กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการผู้สูงอายุในตำบลหารเทา
รหัสโครงการ 61-L3339-03-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพ ผู้สูงอายุตำบลหารเทา
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 95,460.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพ ผู้สูงอายุตำบลหารเทา
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,100.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 1509 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทต่อสุขภาพ ถ้ารับประทานอาหารได้ ถูกต้อง กล่าวคือรับประทานอาหารที่ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบทุกชนิดที่ร่างกายต้องการในปริมาณที่เพียงพอก็จะทำให้ร่างกายมีภาวะโชนาการที่ดีมีร่างกายที่แข็งแรงสมวัย ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย หรือเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ ความเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุ ได้แก่ ๑.กระบวนการแก่(aging process) ของร่างกายหรือการเสื่อมของประสาททั้ง ๕ ซึ่งมีผลต่อการบริโภคและภาวะโชนาการเช่น ฟันมีการสึกกร่อนหรือหักต้องใช้ฟันปลอม ทำให้เคี้ยวอาหารได้ลำบาก จมูกมีกลิ่นที่ผิดไปจากเดิมทำงานไม่ได้ดี ไม่ได้กลิ่นของอาหารที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิกความอยากรับประทานอาหาร เป็นต้น ถ้าไม่มีการดูแลในด้านการประกอบอาหารให้อ่่อนนุ่มก็จะเป็นสาเหตุให้รับประทานอาหารได้น้อยลง ประสาทรับรสที่ลิ้นเสื่อมลง ไม่ค่อยทราบถึงรสอาหารหรือมีการรับรสเปลี่ยนแปลงไป ความชอบรสอาหารต่างไปจากเดิม เช่น บางคนเคยชอบรสเปรี้ยว กลับเปลี่ยนไม่ชอบเมื่ออายุมากขึ้นหรือชอบรับประทานอาหารที่มีรสขม และรสหวานมากขึ้น บางคนชอบรับประทานข้าวกับผลไม้ เป็นต้น ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ถ้าไม่ได้รับความสนใจหรือสังเกตุจากผู้ใกล้ชิดจะทำให้ไม่สามารถจัดอาหาารให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ และรับประทานอาหารได้น้อยลง นอกจากนี้ระบบทางเดินอาหารก็มีการเปลี่ยนแปลงน้ำย่อยต่างๆน้ำดีจากตับอ่อน รวมถึง การบีบตัวของกะเพาะ และลำไส้ทำงานน้อยลงเป็นสาเหตุให้การย่อยดูดซึมสารอาหารลดน้อยตามไปด้วย การขับถ่ายน้อยลงมีอาการท้องผูก ท้องอืด มีแก๊ส แน่น จุกเสียด ทำให้ไม่สบาย หลังการรับประทานอาหารปัญหาความเสื่อมลง ของสภาพร่างกายเช่นนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การบริโภคอาหารของผู้สูงอายุซึ่งมีทั้งภาวะโภชนาการเกินและสภาวะโภชนาการขาดได้ ถ้าลูกหลานหรือผู้ดูแลไม่เข้าใจไม่ได้ดูแลในด้านอาหารอย่างใกล้ชิด ๒.ภาวะทางเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุมีรายได้ที่ลดลง ทำให้ผู้สูงอายุต้องพิจารณาใช้เงินอย่างประหยัดเนื่องจากกลัวรายรับไม่สมดุลกับรายจ่าย การซื้ออาหารมารับประทานก็พยายามหาของถูก อาจทำให้กระทบถึงภาวะโชนาการของผู้สูงอายุดังกล่าว ๓.สภาวะทางจิตใจ โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง การถูกทอดทิ้งไม่มีใครดูแลมีผลถึงสภาพของจิตใจ และการยอมรับอาหารของผู้สูงอายุได้ และเป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาทางโภชนาการในผู้สูงอายุได้ ๔.ภาวะโภชนาการเดิมที่เป็นอยู่และบริโภคนิสัย ผู้สูงอายุที่มีภาวะโภชนาการที่ไม่ดีมาก่อน เช่น เป็นโรคอ้วนมีไขมันสูงในเลือด ความดันโลหิตสูง ฯลฯ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุอาการต่างๆของโรคจะรุนแรงมากขึ้น ถ้าต้องมีการกำจัดอาหาร อาจส่งผลต่อภาวะโภชนาการได้ นอกจากนี้บริโภคนิสัยของผู้สูงอายุแต่ละคน เช่น ชอบอาหารที่มีไขมันสูง ชอบอาหารที่มีรสหวาน หรือรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด ก็เป็นตัวกำหนดให้ทราบถึงภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุคนนั้นในอนาคตได้ ๕.ความรู้ทางด้านโภชนาการผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ให้ความสนใจทางด้านโภชนาการและหาความรู้เพิ่มทางด้านโภชนาการเมื่อมีอายุมากขึ้น แหล่งความรู็มีมากมายทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องถ้าหากได้รับความรู้ที่ไม่ถูกต้องโดยเฉพาะคำบอกเล่าที่ไม่สามารถหาคำตอบได้หรือผลการทดสอบทางการแพทย์มาสนับสนุนอาจจะเป็ฌนสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาทางโภชนาการได้ในระยาวในขณะเดียวกัน ถ้าผู้สูงอายุเปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นยอมรับในข่าวสารต่างๆที่เปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน และนำมาสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องย่อมจะเป็นทางหนึ่งในการช่วยรักษาสุขภาพให้แข็งแรง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.ผู้สูงอายุมีความรู้ ญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีเจตคติทักษะและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

