กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเยาวชนมุสลิม (คิตาน) ตำบลบุดี ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L4135-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ทต.บุดี
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 เมษายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2560
งบประมาณ 24,980.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซูการ์นอมะตีมัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาลตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.487,101.305place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 22 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 22 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเข้าสุนัต หรือ มาโซ๊ะยาวี หรือ คิตาน หมายถึง การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเยาวชนมุสลิม เมื่อย่างเข้าวัยอันควร เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่มุสลิมทุกคนถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ถือกันว่าคนมุสลิมที่แท้จริงต้องเข้าสุนัต และเป็นสิ่งจำเป็นที่เด็กผู้ชายชาวมุสลิมจะต้องผ่านให้ได้ดังนั้นการเข้าสู่พิธีเข้าสุนัตนิยมทำในวัยเด็ก เพื่อความสะอาดของร่างกาย ในสมัยก่อนชาวมุสลิมส่วนมากนิยมเข้าพิธีสุนัตกับหมอแผนโบราณ หรือที่มุสลิมเรียกว่า “โต๊ะมูเด็ง” แต่ในปัจจุบันโรคติดเชื่อต่างๆ มีมากมายหลายชนิด จึงหันมาทำแนวทางแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อป้องกันและลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อและภาวะออกเลือดมาก และเพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนักความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ ดังนั้น เพื่อสนับสนุนประเพณีทางศาสนาอิสลาม และช่วยเหลือสนับสนุนเด็กและเยาวชนในตำบลบุดี ให้ดำรงอยู่ในแนวทางการปฏิบัติทางศาสนาอิสลาม ตลอดจนเพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก (Bleeding) จากการผ่าตัดหรือทำหัตถกรรม และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรคเทศบาลตำบลบุดีจึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก (Bleeding)

เด็กและเยาวชนมุสลิมที่ได้รับการทำสุนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด (Bleeding) ร้อยละ 80

2 เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

เด็กและเยาวชน รวมถึงผู้ปกครองมีความตระหนัก เข้าใจวิธีการดูแลสุขภาพและการป้องการกันโรคด้านโรคติดเชื้อ

3 เพื่อเสริมสร้างสุขภาพป้องกันโรค และลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพตามหลักการแพทย์ปัจจุบันให้กับเด็กและเยาวชน

ลดปัจจัยเสี่ยงอันก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง) ให้กับเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ

4 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค

 

5 เพื่อสนับสนุนประเพณีทางศาสนาอิสลาม

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมเตรียมความพร้อม 1) จัดประชุมคณะกรรมการ และคณะทำงานสุขภาพชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ 2) ประชาสัมพันธ์ และรับสมัครเด็กและเยาวชนมุสลิมเข้าร่วมโครงการ
    3) จัดตารางเวลา กำหนดการเพื่อให้บริการทำสุนัตหมู่แก่เด็กและเยาวชนมุสลิม
  2. กิจกรรมบริการทำสุนัตหมู่แก่เด็กและเยาวชน 1) กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ) แก่เด็กและเยาวชนเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค 2) กิจกรรม ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (Circumcision)
  3. การติดตามและประเมิน เพื่อติดตามและประเมินอาการหลังการทำสุนัต และความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็ก
  4. สรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กและเยาวชนมุสลิมที่ได้รับการทำสุนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด (Bleeding) ภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง) และการติดเชื้อ รวมทั้งสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครอง ชุมชน ในการป้องกันโรคติดต่อ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2560 09:55 น.