กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการภาคีเข็มแข็งชุมชนร่วมใจ ควบคุมโรคติดต่อ/โรคอุบัติใหม่ ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L8300-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลแว้ง
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 31 ธันวาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มกราคม 2562
งบประมาณ 22,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนูรอาซลีนา สาแลแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 220 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ทั่วโลกส่งผลต่อการพัฒนาการและวิวัฒนาการของโรคต่างๆขึ้นมามากมาย โดยเฉพาะโรคติดต่อ / โรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นหรือโรคที่กลับมาเป็นใหม่ขึ้น ซึ่งโรคติดต่อเหล่านี้จะแพร่กระจายและระบาดทุกพื้นที่โดยใช้เวลาที่รวดเร็ว จากสถานการณ์การเกิดโรคติดต่อในพื้นที่ตำบลแว้งในปีงบประมาณ 2560 สรุป 10 อันดับโรคดังนี้
ลำดับที่ ชื่อ-โรค จำนวนป่วย อัตราป่วยต่อแสน ประชากร 1. อุจจาระร่วง 247 1,771.88 2. ปอดบวม 33 236.73 3. ไข้หรือไข้ไม่ทราบสาเหตุ 27 193.69 4. สุกใส 24 172.17 5. โรคตาแดง 18 129.12 6. ไข้เลือดออก 643.04 7. ไข้หวัดใหญ่ 643.04 8. หัด 5 35.87 9. ไข้เดงกี่ 428.69 10. โรคมือเท้าปาก 428.69

จากอัตราป่วย 10 อันดับโรคของตำบลแว้งปี 2560 พบว่า ผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงพบอัตราป่วยสูงที่สุด และยังคงเป็นโรคที่มีอัตราป่วยสูงสุดทุกปี ฉะนั้นในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อจะต้องได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน ถูกหลักทางระบาดวิทยาของโรคติดต่อ และประชาชนในพื้นที่ต้องให้ความสำคัญและมีความตระหนักในการควบคุมและป้องกันโรคดังกล่าวขึ้น โดยสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์อำเภอแว้งในเรื่องของงานควบคุมโรค โรงพยาบาลแว้งร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลแว้ง จึงได้จัดทำโครงการภาคีเข้มแข็งชุมชนร่วมใจ ควบคุมป้องกันโรคติดต่อ/ โรคอุบัติใหม่ ปี2561

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่

อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลแว้งลดลงร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้

ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเองและสามารถป้องกันตนเองไม่ให้ป่วย ด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

ชุมชนที่มีการระบาดของโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลแว้งมีการดำเนินการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อเป็นการควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

4 ก.ค. 61 จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฎิบัติการเรื่องโรคไข้หวัดใหญ่/คอตีบ แก่ อสม. คณะกรรมการชุมชนและประชาชนในพื้นที่ 7,000.00 -
5 ก.ค. 61 จัดอบรมแกนนำควบคุมโรค อสม. อบต. ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา 6,000.00 -
6 ก.ค. 61 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน และรณรงค์ร่วมกับอสม.ออกติดตามเด็กที่ป่วยด้วยวัคซีนรวมทั้งฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์เพื่อป้องกันโรค 6,000.00 -
17 ก.ค. 61 จัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์โรคอุจจาระร่วง (ร้านอาหารสะอาด บริโภคปลอดภัย)โดยเจ้าหน้าที่ร่วมกับ อสม.ในหมู่บ้าน ตามร้านอาหารแผงลอย 3,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. จัดทำโครงการฯ
  2. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและประสานกับหน่วยงานชุมชนทุกระดับที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดเตรียมพื้นที่วัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินโครงการฯ
  4. จัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์โรคอุจจาระร่วง (ร้านอาหารสะอาด บริโภคปลอดภัย)โดยเจ้าหน้าที่ร่วมกับอสม.ในหมู่บ้าน ตามร้านอาหาร แผงลอย
  5. จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคไข้หวัดใหญ่/คอตีบ/โรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่แก่อสม. คณะกรรมการชุมชนและประชาชนในพื้นที่
  6. สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งดำเนินการสอบสวนโรคและดำเนินการควบคุม มีมาตรการป้องกันโรคติดต่อ/โรคอุบัติใหม่ที่พบในพื้นที่ทุกราย
  7. สถานบริการสาธารณสุขให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข ดำเนินการให้มีรายงานเฝ้าระวังโรคติดต่อ/โรคอุบัติใหม่ที่เป็นปัญหาในพื้นที่อย่างต่อเนื่องทุกเดือน
    8.คณะกรรมการบริหารกองทุนฯโรงพยาบาลแว้ง และอสม.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลแว้ง ลดลงตามเป้าหมายและตัวชี้วัด
  2. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเองและสามารถป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้
  3. ชุมชนที่มีการระบาดของโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลแว้งมีการดำเนินการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561 19:28 น.