กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยสุขภาพดี
รหัสโครงการ 61-2986-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภัทรพรรัตนซ้อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.604,101.401place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2561 31 ส.ค. 2561 30,000.00
รวมงบประมาณ 30,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพเด็กอายุ 0-5 ปี ของกระทรวงสาธารณสุขต้องการให้เด็กไทยมีความสมบูรณ์พร้อมทั้ง 4 ด้าน คือ มีพัฒนาการสมวัย โภชนาการดี ฟันไม่ผุ และการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้งานการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ดำเนินไปโดยมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์สูงที่สุด บุคลากรที่เกี่ยวข้องควรทราบนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขุ้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐาน ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดที่เหมาะสมสำหรับวัคซีนแต่ละชนิดด้วย ซึ่งหากกลุ่มวัยดังกล่าวมีอัตราป่วยและตายด้วยวัยที่ไม่สมควรเนื่องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนแล้วหมู่บ้านชุมชนและประเทศชาติจะพันาไปอย่างไรในอนาคต ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการซึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะต้องจัดให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องตลอดไปงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะพยายามป้องกันประชาชนจากโรคที่ป้องกันด้วยวัคซีนให้ได้โรคมากที่สุด โดยการเพิ่มชนิดของวัคซีนที่ใช้ ทั้งนี้โดยความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรค และกำลังทรัพยากรด้านสาธารณสุขของประเทศและต้องดำเนินการในทุกพื้นที่ โดยประสานสอดคล้องกับแผนงานหรือโครงการด้านสาธารณสุขอื่นๆ เช่น งานอนามัยโรงเรียน งานโภชนาการ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออื่นๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกงานที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพสูงที่สุด และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จากการดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพของศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ในรอบปีที่ผ่านมา พบว่า เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 88.46 เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วนร้อยละ 39.22 เด็กอายุครบ 1 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิดเป็นอัตราร้อยละ 71.04 เด็กอายุครบ 2 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 53.59 เด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ45.77 และเด็กอายุครบ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 59.38 ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ว่าเด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครอบคลุมเป็นร้อยละ 46.38 ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯ จากรายงานอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐานพบว่า เด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุม จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวไปอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพ

เด้ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 50

0.00
2 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการไม่สมวัยได้รับการส่งต่อที่เหมาะสม

เด้ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อให้เด้ก 0-5 ปี ได้รับวัคซซีนครบตามเกณฑ์

เด็กอายุ 0-1 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยักและไวรัสตับอักเสบบีครบ 3 เข็ม ร้อยละ 90 เด็กอายุ 9-12 เดือน ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม ร้อยละ 90 เด็กอายุ 2 ปี ได้รับวัคซีนไข้สมองอักเสบ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ร้อยละ 90 เด็กอายุ 3 ปี ได้รับวัคซีนไข้สมองอักเสบครบ 2 เข็ม ร้อยละ 90 เด็กอายุ 0-4 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคครบตามเกณฑ์อายุ ร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
2 เม.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 1. จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เรื่องอาหาร สุขภาพช่องปาก พัฒนาการ และวัคซัน 2. ตรวจสุขภาพ พัฒนาการ โภชนาการ และบันทึกข้อมูล 3. จัดกิจกรรมประกวดหนูน้อยสุขภาพดี ไม่มีโรค วัคซีนครบตามเกณฑ์ 100 30,000.00 -
รวม 100 30,000.00 0 0.00
  1. จัดทำระเบียนรายชื่อเด็ก 0-5 ปี ที่อาศัยอยู่จริงในตำบลตะโละแมะนา
  2. จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เรื่องอาหาร สุขภาพช่องปาก พัฒนาการ และวัคซีน
  3. ตรวจสุขภาพ พัฒนาการ โภชนาการ และบันทึกข้อมูล
  4. ส่งเสริมโภชนาการเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
  5. ออกปฏิบัติการเชิงรุกในชุมชนตรวจฟัน สอนการดูแลสุขภาพ สาธิตและการฝึกปฏิบัติในช่องปากแก่มารดาและบุตรร่วมกัน ทันตาภิบาลและอสม. ุ6. ในกรณีที่มีอาการเจ็บป่วยทางทันตสุขภาพรุนแรง จะส่งต่อ รพ. เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี
  6. ตรวจสอบการได้รับวัคซีนจากโปรแกรม Hos xp pcuc และ HDC อสม.ติดตามเด็กมารับวัคซีนที่โรงพยาบาล
  7. กรณีที่เด็กไม่มาตามนัด ติดตามเยี่ยมบ้านเพื้อมาฉีดวัคซีนให้แก่เด็ก
  8. ประชาสัมพันธ์เชิงรุกในชุมชน เน้นการป้องกันการเกิดโรคที่เกิดจากวัคซีน
  9. จัดกิจกรรมประกวดหนูน้อยสุขภาพดี ไม่มีโรค วัคซีนครบตามเกณฑ์
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองที่มีเด็กอายุ 0-5 ปี มีทัศนคติเกี่ยวกับการรับวัคซีนในทางที่ดีขึ้น ทำให้นำเด็กมารับวัคซีนเพิ่มขึ้น
  2. ผู้ปกครองและเด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานที่เหมาะสม ได้รับความช่วยเหลือและคำแนะนำในการแก้ไขปัญหา
  3. เด็กแรกเกิด เด็กเล็ก และเด็กก่อนวัยเรียนมีพัฒนาการ การเรียนรู้ และภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ที่กำหนด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2561 10:32 น.