กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาพ
รหัสโครงการ 61-L8300-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ตำบลแว้ง
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 กรกฎาคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสตอปา ตาเละ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มุสลิมจะมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับมัสยิดจนกระทั่งช่วงสุดท้ายของชีวิตบทบาทของมัสยิดนอกจากจะเป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจตามที่คนทั่วไปเข้าใจแล้ว มัสยิดยังเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมของชุมชน เป็นศาลสถิตยุติธรรมเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยคดีความชั้นต้นในชุมชน เป็นสถานที่ประชุมปรึกษาปัญหาและทางออกในเรื่องราวด้านต่างๆ ของชุมชน การจัดกิจกรรมงานบุญงานกุศลทั้งการเริ่มต้นชีวิตครอบครัวคือการแต่งงาน กิจกรรมในวิถีชุมชนต่างๆ ตลอดจนเมื่อถึงสุดท้ายของชีวิตสถานที่แห่งนี้จะเป็นที่สุดท้ายที่เขา (ศพ)จะได้รับการละหมาดขอพรจากพระผู้เป็นเจ้าก่อนที่ร่างจะถูกฝังในกูโบ (สุสาน) ที่อยู่ใกล้ๆกับมัสยิด บทบาทที่สำคัญอีกประการหนึ่งของมัสยิด คือการบริการการศึกษาแก่สมาชิกในชุมชนทั้งระดับพื้นฐานและวิทยาการอิสลามขั้นสูง และการจัดการเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ ทัศนะอิสลาม วิชาความรู้ที่ดีงามเป็นประโยชน์ให้กับส่วนบุคคล ครอบครัว และการพัฒนาสังคมเป็นสิ่งจำเป็นที่มุสลิมทุกคนต้องไขว่คว้าและเรียนรู้ มัสยิดจึงเป็นสถานที่ส่งเสริมสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณของประชาชนในชุมชน อิสลามได้กำหนดให้ผู้ที่จะปฏิบัติศาสนกิจนั้นต้องทำการชำระร่างกายให้สะอาด และจำเป็นที่จะต้องชำระมลทินทั้งสองอย่างคือทั้งภายนอกและภายในให้หมดไปมิฉะนั้นการปฏิบัติศาสนกิจของเราก็จะใช้ไม่ได้ ดังคำสอนที่ท่านศาสดามุฮัมมัด ทรางกล่าวไว้ว่า “ความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา” องค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้การปฏิบัติศาสนกิจที่สมบูรณ์ก็คือการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติศาสนกิจได้มีน้ำใช้ที่สะอาด มีการจัดการขยะและสิ่งปฏิกูลถูกหลักสุขาภิบาลที่ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนหรือทำความสกปรกแก่ผู้ปฏิบัติศาสนกิจ ในการแก้ปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อม จะบังเกิดผลสำเร็จได้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนเป็นสำคัญ เพราะการแก้ไขปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมขึ้นอยู่กับปฏิบัติตนของประชาชน ดังนั้นการปลูกฝังจิตสำนึกผ่านสถานที่ที่สำคัญให้ประชาชนได้ร่วมดูแลรักษาซึ่งตรงกับคำสอนของอิสลามที่ท่านศาสดามุฮัมมัด ทรงกล่าวว่า “ผู้ใดผูกพันอยู่กับมัสยิด อัลเลาะห์ ศุบหฯ จะทรงผูกพันอยู่กับเขา” ดังนั้นชมรมอสม.ตำบลแว้งได้จัดทำโครงการดังกล่าวนี้ขึ้นเพื่อพัฒนามัสยิดให้ได้มาตรฐาน ส่งเสริมวิถีชีวิตมุสลิมให้สอดคล้องกับบทบัญญัติอิสลาม เรื่องความสะอาด การศรัทธา การมีส่วนร่วม นำไปสู่การพัฒนาชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มัสยิดทุกแห่งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแว้งได้เข้าร่วมโครงการและมีการพัฒนามัสยิดให้ได้มาตรฐาน

1.อสม. อปท. ผญบ. ส.อบต.สสอ. รพ.สต. รพ. หน่วยงานภาคีเครือข่ายร่วมกันดูแล 2.ชุมชนช่วยกันดูแลมากขึ้น 3.มีหัวข้อการพัฒนาทำให้มีแนวทางในการดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิดร่วมกับชุมชน

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะอนามัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี

1.เป็นแบบอย่างให้ประชาชนนำมาตรฐานมัสยิดส่งเสริมสุขภาพ 2.สร้างความรักของคนในชุมชนเมื่อต่างคนต่างช่วยกันทำความสะอาดรักษาความสะอาดตลอดเวลา 3.สร้างแรงผลักดันให้ตนเองหันมาช่วยกันรักษาความสะอาด

0.00
3 เพื่อสร้างระบบการดูแลความสะอาดอย่างยั่งยืน

1.ชุมชนจะเป็นคนออกแบบเองว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้มีความสะอาดตลอดไปอย่างยั่งยืน 2.สร้างระบบการเฝ้าระวังความสะอาด 3.สร้างเครือข่ายการช่วยเหลือด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,700.00 3 40,700.00
31 ก.ค. 61 บรรยายให้ความรู้เรื่องมัสยิดส่งเสริมสุขภาพ 0 19,100.00 19,100.00
14 ส.ค. 61 กิจกรรมตรวจประเมินมัสยิด 7 แห่ง 0 1,600.00 1,600.00
7 ม.ค. 62 ถอดบทเรียนเพื่อนำข้อบกพร่องไปแก้ไขและมอบประกาศนียบัตร 0 0.00 20,000.00

1.เชิญผู้นำชุมชน กำนัน ผญบ., อสม., โต๊ะอีหม่าม, กรรมการผู้สูงอายุ, สมาชิกอบต. กรรมการมัสยิด, ครูตาดีกา มาประชุมทำความเข้าใจว่าจะมีการตรวจประเมิน ประกวด มัสยิดส่งเสริมสุขภาพเพื่อเป็นมัสยิดที่ได้มาตรฐานในชุมชน 2.ทำความเข้าใจกับชุมชนเพื่อสร้างความตระหนักในการช่วยกันรักษาความสะอาด 3. จัดอบรมเพื่อพัฒนามัสยิดให้ได้ตามมาตรฐานตามแบบประเมินมัสยิดส่งเสริมสุขภาพ 4. ประกวดมัสยิดที่ยอดเยี่ยมทำตามแบบประเมินเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจทั้งยังยกฐานะให้มัสยิดต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มัสยิดจะเป็นแหล่งที่มีการสร้างสุขภาวะที่ดีภายใต้การจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง
  2. ประชาชนที่มาใช้บริการมัสยิดมีพฤติกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี
  3. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561 19:55 น.