กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
รหัสโครงการ 61-2986-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 31 พฤษภาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤษภาคม 2561
งบประมาณ 36,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภัทรพร รัตนซ้อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.604,101.401place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2561 31 พ.ค. 2561 36,500.00
รวมงบประมาณ 36,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)
4.00
2 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านการจัดการขยะเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยในปัจจุบันการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและรูปแบบพฤติกรรมการบริโภคส่งผลให้ปัญหาขยะแนวโน้มทวีความรุนแรงและก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ขยะมูลฝอย เป็นปัญหาที่กำลังทวีความรุนแรง เพราะนับวันจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนเกินกว่าจะคาดหวังว่าหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรท้องถิ่นจะสามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ จึงจำเป็นจะต้องอาศัยประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหา เพราะประชาชนทุกคนอยู่ในฐานะของผู้มีส่วนร่วมในการสร้างปัญหา และในฐานะของผู้ที่ต้องเข้าร่วมในการจัดการปัญหา สิ่งที่ตามมาและหลีกเลี่ยงไม่ได้จากขยายตัวของชุมชน คือ ปัญหาขยะซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันรูปแบบการจัดเก็บและการกำจัดของชุมชนในพื้นที่ตำบลตะโละแมะนายังอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล ยังขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการร่วมกันจัดการขยะแบบบูรณาการ และยังมีประชาชนบางส่วน มีการกำจัดขยะมูลฝอยแบบไม่ถูกวิธี เช่น ยังใช้วิธีเทกองและเผาทิ้งแบบไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาสุขอนามัยกับผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง เช่น ปัญหาของกลิ่น ปัญหาแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงต่างๆ ที่เป็นพาหะนำเชื้อโรค นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน
ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา ในฐานะหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ที่มีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพและต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสังคม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในชุมชนโดยใช้ผลงานด้านวิชาการ นวัตกรรม องค์ความรู้ของทางสาธารณสุขเข้าไปแก้ปัญหาในชุมชน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนาต้องเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยใช้หลักการสำคัญของรูปแบบการจัดการขยะในชุมชนเพื่อให้เกิดการจัดการที่ยั่งยืนอาศัยหลักการ 3 ข้อคือ 1.การคัดแยกและการใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย (3Rs-Reduce/Reuse/Recycle) 2.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจัดการแบบ ผสมผสานเพื่อลดการสิ้นเปลืองพื้นที่ฝังกลบ 3.การกำจัดขยะมูลฝอยแบบรวมกลุ่ม (Cluster) ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการเกิดขยะจนถึงการกำจัดครั้งสุดท้ายซึ่งต้องเริ่มต้นจากครัวเรือน จนถึงปลายทางจัดการขยะที่ได้มาตรฐาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหน่วยงานที่มีนโยบายจัดการขยะ

จำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

80.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนต้นแบบในจัดการขยะ

จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 36.00 0 0.00
1 - 31 มี.ค. 61 1. นำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการขยะในชุมชน 2. ให้ความรู้เรื่่องการแยกประเภทขยะ 3. ให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่เป็นพลาสติกและขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไป 0 36.00 -
  1. ให้ความรู้แก่ กลุ่มเป้าหมาย เรื่องการจัดการขยะในชุมชน
  2. จัดหาถังขยะให้ถูกต้องเหมาะสม จัดทำภาชนะรองรับขยะอันตรายขนาด 80 ซม. x 80 ซม. x 100 ซม. จำนวน 2 ชุด
  3. กิจกรรมอบรมปลูกจิตสำนึก ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการแก่ ประชาชนด้านการจัดการคัดแยกขยะ การจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน
  4. กิจกรรมรณรงค์เก็บขยะและแยกขยะให้ถูกต้อง 4.1ให้ความรู้เรื่องในเรื่องการแยกขยะ 4.2 คัดแยกขยะที่เป็นพลาสติกออกจากขยะทั่วไป 4.3คัดแยกขยะที่เป็นอันตรายออกจากขยะทั่วไป
  5. จัดตั้งกลุ่มหรือองค์กรในชุมชนและดำเนินงานตามกิจกรรมดังต่อไปนี้ 5.1 การคัดแยกขยะจากต้นทางหรือครัวเรือน 5.2 การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ และน้ำหมักชีวภาพในชุมชน
  6. จัดเวทีสรุปบทเรียนและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการแยกประเภทของขยะได้ถูกต้อง
  2. ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจคุณค่าของสิ่งต่างๆว่าวัสดุบางประเภทสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายครั้งหรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2561 14:29 น.