กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ วัยรุ่น วัยใส รักอย่างไรให้ปลอดภัย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานส่งเสริมสุขภาพ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลน้ำน้อย
วันที่อนุมัติ 2 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 26 กันยายน 2561
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ พ.จ.อ.สกล วัฒนอัมพร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,100.53place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (20,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมไทยจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยว ประกอบกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ไร้ขีดจำกัด ส่งผลให้พ่อแม่ต้องทำงานนอกบ้าน มีเวลาให้ครอบครัวน้อยลง เยาวชนขาดผู้ดูแลใกล้ชิดทำให้ขาดวุฒิภาวะ มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เกิดพฤติกรรมเสี่ยงจากยาเสพติด ปัญหาทางเพศ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรส่งผลให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นขึ้น


สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของไทยปี พ.ศ.2559 พบว่ามีอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี เท่ากับ 1.4 ต่อหญิงอายุ 10-14 ปีพันคน และอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี เท่ากับ 42.5 ต่อหญิงอายุ 15-19 ปีพันคน และมีการคลอดซ้ำร้อยละ 11.9 ซึ่งเป็นอันดับที่ 6 ของอาเซียน โดยเป้าหมายของพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 คือ ในปี 2569 อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10-14 ปี ไม่เกิน 0.5 ต่อหญิงอายุ 10-14 ปีพันคนและอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี ไม่เกิน 25 ต่อหญิงอายุ 15-19 ปีพันคน
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นซึ่งมาจากสภาพร่างกายและจิตใจที่ไม่พร้อมส่งผลกระทบมากมายทั้งต่อวัยรุ่นและครอบครัว ได้แก่ ด้านสรีรวิทยาของแม่วัยรุ่น เช่นภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้งหรือการผ่าตัดคลอด การคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ด้านสังคมเศรษฐกิจ เช่น ภาวะซึมเศร้า โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหาความยากจน ทารกแรกเกิดถูกทอดทิ้งหรือโดนทำร้าย วัยรุ่นต้องหยุดเรียนหรือเลิกเรียน ขาดความพร้อมในการเลี้ยงบุตร เป็นต้น ฝ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุข เทศบาลตำบลน้ำน้อยตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการ “วัยรุ่นวัยใส รักอย่างไรให้ปลอดภัย” ขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษาและสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นตลอดจนการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นและโรงติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อให้เยาวชนของเทศบาลตำบลน้ำน้อยเป็นเยาวชนที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทศบาลต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

นักเรียนมีความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นและโรคติดต่อมากขึ้นร้อยละ 80

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 จัดอบรมให้ความรู้ 0 20,000.00 -

1.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย 2.ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินโครงการกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและขอความเห็นชอบจากโรงเรียน 3.สำรวจจำนวนกลุ่มเป้าหมายในโรงเรียนชุมชนบ้านน้ำน้อยและโรงเรียนท่าจีนอุดมวิทยา 4. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ และจัดทำแบบทดสอบก่อน-หลังให้ความรู้เพื่อวัดผลการจัดกิจกรรม 5. จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 จำนวน 91 คน โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิเรื่อง 5.1 เพศศึกษาและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 5.2 ปัญหาและผลกระทบจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 5.3 การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น 6. แบ่งกลุ่มระดมความคิดและส่งตัวแทนออกมา นำเสนอผลงานในหัวข้อ 6.1 หน้าที่ของวัยรุ่น 6.2ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ในวัยเรียน 6.3 การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 7. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อน-หลังให้ความรู้เพื่อวัดผลการจัดกิจกรรม 8.ติดตามช่วยเหลือให้คำปรึกษาแก่วัยรุ่นโดยจัดทำFacebook Fanpage “เทศบาลเป็นมิตร ใกล้ชิดวัยรุ่นน้ำน้อย” เพื่อเป็นช่องทางติดต่อสื่อสาร 9. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้เรื่องเพศศึกษา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และผลกระทบจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
  2. นักเรียนมีทักษะชีวิตเพื่อป้องกันตนเองจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
  3. จำนวนการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในเทศบาลตำบลน้ำน้อยมีจำนวนลดลง
  4. เกิดเครือข่ายเพื่อให้ความช่วยเหลือวัยรุ่นในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2561 13:19 น.