กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ด้านทันตสาธารณสุข รพ.สต.บ้านป่าบาก
รหัสโครงการ 61-L3341-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก
วันที่อนุมัติ 2 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจิตติณัฐช์ สุวรรณรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ นายเสงี่ยม ศรีทวี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.191,100.13place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 54 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 36 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสม. มีบทบาทในการเป็นผู้นำการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agents) พฤติกรรมด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน และมีหน้าที่ แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงานสาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ดำรงตนเป็นตัวอย่างที่ดี เมื่อพิจารณาโดยบทบาทแล้ว อสม.จึงเปรียบเสมือนเป็นแพทย์คนแรกของชุมชน แต่ในสภาพปัจจุบันพบว่า อสม.ถูกลดบทบาทลงไปมากทั้งนี้อาจเป็นเพราะข้อจำกัดด้านบริบทของแต่ละพื้นที่การที่ยังไม่มีลักษณะของงานที่รับผิดชอบที่ชัดเจนรวมไปถึงปัจจัยด้านความรู้ความสามารถที่อาจมีข้อจำกัดทำให้ อสม.อาจไม่มั่นใจที่จะแสดงบทบาทความรู้ความสามารถของตนออกมาได้อย่างเต็มที่ ทางผู้จัดทำโครงการจึงมีแนวคิดที่จะส่งเสริมบทบาทหน้าที่ของ อสม. โดยได้มุ่งเน้นที่งานทันต-สาธารณสุข ผ่านกลุ่มเป้าหมายคือเด็กเล็ก0-3ปี กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้พิการ
ทั้งนี้ เนื่องจากผลจากการสำรวจสถานการณ์ของอำเภอป่าบอน จากการตรวจสภาวะช่องปากของเด็ก0-3ปีมีอัตราฟันผุถึงร้อยละ 56.02ผู้สูงอายุมีคู่สบฟันไม่เกิน4คู่ร้อยละ 52.08 มีผู้พิการติดบ้านติดเตียง ประมาณ 40 ราย โดยในระยะยาว โครงการพัฒนาศักยภาพของ อสม.ได้มีการคาดหวังไว้ว่าจะขยายผลไปสู่กลุ่มอื่นๆในอำเภอป่าบอนด้วยต่อไปในภายภาคหน้า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 อสม.มีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง

อสม.มีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องร้อยละ80

1.00
2 อสม.สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากสู่ประชาชนได้

ประชาชนมีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องร้อยละ80

1.00
3 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

1.การเกิดฟันผุของเด็กกลุ่ม0-3ปีลดลงร้อยละ 1 ใน 1 ปี 2.ผู้สูงอายุมีคู่สบฟันหลังใช้งานมากกว่า4คู่ ร้อยละ 55

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 50,000.00 0 0.00
8 มี.ค. 61 - 28 ก.ย. 61 แกนนำอสม.ฝึกปฏิบัติงานในกลุ่มต่างๆ 0 9,450.00 -
8 มี.ค. 61 - 28 ก.ย. 61 แกนนำอสม.ถ่ายทอดความรู้เรื่องการดูแลทันตสุขภาพให้แก่ อสม.ตัวแทนในแต่ละตำบลเพื่อให้อสม.ไปถ่ายทอดความรู้และสอนประชาชนในพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง 0 6,000.00 -
8 มี.ค. 61 อสม.ในแต่ละหมู่บ้านออกเยี่ยมบ้านในแต่ละกลุ่มวัย 0 24,570.00 -
8 มี.ค. 61 - 28 ก.ย. 61 สรุปโครงการ ผลิตนวัตกรรม ประกวดผลงานนวัตกรรม เรื่องเล่า ความประทับใจ 0 7,130.00 -
12 มี.ค. 61 - 28 ก.ย. 61 อบรมแกนนำ อสม.เรื่องการดูแลทันตสุขภาพ 0 2,850.00 -
  1. เขียนโครงการเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาบริการสุขภาพช่องปากระดับตำบลทุ่งนารี
  2. ขออนุมัติโครงการต่อคณะกรรมการจัดสรรงบกองทุนระดับตำบล ตำบลทุ่งนารี
  3. จัดทำแผนปฏิบัติงานการดำเนินกิจกรรม
  4. ดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติงานที่กำหนด
  5. ประสาน, ติดตาม, รวมรวมและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน
  6. วิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
  7. ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อสม.มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปาก
2.อสม.สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากสู่ประชาชน 3.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561 15:29 น.