กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยเทศบาลตำบลต้นไทรปลอดโรคด้วยวัคซีน ปี 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ปะลุกาสาเมาะ
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิทยาไชยลาภ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอรุณีกะนอง
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นโยบายของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ดำเนินไปโดยมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์สูงที่สุดบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรทราบนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐาน ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดที่เหมาะสมสำหรับวัคซีนแต่ละชนิดด้วย ซึ่งหากเด็กกลุ่มวัยดังกล่าวมีอัตราป่วยและตายด้วยวัยที่ไม่สมควรเนื่องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนแล้วหมู่บ้านชุมชนและประเทศชาติจะพัฒนาไปได้อย่างไรในอนาคตฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการซึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะต้องจัดให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องตลอดไปงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะพยายามป้องกันประชาชนจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้ได้มากโรคที่สุด โดยการเพิ่มชนิดของวัคซีนที่ใช้ ทั้งนี้โดยความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรค และกำลังทรัพยากรด้านสาธารณสุขของประเทศและต้องดำเนินการในทุกพื้นที่ โดยประสานสอดคล้องกับแผนงานหรือโครงการด้านสาธารณสุขอื่นๆ เช่น งานอนามัยโรงเรียน งานโภชนาการ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออื่นๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกงานที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพสูงที่สุด และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอ บาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ในรอบปีที่ผ่านมาปรากฏว่า เด็กอายุครบ 1 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ98.10เด็กอายุครบ 2 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 95.45 เด็กอายุครบ 3 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 96.83และเด็กอายุครบ 4 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 94.96ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ว่าเด็ก0-5 ปี ได้รับวัคซีนครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 93.18 ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯจากรายงานอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐานพบว่า เด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุม จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวไปอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อไม่ให้เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

 

2 เพื่อให้เด็กกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อไม่ให้เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้เด็กกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นเตรียมการ 1 . ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ในรพ.สต.ปะลุกาสาเมาะ เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ 2. สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในการฉีดวัคซีน 3. จัดทำแผนปฏิบัติการฉีดวัคซีนเชิงรุก ขั้นดำเนินการ 1. ประชุมผู้นำชุมชน และ อสม. เพื่อชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงาน 2. อบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นความรู้งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่ อสม. จำนวน 91 คน 3. อสม.ติดตามและนำส่งเด็กมารับวัคซีนของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ รพ.สต. 4. ติดตามฉีดวัคซีนเชิงรุก ในรายที่ อสม. ติดตามแล้วแต่ไม่ยอมมารับบริการที่ รพ.สต. 5. อบรมให้ความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี จำนวน125 คน 6. สรุปประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐาน ในเด็ก 0-5 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
  2. ไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2560 15:28 น.