กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการดูแลสุขภาพประชาชนเชิงรุกแบบองค์รวมด้วยวิธีการพทย์แผนไทย ”
ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส



หัวหน้าโครงการ
นายสำราญ เจ๊ะแล




ชื่อโครงการ โครงการดูแลสุขภาพประชาชนเชิงรุกแบบองค์รวมด้วยวิธีการพทย์แผนไทย

ที่อยู่ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 61-L8300-1-02 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 เมษายน 2561 ถึง 30 กันยายน 2561

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการดูแลสุขภาพประชาชนเชิงรุกแบบองค์รวมด้วยวิธีการพทย์แผนไทย จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แว้ง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการดูแลสุขภาพประชาชนเชิงรุกแบบองค์รวมด้วยวิธีการพทย์แผนไทย



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการดูแลสุขภาพประชาชนเชิงรุกแบบองค์รวมด้วยวิธีการพทย์แผนไทย " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 61-L8300-1-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 60,350.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แว้ง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยอาศัยการนำเอาองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกรวมถึงการนำเอาธรรมชาติรอบตัวมาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ เช่นการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพร การออกกำลังกายด้วยกายบริหารมณีเวช การผดุงครรภ์โบราณในหญิงหลังคลอด และการรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติบำบัด การทำสมาธิบำบัด เป็นต้น เมื่อมีการนำองค์ความรู้เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้วจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีขึ้นได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรักษาสุขภาพของประชาชน และยังตอบสนองยุทธศาสตร์แห่งชาติในการรวมพลังสร้างสุขภาพเพื่อให้คนไทยแข็งแรง เมืองไทยแข็งแรง ( Healthy Thailand ) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 1) สงเสริมใหมีแพทย์แผนไทยทำเวชปฏิบัติโดยเนน เรื่องเวชกรรมไทยในหนวยบริการมากขึ้น 2) สงเสริมใหมีการทําหัตถการแพทยแผนไทยเพื่อการรักษาผูปวยในหนวยบริการ รวมถึงการฟื้นฟูร่างกายด้วยการแพทยแผนไทยแกผูปวยโรคหลอดเลือดสมอง โรคเรื้อรัง ผูพิการ ผูสูงอายุในชุมชน ข้อเข่าเสื่อม และการฟนฟูสุขภาพ แม่หลังคลอด 3) สงเสริมใหหนวยบริการประจําและเครือขายใชยาจากสมุนไพรเพิ่มขึ้น รวมถึงการใชยาจากสมุนไพรทดแทนยาแผนปจจุบันในบางรายการที่ทดแทนกันได 4) สนับสนุนและรวมมือกับกระทรวงสาธารณสุข สถาบันทาง วิชาการ องคกรเอกชนในการพัฒนาบริการแพทยแผนไทย 5) สนับสนุนกลไกบริหารจัดการระดับจังหวัดในการพัฒนาระบบบริการการแพทยแผนไทยอยางครบวงจร 6) พัฒนาข้อมูลการกํากับติดตามและประเมินผลการดําเนินงาน จากนโยบายดังกล่าวทำให้ประชาชนสนใจที่จะหันมาดูแลสุขภาพตนเองด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยเพิ่มมากขึ้น งานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลแว้ง เปิดให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยมาตั้งแต่ปี 2๕๕4 โดยเปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยโรค จ่ายยาสมุนไพร นวดรักษา ประคบสมุนไพร การอบสมุนไพร การทับหม้อเกลือ การพอกยาสมุนไพร และการแช่เท้าสมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรค ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการดูแลมารดาหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย ในการให้บริการเชิงรับ ปี 2559 มีผู้ที่ผู้เข้ามารับบริการจำนวน 1,543 ครั้ง และในปี 2560 มีผู้มารับบริการจำนวน 2,325 ครั้ง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีผู้มารับบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.7 ในจำนวนผู้มารับบริการทั้งหมดนั้นจะประกอบไปด้วยประชาชนทุกกลุ่มวัยมีตั้งแต่เด็กวัยเรียน วัยทำงาน ผู้อายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการและมารดาหลังคลอด แต่ยังไม่เพียงพอและทั่วถึง
งานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลแว้ง เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับสุขภาพประชาชนที่สามารถบำบัดรักษาโรค ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นและสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข จึงได้จัดทำโครงการการดูแลสุขภาพประชาชนเชิงรุกแบบองค์รวมด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลแว้ง สามารถใช้ยาสมุนไพรรอบตัวในการดูแลสุขภาพตนเอง
  2. เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทยในการดูแลส่งเสริม และป้องกันโรคมากขึ้น

