กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ป้องกันและเฝ้าระวังโรคในชุมชน
รหัสโครงการ 61-L5296-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนิคมพัฒนา
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 31 มีนาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 17 เมษายน 2561
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนิคมพัฒนา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปเพิ่มในร่างกาย อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเป็นจากตัวเชื้อโรคเองหรือพิษที่เชื้อโรคนั้นปล่อยออกมา เชื้อโรคจะติดต่อถ่ายทอดจากผู้ป่วยโดยตรงหรือโดยอ้อมไปสู่คนปกติ บางครั้งเรียกว่า โรคติดเชื้อ แทนคำว่า โรคติดต่อ สำหรับในเขตร้อน อากาศอบอุ่นจนถึงร้อนจัดตลอดปีและมีฝนตกชุก มีความชื้นสูง เป็นผลให้เชื้อโรคต่างๆ ชุกชุม เมื่อมีการติดต่อถ่ายทอดไปยังผู้อื่น ก็ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคมากขึ้น จึงจะต้องมีการควบคุมที่เคร่งครัด ชัดเจน และมีมาตราฐาน ในแต่ละปีรัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเกี่ยวกับโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ไข้หวัดนก โรคซาร์ส โรคไข้หวัดใหญ่ โรคเล็ปโตสไปรโรซิส และโรคอื่นที่อุบัติใหม่ ฯลฯ ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์เป็นจำนวนมาก
สำหรับสถานการณ์โรคติดต่อ ๕ อันดับแรกในพื้นที่อำเภอมะนัง ปี ๒๕๖๐ คือ โรคอุจจาระร่วง อัตราป่วย ๖๙๓.๕๘ ต่อแสนประชากร,ปอดบวม มีอัตรา ๑๒๔.๐๖ ต่อแสนประชากร,สุกใส อัตรา ๘๔.๕๘ ต่อแสนประชากร,งูสวัด อัตรา ๔๕.๑๑ ต่อแสนประชากร ส่วนตำบลนิคมพัฒนา ยังพบผู้ป่วยโรคติดต่อในชุมชน ได้แก่ โรคไข้เลือดออก อุจจาระร่วง และโรคฉี่หนู เป็นต้น ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากสภาพแวดล้อมในบ้านและบริเวณบ้านไม่สะอาด การไม่ปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติ เช่น การกินของร้อน ใช้ช้อนกลางและล้างมือ เป็นต้น จึงทำให้โรคเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งและเป็นโรคที่เกิดทุกๆปี ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความรู้และความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนิคมพัฒนา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ป้องกันและเฝ้าระวังโรคในชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์ สร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคในชุมชน และลดการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคในชุมชน รวมทั้งเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนให้ประชาชนได้รับทราบและนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประชาสัมพันธ์ สร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและเฝ้าระวังให้แก่ประชาชนในชุมชน เพื่อลดการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคในชุมชน และเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนได้รับทราบและนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
23 มี.ค. 61 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ และกิจกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคในชุมชน 120 12,000.00 12,000.00
26 มี.ค. 61 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่อง โรคติดต่อที่เฝ้าระวังในชุมชน และกิจกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคในชุมชน 80 8,000.00 8,000.00
รวม 200 20,000.00 2 20,000.00

๑. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่เฝ้าระวังในชุมชน และกิจกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์นำโรคในชุมชน (๑) ครั้งที่ ๑ หมู่ที่ ๑,๒,๓,๗,๘,๙ ต.นิคมพัฒนา - กิจกรรมอบรมให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่ ณ ห้องประชุมสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี นิคมพัฒนา (เวลา ๐๘.๓๐–๑๒.๐๐ น.) - กิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคในชุมชน แบ่งกลุ่มตามหมู่บ้านโดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยง (เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.) (๒) ครั้งที่ ๒ หมู่ที่ ๔,๕,๖ ต.นิคมพัฒนา - กิจกรรมอบรมให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่ ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านผัง ๕๐ (เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.) - กิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคในชุมชน แบ่งกลุ่มตามหมู่บ้านโดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยง (เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคที่เกิดขึ้นในชุมชน ๒.ประชาชนสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในการป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในชุมชนและเป็นส่วนหนึ่งของการเฝ้าระวังและป้องกันโรค ๓.สามารถลดการเกิดแหล่งพาหะนำโรคในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561 11:15 น.