โครงการวัยใส วัยพร้อม ประจำปีงบประมาณ 2561
ชื่อโครงการ | โครงการวัยใส วัยพร้อม ประจำปีงบประมาณ 2561 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.บ้านบางมะรวด |
วันที่อนุมัติ | 18 มกราคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 เมษายน 2561 - 28 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2561 |
งบประมาณ | 27,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวรอกีเยาะ บาราเฮง |
พี่เลี้ยงโครงการ | คณะกรรมการสปสช. |
พื้นที่ดำเนินการ | รพ.สต.บ้านบางมะรวดหมู่ที่ 1ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.839,101.521place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 25 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 25 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายและแผนพัฒนายุทธศาสตร์ การพัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่2 (2560-2569) ว่าด้วยการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ ตามโครงการสาวไทยแก้มแดง มีลูกเพื่อชาติไทย การส่งเสริมการเกิดและเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ การเกิดทุกรายมีความพร้อม มีการวางแผน มีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ส่งเสริมลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ได้รับการดูแลหลังคลอดที่ดี และเด็กได้รับการเลี้ยงดูในสิ่งแวดล้อมที่เอื่อต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย จากข้อมูลปี 2558 ประเทศไทยมีอัตรามารดาตาย อยู่ที่ร้อยละ20ต่อการเกิดมีชีพแสนคน มีสาเหตุจากการตกเลือดหลังคลอด ซีดจากการขาดธาตุเหล็กและพบว่าทารกได้รับการลี้ยงดูด้วยนมแม่อย่างเดียว6เดือนเพียงร้อยละ23.9 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีได้มีนโยบาย ลดแม่ตายโดยเน้นระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและหลังคลอด การให้บริการฝากครรภ์คุณภาพ เพื่อนำไปสู่การคลอดที่ปลอดภัย ทารกแรกเกิดมีสุขภาพแข็งแรง จากข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางมะรวดในปีงบประมาณ2560 พบภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 15.94 ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500กรัม ร้อยละ 8.33และทารกได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว6เดือน ร้อยละ 23.10 อีกทั้งปัญหาการตั้งครรภ์ในกลุ่มวัยรุ่นของ รพสต.บ้านบางมะรวด 15-19 ปี ในระดับอำเภอมีอัตราเพิ่มขึ้น ในปี2558 คิดเป็น 29.19( ไม่เกิน50ต่อประชากรหญิงอายุ15-19 ปี ) ในปี 2560 หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นคิดเป็น 1.14 วัยรุ่นหญิงที่มีบุตรก่อนวัยอันควรนั้นมีอุปสรรคอย่างมากในการศึกษาต่อปัญหาด้านสุขภาพของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์นั้นเป็นผลมาจากการที่วัยรุ่นเหล่านี้ทำแท้งด้วยวิธีการที่ไม่ปลอดภัยและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตการคลอด การติดเชื้อHIV ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ป้องกันหรือ ปัญหาดังกล่าว ด้วยเหตุผลดังกล่าวทาง รพ.สตบ้านบางมะรวด ถือเป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่โดยตรงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่มวัยจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | วัตถุประสงค์
. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้และตระหนักในการดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์
2. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ได้รับการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ
3. เพื่อให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในกลุ่มอายุ15-19 ปี |
1.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
30 มี.ค. 61 | 1. ประชาสัมพันธ์โครงการ 2. จัดทำฐานข้อมูลการตั้งครรภ์และคลอดในกลุ่มหญิงอายุ 15-19 ปีและกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ทั่วไป 3. จัดอบรมเชิงปฎิบัติการให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ 4. จัดตั้งคลินิกวัยรุ่นใน รพ.สต 5. ติดตามประเมินผลทุกเดือน 6. สรุปผลการ | 50 | 27,600.00 | ✔ | 27,600.00 | |
รวม | 50 | 27,600.00 | 1 | 27,600.00 |
วิธีดำเนินการ 1. ประชาสัมพันธ์โครงการ 2. จัดทำฐานข้อมูลการตั้งครรภ์และคลอดในกลุ่มหญิงอายุ 15-19 ปีและกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ทั่วไป 3.จัดอบรมเชิงปฎิบัติการให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ 4.จัดตั้งคลินิกวัยรุ่นใน รพ.สต 5. ติดตามประเมินผลทุกเดือน 6. สรุปผลการดำเนินโครงการ
- หญิงตั้งครรภ์ทุกรายไม่มีภาวะโลหิตจาง
- ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักมากกว่า2500 กรัมขึ้นไป
- ทารกทุกรายได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
- ไม่มีมารดาและทารกตาย
- อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น( ไม่เกิน50ต่อประชากรหญิงอายุ15-19 ปี )
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2561 14:44 น.