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพและบริการมารดาหลังคลอดด้วยแพทย์แผนไทยเชิงรุกอย่างครบวงจร
  2. กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพรรอบตัวในการลด ละ เลิก บุหรี่ และให้บริการให้คำปรึกษาและทำการรักษาด้วยยาสมุนไพรของประชาชนที่มีความเสี่ยงและต้องการเลิกบุหรี่
  3. กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้ในการดูแลตนเอง การบำบัดรักษาโรคโดยการพอกยาสมุนไพรในกลุ่มที่มีอาการปวดเข่า เข่าเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อ และทำการแช่เท้าสมุนไพรในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  4. กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้เกี่ยวกับเหา วิธีการกำจัดเหาด้วยยาสมุนไพรและทำการกำจัดเหาด้วยยาสมุนไพรของเด็กนักเรียน
  5. กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการนำยาสมุนไพรรอบตัวมาแปรรูป

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 25
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลแว้ง ได้รับการบริการด้านแพทย์แผนไทยในการบำบัดรักษาโรค ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการดูแลมารดาหลังคลอดได้อย่างทั่วถึง
  2. ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลแว้ง สามารถนำสมุนไพรที่มีรอบตัวมาใช้ในการดูแลสุขภาพ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพและบริการมารดาหลังคลอดด้วยแพทย์แผนไทยเชิงรุกอย่างครบวงจร

วันที่ 1 พฤษภาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

  • ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ให้คำแนะนำ
  • ให้ฟื้นฟูมารดาหลังคลอด ดดยการนวด ประคบสมุนไพร ทับหม้อเกลือ เข้ากระโจมอบสมุนไพร และให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและบริบาลมารดาหลังคลอดด้วยแพทย์แผนไทยเชิงรุกอย่างครบวงจร มีมารดาหลังหลังคลอดได้รับการดูแลและการบริบาลหลังคลอดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยโดยผู้มีใบประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยสาขา การผดุงครรภ์ไทย จำนวน  ราย โดยภาพรวมในการจัดโครงการกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในกิจกรรมในครั้งนี้โดยภาพรวม อยู่ในระดับ ดีมาก

 

26 0

2. กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพรรอบตัวในการลด ละ เลิก บุหรี่ และให้บริการให้คำปรึกษาและทำการรักษาด้วยยาสมุนไพรของประชาชนที่มีความเสี่ยงและต้องการเลิกบุหรี่

วันที่ 6 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

  • ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพรรอบตัวในการลด ละ เลิก บุหรี่
  • ให้คำปรึกษาและทำการสรักษาด้วยยาสมุนไพรของประชาชนที่มีความเสี่ยงและประชาชนที่มีควา่มต้องการเลิกบุหรี่โดยการจ่ายยาสมุนไพร ชาชงหญ้าดอกขาว ยาอมหญ้าดอกขาว เป็นรายบุคคล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการดำเนินโครงการกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพรรอบตัวในการลด ละ เลิก บุหรี่ และให่บริการให้คำปรึกษาและทำการรักษาด้วยยาสมุนไพรของประชาชนที่มีความเสี่ยงและต้องการเลิกบุหรี่ กลุ่มเป้าหมายมีควารู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพรรอบตัวในการลด ละ เลิก บุหรี่ โดยก่อนการอบรมคะแนนความรู้การใช้ยาสมุนไพรรอบตัวในการลด ละ เลิก บุหรี่เฉลี่ยร้อยละ 48.2 หลังการอบรมกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพรรอบตัวในการลด ละ เลิก บุหรี่ คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 88.1 กลุ่มเป้าหมายได้รับการให้บริการให้คำปรึกษาและทำการรักษาด้วยยาสมุนไพรร้อยละ 100

 

50 0

3. กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้ในการดูแลตนเอง การบำบัดรักษาโรคโดยการพอกยาสมุนไพรในกลุ่มที่มีอาการปวดเข่า เข่าเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อ และทำการแช่เท้าสมุนไพรในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

วันที่ 6 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

  • บรรยายเรื่อง การดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการรักษาด้วยสมุนไพร
  • ตรวจ และให้บริการรักษา (แช่เท้า พอกเข่า) และให้คำแนะนำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการดำเนินกิจกรมมส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้ในการดูแลตนเอง การบำบัดรักษาโรคดดยการพอกยาสมุนไพรในกลุ่มที่มีอาการปวดเข่า เข่าเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อ และทำการแช่เท้าสมุนไพรในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยหลังการจัดกิจกรรมกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการดูแลตนเองเกี่ยวกับอาการปวดเข่า เข่าเสื่่อม ปวดกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 86.4 กลุ้มเป้าหมายได้รับการพอกเข่า แช่เท้า ด้วยยาสมุนไพร ร้อยละ 100 โดยภาพรวมในการจัดโครงการกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในการกิจกรรมในครั้งนี้โดยภาพรวม อยู่ในระดับ ดีมาก

 

50 0

4. กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้เกี่ยวกับเหา วิธีการกำจัดเหาด้วยยาสมุนไพรและทำการกำจัดเหาด้วยยาสมุนไพรของเด็กนักเรียน

