กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ คัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกต้านภัยเงียบ ประจำปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L8423-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงสะโต
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 21,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาลาวี สนิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 74 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการคลำ เต้านมและการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก พบว่า การคัดกรองโดยการคลำเต้านมในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ ปีขึ้นไป ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งเต้านม และการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ๓๐ – ๖๐ ปีก็จะทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ จากการสรุปผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 5 ปี ย้อนหลัง ในปีงบประมาณ ๒๕๕๖ ผลงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บาโงสะโต พบว่า สตรีกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ร้อยละ ๘๙.๘๐ ปีงบประมาณ ๒๕๕๗ ร้อยละ ๘๗.๖๐ ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ร้อยละ ๘๐.๖๕ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ร้อยละ ๒๐.๕๘ ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ร้อยละ ๙๔.๓๗ และได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกปีงบประมาณ ๒๕๕๖ ร้อยละ ๖.๓๙ ปีงบประมาณ ๒๕๕๗ ร้อยละ ๗.๙๒ ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ร้อยละ ๒๒.๘๒ ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ร้อยละ ๒๓.๐๐ ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ร้อยละ ๒๘.๐๕ จะเห็นได้ว่าหญิงวัยเจริญพันธ์อายุ ๓๐ ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุเนื่องจากประชาชนเริ่มปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ถูกต้องและให้ความสำคัญของการตรวจคัดกรองทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ประกอบกับสถาน บริการสาธารณสุขได้ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ในเรื่องการคัดกรองมะเร็ง จากนี้ไปหากทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บาโงสะโต ยังคงดำเนินกิจกรรมโครงการอย่างต่อเนื่องเชื่อว่าหญิงวัยเจริญพันธ์อายุ ๓๐ ปีขึ้นไป จะได้รับการตรวจโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกครบ ร้อยละ ๑๐๐ จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงสะโต จึงจัดทำโครงการ คัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกต้านภัยเงียบ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมากขึ้น อันจะช่วยทำให้พบผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งจะส่งผลให้ลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมร้อยละ ๘๐

 

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก ร้อยละ ๒๐

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,800.00 0 0.00
8 มี.ค. 61 ประชุมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข 0 6,600.00 -
29 มี.ค. 61 จัดอบรมกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี 0 15,200.00 -

๑. จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อวางแผนในการดำเนินงาน ๒. ประชุมเชิงปฏิบัติการแก่อสม.และสตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี เรื่อง การคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้น
๓. ติดตามกลุ่มเป้าหมายโดยอสม.ร่วมด้วยเจ้าหน้าที่ ๔. คัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยการ ทำ Pap smear ๕. คีย์ลง Program Pap Registry ๖. นำเซลล์พร้อมข้อมูล ส่งโรงพยาบาล ๗. ประเมินผลและรายงานผล ๘. กรณีเซลล์ผิดปกติ นำผู้ป่วยส่งต่อโรงพยาบาล ๙. ติดตามผลการวินิจฉัยและการรักษาอย่างต่อเนื่อง ๑๐.ประกวดผลงานอสม.ที่นำส่ง และเสริมแรงจูงใจแก่ อสม.ในการนำส่งกลุ่มเป้าหมายรับการตรวจเพิ่มขึ้น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561 14:58 น.