๑.ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีเจตคติ ทักษะ ในการดูแลเรื่องโภชนาการเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๗๐

0.00
2 ๒.ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างการแข็งแรงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโภชนาการละการบริโภคอาการที่ไม่ถูกต้อง

๒.ลดอัตราการเจ็บป่วยด้าวยโภชนาการในผู้สูงอายุ ร้อยละ ๒๐

0.00
3 ๓.ผู้สูงอายุที่มีการปัญหาเรื่องโภชนาการได้รับการส่งต่อเข้ารับการรักษาต่อไป

๓.ผู้สูงอายุได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ร้อยละ ๗๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 96,210.00 0 0.00
15 มี.ค. 61 ๑.ประชุมเตรียมโครงการแก่กรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯผู้ปฏิบัติงาน 0 2,000.00 -
15 มี.ค. 61 2.ผู้ปฏิบัติงานคัดกรองโภชนาการผู้สูงอายุในการใช้แบบฟอร์มคัดกรอง Mini Nutritional Assessment 0 38,860.00 -
15 มี.ค. 61 3.สรุปผลการคัดกรองผู้สูงอายุในเรื่องโภชนาการ ร่วมหารือแนวทางการช่วยเหลือสำหรับผู้สูงอายุที่ขาดสารอาหารร่วมกับ พมจ. 0 750.00 -
15 มี.ค. 61 4.จัดอบรมให้ความรู้กับผู้สูงอายุ ญาติที่ดูแลผู้สูงอายุเข้าร่วมรับการอบรมโดยแบ่งออกเป็น 2 รุ่น 0 0.00 -
15 มี.ค. 61 รุ่นที่ 1 ภาวะโภชนาการการเกิน 0 32,100.00 -
15 มี.ค. 61 รุ่นที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุหรือผู้ที่ดูแล ที่มีภาวะขาดสารอาหาร 0 22,500.00 -

1.ประชุมเตรียมโครงการแก่กรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯผู้ปฏิบัติงานคัดกรองโภชนาการของผู้สูงอายุ 2.ผู็ปฏิบัติงานคัดกรองโชนาการผู้สูงอายุในการใช้แบบฟอร์มคัดกรอง Mini Nutritional Assessment (MNA)
3.จัดคัดกรองโภชนาการผู้สูงอายุ โดยผู้ปฏิบัติงาน คัดกรองโภชนาการผู้สูงอายุตามแบบ Mini Nutritional Assessment (MNA)
4.สรุปผลการคัดกรองผู้สูงอายุในเรื่องโภชนาการ ร่วมหารือแนวทางการช่วยเหลือสำหรับผู้สูงอายุที่ขาดสารอาหาร ร่วมกับพมจ.พัทลุง 5.ส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องโภชนาการเพื่อรับอาหารฟื้นฟูต่อไป 6.จัดอบรมให้ความรู้กับผู้สูงอายุ ญาติที่ดูแลผู้สูงอายุ เข้าร่วมรับการอบรมโดยแบ่งออกเป็น 2 รุ่น รุ่นที่ 1 ภาวะโภชนาการเกิน รุ่นที่ 2 ภาวะขาดสารอาหาร ึ7.จัดตั้งครัวโภชนาการในชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ ญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีเจตคติ ทักษะและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ถูกต้อง 2.ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโภชนาการและการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง 3.ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องโภชนาการได้รับการส่งต่อเข้ารับการรักษาต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2561 10:16 น.