วันที่ 17 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

เนื่องจากเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 4 ปี ทำให้ไม่สามารถดำเนินการในเด็กกลุ่มนี้ได้เนื่องจากอาจจะได้รับผลข้างเคียงของยาสมุนไพรกำจัดเหา จึงได้ทำการปรับกลุ่มเป้าหมายไปยังโรงเรียนอื่นๆ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมดังนี้ 1. โรงเรียนบ้านกรือซอ  จำนวน  38 คน 2. โรงเรียนบ้านเจ๊ะเหม  จำนวน  42 คน 3. โรงเรียนบ้านฆอเลาะทูวอ  จำนวน  38 คน 4. โรงเรียนบ้านกูวา  จำนวน  42 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้เกี่ยวกับเหา วิธีการกำจัดเหาด้วยยาสมุนไพรและทำการกำจัดเหาด้วยยาสมุนไพรของเด็กนักเรียน กลุ่มเป้าหมายมีความเกี่ยวกับเหา วิธีการกำจัดเหาด้วยยาสมุนไพร โดยก่อนอบรมคะแนนความรุ้เกี่ยวกับเหา วิธีการจัดเหาด้วยยาสมุนไพรเฉลี่ยร้อยละ 55.2 หลังการอบรมกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับเหา วิธีการจัดเหาด้วยยาสมุนไพรคะแนนเแลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 78.4 กลุ่มเป้าหมายได้รับการกำจัดเหาด้วยยาสมุนไพรร้อยละ 100

 

160 0

5. กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการนำยาสมุนไพรรอบตัวมาแปรรูป

วันที่ 24 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

  • บรรยาย เรื่อง การดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยการนำยาสมุนไพรรอบตัวมาใช้ประโยชน์
  • แบ่งกลุ่ม สาธิตและปฎิบัติแปรรูปสมุนไพรรอบตัว (ลูกประคบสมุนไพร)
  • แบ่งกลุ่ม สาธิตและปฎิบัติแปรรูปสมุนไพรรอบตัว (ยาหม่องพยาญอ)
  • แบ่งกลุ่ม สาธิตและปฎิบัติแปรรูปสมุนไพรรอบตัว (น้ำมันไพล)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากาการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้เกี่ยวกับการนำยาสมุนไพรรอบตัวมาแปรรูปกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการนำยาสมุนไพรรอบตัวมใาแปรรูป โดยก่อนการอบรมคะแนนความรู้การนำยาสมุนไพรรอบตัวมาแปรรูป เฉลี่ยร้อยละ 68.2 หลังการอบรมกลุ่มเป้าหมายมีความรู้การนำยาสมุนไพรรอบตัวมาแปรรูปคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 92.6 กลุ่มเป้าหมายได้ลงปฎิบัติในการแปรรูปยาสมุนไพรร้อยละ 100 โดยสามารถผลิตยาสมุนไพรตามโครงการ จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ลูกประคบสมุนไพร ยาหม่องพยายอ และน้ำมันไพล และทางผู้จัดได้เพิ่มกิจกรรมการแปรรูปอีกจำนวน 2 รายการ ได้แก่ สเปรย์ตะไคร้หอมไล่ยุง และพิมเสนน้ำ รวมทั้งหมด 5 รายการ โดยภาพรวมในการจัดโครงการกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในการทำกิจกรรมครั้งนี้โดยภาพรวมอยุ่ในระดับ ดีมาก

 

30 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลแว้ง สามารถใช้ยาสมุนไพรรอบตัวในการดูแลสุขภาพตนเอง
ตัวชี้วัด : ประชาชนมีความรู้และสามารถใช้ยาสมุนไพรรอบตัวในการดูแลสุขภาพตนเองได้ ร้อยละ 80
0.00

 

2 เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทยในการดูแลส่งเสริม และป้องกันโรคมากขึ้น
ตัวชี้วัด : อัตราการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 และมีความพึงพอใจในการให้บริการแพทย์แผนไทย ร้อยละ 90
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 305
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 25
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลแว้ง สามารถใช้ยาสมุนไพรรอบตัวในการดูแลสุขภาพตนเอง (2) เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทยในการดูแลส่งเสริม และป้องกันโรคมากขึ้น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพและบริการมารดาหลังคลอดด้วยแพทย์แผนไทยเชิงรุกอย่างครบวงจร (2) กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพรรอบตัวในการลด ละ เลิก บุหรี่ และให้บริการให้คำปรึกษาและทำการรักษาด้วยยาสมุนไพรของประชาชนที่มีความเสี่ยงและต้องการเลิกบุหรี่ (3) กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้ในการดูแลตนเอง การบำบัดรักษาโรคโดยการพอกยาสมุนไพรในกลุ่มที่มีอาการปวดเข่า เข่าเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อ และทำการแช่เท้าสมุนไพรในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (4) กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้เกี่ยวกับเหา วิธีการกำจัดเหาด้วยยาสมุนไพรและทำการกำจัดเหาด้วยยาสมุนไพรของเด็กนักเรียน (5) กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการนำยาสมุนไพรรอบตัวมาแปรรูป

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการดูแลสุขภาพประชาชนเชิงรุกแบบองค์รวมด้วยวิธีการพทย์แผนไทย จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 61-L8300-1-02

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายสำราญ เจ๊ะแล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด