กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ลดโรค ลดพุง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าจีน
วันที่อนุมัติ 2 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสำราญ สกุลเด็น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,100.53place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำใหมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จากผลการการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าจีน ปี 2560 พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 574 คน และกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 134 คน นอกจากนี้กลุ่มป่วยที่รับยาที่ รพสต. ตั้งแต่ปี 2559 - 2561 จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน 6 คน ความดันโลหิตสูง 131 คนเบาหวานและความดันโลหิตสูง 27 คน ทั้งสิ้น 164 ราย และจากสถิติผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาล ส่วนใหญ่พบป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตในการลดการเกิดของโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือดต้องทำโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมทั้งหมดด้วยการรณรงค์เรื่องวิถีชีวิต ทำให้เกิดความตระหนักในอันตรายของอาหารที่ทำให้เกิดความอ้วน อันตรายของชีวิตที่กินๆนอนๆไม่ขยับเขยื้อน ไม่ออกกำลังกาย การปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะส่งผลให้โรคแทรกซ้อนเกิดเร็วขึ้น
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าจีน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว และตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรคเรื้อรังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 95

0.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รายใหม่

จำนวนผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 5 จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 61 - 30 พ.ค. 61 อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานความดันโลหิตสูง 0 14,128.00 -
1 เม.ย. 61 - 30 ส.ค. 61 ติดตามผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเบาหวานจำนวน 200 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 500 คน ทุก 1, 3, 6 เดือน 0 10,872.00 -

1.จัดทำโครงการเสนอ ขออนุมัติการใช้งบประมาณจากกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย 2. จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง 3. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรค เบาหวานและความดันโลหิตสูง แบ่งเป็น 3 ฐานกิจกรรม ฐานที่ 1การตรวจร่างกาย วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง รอบเอว
ฐานที่ 2อาหารกับพลังงานที่สมดุล
ฐานที่ 3การออกกำลังกายโดยการแกว่งแขน 4. ติดตามผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิต โดยการชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง วัดรอบเอวความดันโลหิต เจาะเลือดตรวจหาน้ำตาล ลงในสมุดประจำตัวทุก1, 3, 6 เดือน
5. ส่งต่อกลุ่มป่วยรายใหม่ พบแพทย์ 6.สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากขึ้น 2.จำนวนผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2561 09:36 น.