โครงการส่งเสริมทักษะชีวิตในเด็กวัยเรียน วัยรุ่น และหญิงตั้งครรภ์ ตามวิถีชุมชนบ้านปาเต๊ะ ปีงบประมาณ 2561
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมทักษะชีวิตในเด็กวัยเรียน วัยรุ่น และหญิงตั้งครรภ์ ตามวิถีชุมชนบ้านปาเต๊ะ ปีงบประมาณ 2561 |
รหัสโครงการ | 61-L5303-2-12 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านปาเต๊ะเหนือ |
วันที่อนุมัติ | 23 กุมภาพันธ์ 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2560 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 30,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านปาเต๊ะเหนือ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.687,99.965place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 180 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : ระบุ |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 180 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : ระบุ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เป็นกระบวนการซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคีเครือข่าย เพื่อให้สถานะสุขภาพประชาชนตามกลุ่มวัยมีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจและอารมณ์ อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข แต่ละกลุ่มในระบบสุขภาพมีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ตั้งแต่กลุ่มเด็ก สตรีและหญิงตั้งครรภ์ , กลุ่มเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นช่วงพัฒนาการทางสมอง พฤติกรรม การเรียนรู้บทบาททางสังคม โดยเฉพาะกลุ่มวัยวัยรุ่นและเยาวชน เป็นช่วงที่สร้างเอกลักษณ์ตนเอง มีความเชื่อมั่น ศรัทธาในสิ่งที่ทำ ทำในสิ่งที่ดีงาม และเป็นอนาคตของชาติ จากการคืนข้อมูลด้านสุขภาพของชุมชน จะพบว่าปัญหาวัยรุ่น มักเกิดจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์และปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการสร้างเอกลักษณ์ของเด็ก เช่น ต้องการการยอมรับ การเอาใจใส่ การชื่นชม จึงมักมีเพื่อนที่มีรสนิยมที่เหมือนกัน แทนการสนิทชิดเชื้อกับพ่อแม่ เพราะพ่อแม่มักไม่เข้าใจอารมณ์และลักษณะทางเพศ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างกันและกัน วัยรุ่นชายมักมีปัญหายาเสพติด การทะเลาะวิวาท ซึ่งจากข้อมูลด้านการบำบัดรักษาของพื้นที่ พบว่า ยังมีอัตราการบำบัดด้วยความสมัครใจและได้รับการติดตามอยู่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนวัยรุ่นหญิง มักมีการแต่งงานและตั้งครรภ์ก่อนอายุ 20 ปี มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากความยากจนที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของตน ทำให้จำเป็นต้องทำงานมากกว่าการศึกษาต่อ รวมถึงการเข้าถึงเทคโนโลยีสื่อสารเริ่มแพร่กระจายในกลุ่มวัยรุ่น สามารถเล่นโซเชียลมีเดียได้ นัดแนะเที่ยวในกลุ่มเพื่อนต่างวัยช่วงที่ไม่ทำงาน หรือช่วงปิดเทอม ทำให้วัยรุ่นดังกล่าวเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร นอกจากนี้ ความเชื่อเรื่องเพศ ยังเป็นเรื่องที่ไม่ควรเปิดเผย การเข้าถึงความรู้ และการทำความเข้าใจให้สามารถมีทักษะปฏิเสธ หรือทักษะการใช้ชีวิตที่เหมาะสม ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร นอกจากนี้ ข้อมูลอนามัยแม่และเด็ก ยังพบว่า มีหญิงวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า 20 ปี มารับบริการฝากครรภ์ที่หน่วยบริการ ตั้งแต่ปี 2556–2559โดยมีสัดส่วนใกล้เคียงกันตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา คือ ร้อยละ 10.64 , 12.50 , 13.95 , 6.82 และเพิ่มขึ้นในปี 2560 คือ 16.21 (เกณฑ์ฯไม่เกินร้อยละ 10) ตามลำดับ , อัตราการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงมีครรภ์ ร้อยละ 21.28 , 10.42 , 6.98 , 15.91 และลดลงในปี 2560 คือ 10.81 (เกณฑ์ฯไม่เกินร้อยละ 10)ทำให้เกิดภาวะซีดและภาวะโลหิตจาง เสี่ยงต่อการตกเลือดขณะคลอดและหลังคลอดของมารดา รวมถึงความสมบูรณ์แข็งแรงของทารกในครรภ์ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านปาเต๊ะเหนือ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับกลุ่มวัยดังกล่าวข้างต้น จึงจัดทำโครงการส่งเสริมทักษะชีวิตในเด็กวัยเรียน วัยรุ่น และหญิงตั้งครรภ์ ตามวิถีชุมชนบ้านปาเต๊ะ ปีงบประมาณ 2561 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มวัยดังกล่าวมีภูมิคุ้มกัน เกาะป้องกันภัย และทักษะชีวิต ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงต่อการปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองและครอบครัวได้ ผ่านรูปแบบและกระวนการต่างๆ ที่มีผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการสร้างพลังชุมชนให้เข้มแข็งมากขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะชีวิตในการป้องกันยาเสพติดและป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ผลการทดสอบความรู้ในกลุ่มเป้าหมายอยู่ในระดับปานกลางและดี มากกว่าร้อยละ 80 |
