหลายรูปแบบ
    3.2 มีการอบรมให้ความรู้หลักการศาสนาว่าด้วยฮูก่มเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ และสุขภาพดีในหนทางของศาสนา ตลอดจนการเลิกบุหรี่เพื่ออัลลอฮ 3.3 มีการอบรมให้ความรู้เรื่องศาสนา “ฮาลาลและฮารอมในอิสลาม” เน้นด้านบริโภค 3.4 มีการอบรมให้ความรู้และอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับกลวิธีหรือวิธีการปฏิบัติเพื่อเลิกบุหรี่ให้ได้ใน 5 วัน (จากมหาวิทยาลัยไคโร) อธิบายในภาคผนวก 3.5 มีการนำต้นแบบผู้ที่ประสบความสำเร็จในการเลิกบุหรี่มาเล่าประสบการณ์การเลิกบุหรี่ให้ฟัง 3.6 มีการจัดให้มีเวทีรับฟังปัญหาอุปสรรค ข้อคิดเห็น และร่วมกันให้แนวทางการเลิกบุหรี่ของกลุ่มเป้าหมาย มีการตั้งเป้าหมายความสำเร็จร่วมกัน การตั้งอุดมการณ์ร่วม ตลอดจนการมีการทำสัญญา MOU ร่วมกัน 3.7 มีการจัดบัดดี้ บัดเดอร์ ร่วมในการเลิกบุหรี่ 3.8 การให้คำปรึกษารายบุคคล 3.9 มีพิธีทางศาสนาในการร่วมขอพรและละหมาดฮายัตร่วมกัน 3.10 ส่งเสริมและฝึกฝนให้มีการถือศีลอดซุนนะห์ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดีตลอด
    ระยะเวลาของการดำเนินการโปรแกรมเลิกบุหรี่ 3.11 มีการติดตามการเลิกบุหรี่อย่างใกล้ชิด ต่อเนื่องโดยเจ้าหน้าที่และทีม อสม.ในพื้นที่ 3.12 มีการเยี่ยมบ้าน และขอความร่วมมือแก่ครอบครัวในการให้การสนับสนุนให้เกิดการ เลิกบุหรี่ 3.13 มีการมอบของชำร่วยเป็นแรงจูงใจแก่ผู้ที่สามารถเลิกบุหรี่ 3.14 มีการสร้างกระแสสังคมโดยการประชาสัมพันธ์การเลิกบุหรี่ผ่านผู้นำชุมชนและ เครือข่ายต่างๆอย่างต่อเนื่อง
  4. สร้างกลุ่มเยาวชนต้นแบบ กลุ่มไม่สูบบุหรี่และกลุ่มที่สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ มาจัดอบรม พัฒนาศักยภาพ เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมชวนเพื่อนเลิกบุหรี่และขยายเครือข่ายคนเลิกบุหรี่ในชุมชนต่อไปได้
  5. จัดกิจกรรมถอดบทเรียนเพื่อต่อยอดกิจกรรมให้ต่อเนื่อง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดปริมาณของผู้สูบบุหรี่และมาตรการในการเฝ้าระวังการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ต่อเนื่อง
  2. ชุมชนสามารถดำเนินการด้านสุขภาพได้เองภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในชุมชนในการจัดการสุขภาพ นำมาซึ่งการดำเนินงานด้านสุขภาพในพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2561 10:20 น.