กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ่อสนสะอาด ปราศจากโรคภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อมรพ.สต.บ้านทุ่งนารี
รหัสโครงการ 61-L3341-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนารี
วันที่อนุมัติ 2 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 9,419.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนพพล กองเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ นายเสงี่ยม ศรีทวี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.191,100.13place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 265 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2551 - 2559 พบว่ามีปริมาณขยะมูลฝอยในแต่ละปีเท่ากับ 23.93, 24.11, 24.22, 25.35, 24.73, 26.77, 26.19, 26.85 และ 27.06 (ล้านตัน) ตามลำดับ จากสถิติพบว่า แนวโน้มของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในทุกปี ทั้งนี้หากพิจารณาถึงอัตราการเกิดขยะมูลฝอยของประเทศมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2559 พบว่ามีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นของประเทศไทย 27.06 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็นอัตราการเกิดขยะมูลฝอยที่ 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน (สำนักจัดการของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ, กุมภาพันธ์ 2560) ตามอัตราการขยายตัวของจำนวนประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท้องถิ่น และในเขตเมืองใหญ่ ที่มีปริมาณขยะที่มาจากครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมที่เกินกำลังที่จะจัดการ ปัจจุบันปัญหานี้ได้ลุกลามยกระดับขึ้นมาเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติในระยะยาวที่ยังไม่มีทางออก ขยะมูลฝอย เป็นปัญหาที่สำคัญตั้งแต่ระดับครัวเรือน ชุมชน จนถึงระดับประเทศ สาเหตุมาจากการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน ประกอบกับการมีประชากรที่เพิ่มมากขึ้น และการใช้วัสดุทดแทนสิ่งของจากธรรมชาติ เช่น ถุงพลาสติก โฟม เครื่องมืออุปกรณ์อิเลคทรอนิค เมื่อเครื่องมืออุปกรณ์เหล่านี้เสื่อมสภาพหรือหมดอายุก็จะทำให้กลายเป็นขยะ จะส่งผลเสียต่อประชาชนในชุมชนในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านความสกปรก ด้านความสวยงามของบ้านเรือนบริเวณชุมชนรวมไปถึงริมถนนหนทาง ด้านความเป็นระเบียบเรียบร้อย ด้านการเป็นที่แหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงและสัตว์นำโรค เช่น ยุง แมลงวัน แมลงสาบ หนู เป็นต้น ก่อให้เกิดโรคระบาดต่าง ๆ เช่น โรคไข้เลือด โรคอุจจาระร่วง โรคมือเท้าปากเปื่อย โรคตาแดง โรคฉี่หนู เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้เกิดมาจากการที่ประชาชนมีการจัดการขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากอาจจะขาดความรู้ความเข้าใจถึงพิษภัยและผลกระทบที่เกิดขึ้น หรืออาจเกิดจากพฤติกรรมที่ปฏิบัติต่อเนื่องจนเกิดเป็นความเคยชิน
จากการสำรวจปัญหาของบ้านบ่อสน หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งนารี โดยการทำประชาคมพบว่า ประเด็นที่ปัญหากับบ้านบ่อสน หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งนารี คือประเด็นของการจัดการขยะที่มีมากที่สุดในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ได้เล็งเห็นว่าการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ อาจจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ ทางผู้ศึกษาจึงได้จัดทำ “โครงการบ่อสนสะอาด ปราศจากโรคภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนารี และประชาชนชุมชนบ้านบ่อสน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะในชุมชน

ประชาชนมีการบริหารจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปริมาณขยะลดลง ร้อยละ 80 

1.00
2 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรค

. อัตราการป่วยจากแมลงและสัตว์นำโรคเท่ากับ 0 รายต่อปี

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,419.00 1 9,419.00
6 มี.ค. 61 อบรมให้ความรู้ 0 9,419.00 9,419.00
  1. ขั้นเตรียมการ (Plan) 1.1 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน 1.2. ทำการศึกษาชุมชน และเก็บรวบรวมข้อมูล 1.3. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเตรียมทำประชาคม
    1.4. ทำประชาคมจัดลำดับความสำคัญของปัญหา วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา 1.5. ประชุมวางแผนการดำเนินกิจกรรมโครงการ 1.6. ประสานงานกับผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
    1.7. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในหมู่บ้านทราบ
  2. ขั้นดำเนินการ (Do) 2.1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับการจัดการขยะ และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรค
    • อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ โดยอาศัยหลัก 5 R
    • อบรมให้ความรู้เรื่องการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรคตามหลักสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม 2.2. กิจกรรมประกวดสิ่งประดิษฐ์จากของใช้รีไซเคิล 2.3. อบรมและสาธิตนวัตกรรมให้แก่เข้าร่วมโครงการ
  3. ขั้นสรุปและประเมินโครงการ (Check) 3.1. ประเมินผลการดำเนินการ 3.2. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
  4. ขั้นทบทวนโครงการ (Act) 4.1. นำเสนอผลการดำเนินงานต่อ ผอ.รพ.สต.บ้านทุ่งนารี 4.2. นำเสนอผลการดำเนินงานต่อประชาชนในหมู่ที่ 5 บ้านบ่อสน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนบ้านบ่อสนสามารถกำจัดปัญหาขยะในชุมชนได้
  2. ประชาชนในชุมชนบ้านบ่อสนมีจำนวนการป่วยเป็นโรคที่เกิดจากสัตว์และแมลงนำโรคลดลงเป็น 0 รายต่อปี
  3. ประชาชนในชุมชนบ้านบ่อสนมีการประยุกต์นำสิ่งของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561 11:23 น.