0.00 | |
2 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะชีวิตในการป้องกันยาเสพติดและป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 80 |
0.00 | |
3 | เพื่อกระตุ้นให้เกิดการร่วมกลุ่มแกนนำเยาวชนในชุมชน เกิดกลุ่มแกนนำเยาวชนในชุมชน อย่างน้อย 1 กลุ่มและสามารถต่อยอดการดำเนินงานด้านเยาวชนได้ |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 30,000.00 | 10 | 30,000.00 | 0.00 | |
14 ธ.ค. 60 | 1.คืนข้อมูลสุขภาพแก่ประชาชน และร่วมกันสำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำและเสนอโครงการ เตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | 0.00 | |
11 ม.ค. 61 | 2. ประชุมชี้แจง ผู้นำชุมชน/อสม./จิตอาสา/ทีมสุขภาพของหน่วยบริการ เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการและจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | 0.00 | |
5 - 9 มี.ค. 61 | 3. ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครกลุ่มเป้าหมายที่สนใจในการร่วมกิจกรรมแต่ละกิจกรรม และเชิญร่วมกิจกรรมตามแผนฯ | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | 0.00 | |
10 เม.ย. 61 | 4.1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การลด เลิก ละ ยาเสพติดสำหรับแกนนำเด็กวัยเรียน วัยรุ่น | 0 | 10,000.00 | ✔ | 10,000.00 | 0.00 | |
20 เม.ย. 61 | 4.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้“ค่ายวัยรุ่น 4.0”ทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร | 0 | 2,000.00 | ✔ | 2,000.00 | 0.00 | |
1 พ.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 | 7. ต่อยอดกิจกรรมสำหรับกลุ่มเป้าหมาย เช่น การทำสาธารณประโยชน์ต่อชุมชน , การศึกษาดูงานในกลุ่มวัยใสตำบลอื่นหรืออำเภออื่นๆ เช่น เทศบาลฉลุง , เทศบาลกำแพง | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | 0.00 | |
1 พ.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 | 8. กระตุ้นการจัดตั้งสภาเยาวชนบ้านปาเต๊ะและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | 0.00 | |
4 ก.ค. 61 | 5. กิจกรรมกีฬาต้านยาเสพติด | 0 | 18,000.00 | ✔ | 18,000.00 | 0.00 | |
6 - 10 ส.ค. 61 | 6. จัดประกวดเยาวชนต้นแบบในชุมชน | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | 0.00 | |
26 - 30 ก.ย. 61 | 9. ประเมินผลการดำเนินงานและรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยบริการ อบต. | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 30,000.00 | 10 | 30,000.00 | 0.00 |
- คืนข้อมูลสุขภาพแก่ประชาชน และร่วมกันสำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำและเสนอโครงการเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์
- ประชุมชี้แจง ผู้นำชุมชน/อสม./จิตอาสา/ทีมสุขภาพของหน่วยบริการ เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการและจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมาย
- ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครกลุ่มเป้าหมายที่สนใจในการร่วมกิจกรรมแต่ละกิจกรรม และเชิญร่วมกิจกรรมตามแผนฯ
- จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายโดยทีมแกนนำเครือข่ายชุมชน เช่น ครู , อสม. , ผู้นำศาสนา , แกนนำเยาวชนรุ่นที่ 1 ในชุมชน
- กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การลด เลิก ละ ยาเสพติดสำหรับแกนนำเด็กวัยเรียน วัยรุ่น
- กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้“ค่ายวัยรุ่น 4.0”ทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
- จัดกิจกรรมกีฬาต้านยาเสพติด
- จัดประกวดเยาวชนต้นแบบในชุมชน
- ต่อยอดกิจกรรมสำหรับกลุ่มเป้าหมาย เช่น การทำสาธารณประโยชน์ต่อชุมชน , การศึกษาดูงานในกลุ่มวัยใสตำบลอื่นหรืออำเภออื่นๆเช่นเทศบาลฉลุง , เทศบาลกำแพง
- กระตุ้นการจัดตั้งสภาเยาวชนบ้านปาเต๊ะและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
- ประเมินผลการดำเนินงานและรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยบริการ อบต.
- กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะชีวิตในการป้องกันยาเสพติดและป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
- กลุ่มเป้าหมาย มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะชีวิตในการป้องกันยาเสพติดและป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
- เกิดกลุ่มแกนนำเยาวชนในชุมชนที่สามารถต่อยอดกิจกรรมและมีสภาเยาวชนในปีถัดไป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2561 11:22 น.