โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรควัณโรค
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรควัณโรค |
รหัสโครงการ | ประเภท 1 / 006 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านศาลเจ้าโพรงไม้ |
วันที่อนุมัติ | 10 มกราคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 53,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านศาลเจ้าโพรงไม้ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลวังขนาย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 13.96,99.663place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มี.ค. 2561 | 30 ก.ย. 2561 | 53,800.00 | |||
รวมงบประมาณ | 53,800.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรควัณโรค | 20.00 | ||
2 | ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรควัณโรคได้รับคัดกรอง | 50.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากการวิเคราะห์สถานการณ์การเกิดโรคปีที่ผ่านมาของตำบลวังขนาย พบว่า การเกิดโรคที่สำคัญ หลาย ๆ โรคนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ดีของประชาชน เช่น โรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อได้แก่ โรค อุจาระร่วงเกิดขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโรคที่ต้องเฝ้าระวัง โดยมีอัตราป่วยต่อแสนประชากร264.49 ตามลำดับโรคที่เป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ ในฤดูที่มีการระบาด เช่น โรคไข้เลือดออก มีอัตราป่วยต่อแสนประชากร ตลอดจน ตำบลวังขนาย เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงการระบาดของโรคจากตำบลข้างเคียงได้แก่ โรควัณโรคดื้อยา (MDR-TB) พบว่าอัตราการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ได้เพียง 83 : แสนประชากร ยังน้อยกว่าเกณฑ์ของประเทศ (171 : แสนประชากร) ทำให้ผู้ป่วยรายใหม่ยังไม่ถูกค้นพบและเชื้อโรคแพร่กระจายไปในชุมชนได้อย่างรวดเร็วดังนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อที่จะลดปัญหาของการเกิดโรควัณโรคและภัยสุขภาพได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรควัณโรค ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรควัณโรคลดลง |
15.00 | |
2 | ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรควัณโรคได้รับคัดกรอง ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรควัณโรคได้รับคัดกรอง |
80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 54,800.00 | 2 | 47,500.00 | 7,300.00 | |
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 | กิจกรรมการจัดอบรมให้ความรู้เรื่อง การป้องกันและควบคุมโรควัณโรคในชุมชนให้แก่กลุ่มเสี่ยงผู้สัมผัสโรควัณโรค 100 คน | 0 | 15,500.00 | ✔ | 14,500.00 | 1,000.00 | |
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 | กิจกรรมออกตรวจคัดกรองประชากรกลุ่มเสี่ยงเชิงรุก (ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มแรงงานต่างด้าว กลุ่มผู้สัมผัสวัณโรค ) จากการตรวจสุขภาพปอด โดยการ X-RAY ปอด จากรถ X-RAY เคลื่อนที่เจ้าหน้าของรัฐ และ อสม. เดือนละ 2 ครั้งจำนวน 8 เดือน (16 ครั้งต | 0 | 33,000.00 | ✔ | 33,000.00 | 0.00 | |
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 | การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในชุมชน เพื่อการป้องกัน ควบคุมวัณโรค | 0 | 6,300.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 54,800.00 | 2 | 47,500.00 | 7,300.00 |
กลยุทธ์/กลวิธี
๑. พัฒนาองค์ความรู้ในการดูแล รักษาสุขภาพให้กับผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน
๒. คัดกรองประชากรกลุ่มเสี่ยงให้ครอบคลุม เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่
๓. พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีองค์ความรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรควัณโรคในชุมชน สามารถเผยแพร่และถ่ายทององค์ความรู้ในชุมชนในการเฝ้าระวังและควบคุมโรควัณโรคได้
๔. รณรงค์ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรควัณโรค
กิจกรรม
1. ประชุมกลุ่มงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องฯ วิเคราะห์ข้อมูลการเกิดโรควัณโรคในรอบปีที่ผ่านมา
2. เขียนโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรควัณโรค
3. เสนอโครงการฯ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการฯ
4. ดำเนินการตามโครงการฯ
5. จัดอบรมให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันและควบคุมโรควัณโรคแก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตพื้นที
6. สำรวจและคัดกรองอาการโรควัณโรคในประชากรกลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไปที่มีอาการน่าสงสัย เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ทุกเดือน
7. การจัดรณรงค์ประชาสัมพันธ์เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในชุมชน ในการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรควัณโรค
8. ประเมินผลการดำเนินงาน
- ผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนได้รับการดูแลจากชุมชนและมีพัฒนาการในการดูแล รักษาสุขภาพตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
- การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
- ชุมชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันวัณโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 4.อาสาสมัครสาธารณสุขในหมู่บ้านมีศักยภาพ มีองค์ความรู้ สามารถเป็นแกนนำในการดำเนินงาน ในการป้องกันและควบคุมโรค ตลอดจนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2561 13:22 น.