กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่


“ รณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก ”

ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค

ชื่อโครงการ รณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก

ที่อยู่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 60-L7258-1-05 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"รณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
รณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก



บทคัดย่อ

โครงการ " รณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 60-L7258-1-05 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 1,122,385.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยมานาน และยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศเขตร้อนชื้น พบมีความรุนแรงมากที่สุดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมีการระบาด ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ระยะแรกๆ พบมีอัตราตายสูงมาก ปัจจุบันอัตราตายลดลงมาก เนื่องจากการป้องกันและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ การรักษาพยาบาลที่มีการพัฒนามาตรฐานให้เหมาะสมกับพัฒนาการของโรค และประชาชนมีความรู้ในการดูแลตัวเองมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามไข้เลือดออกยังเป็นโรคที่อันตรายเนื่องจากพบการระบาดและมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตทุกปี โดยปกติแล้วโรคไข้เลือดออกมักจะระบาดในฤดูฝน คือประมาณเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน หรือเดือนตุลาคมของทุกปี แต่ทั้งนี้สภาพภูมิอากาศในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน จึงทำให้ช่วงเวลาที่โรคไข้เลือดออกระบาดมีความแตกต่างกัน สำหรับจังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยไข้เลือดออกตลอดทั้งปี พบมากในช่วงเดือนเมษายน และเดือนสิงหาคม สถานการณ์ไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ข้อมูลย้อนหลัง ๔ ปี พบว่า ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน ๑,๑๖๕ ราย เสียชีวิตจำนวน ๒ ราย ข้อมูล ๑ มกราคม ๒๕๕๗ ถึง ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ พบผู้ป่วย ๒๕๐ คน ไม่มีผู้เสียชีวิต ข้อมูล ๑ มกราคม ๒๕๕๘ ถึง ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ พบผู้ป่วยจำนวน ๒๐๑ คน ไม่มีผู้เสียชีวิต ข้อมูล ๑ มกราคม ๒๕๕๙ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙พบผู้ป่วย ๑๘๐ คน มีผู้เสียชีวิต ๑ ราย สถิติผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลงจากปี พ.ศ. ๒๕๕๗ และ ๒๕๕๘ แต่มีผู้เสียชีวิต จากข้อมูลดังกล่าว สรุปได้ว่าไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ต้องมีการดำเนินงานแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความต่อเนื่อง ปัญหาพื้นฐาน และเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดปัญหาการระบาดของโรค เกิดจากสภาวะสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องควบคุม รวมทั้งปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอย แหล่งเพาะพันธุ์โรค การเฝ้าระวัง สำรวจ กำจัดลูกน้ำอย่างเนื่อง ต้องมีการบูรณาการ การทำงานเชิงรุกจากทุกภาคส่วนในชุมชนหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานร่วมกัน อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาไข้เลือดออกแบบยั่งยืน และมีความเหมาะสมตามบริบทของชุมชน ประชาชนที่อยู่ในชุมชนจะต้องร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ และร่วมติดตามประเมินผล ท้ายสุดชุมชนจะเกิดความภาคภูมิใจเมื่อการดูแลเรื่องไข้เลือดออกของชุมชนประสบความสำเร็จ และเกิดนวตกรรมของชุมชนที่เป็นรูปธรรมในการแก้ปัญหาไข้เลือดออก การดูแลสุขภาพของประชาชนให้ปลอดจากโรคเป็นหน้าที่รับผิดชอบของเทศบาลนครหาดใหญ่พร้อม ๆ กับการดูแลสุขภาพของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีกำจัดยุงให้ปลอดภัย จากการใช้สารเคมีเป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกันที่จะต้องปฏิบัติควบคู่กันเพื่อให้การดำเนินงานฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงมีความปลอดภัยต่อประชาชน และผู้ปฏิบัติงาน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัด หรือควบคุมแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งทางกายภาพ ทางชีวภาพ และทางเคมีภาพ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,000
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    ๑.อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกลดลงเปรียบเทียบก่อน และหลังดำเนินโครงการ ๒.เกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน มีการพึ่งตนเองเกิดเป็นชุมชนจัดการสุขภาพ ๓.ประชาชนเกิดความตระหนัก และสร้างความร่วมมือในชุมชนตลอดจนมีความรู้
    และพฤติกรรมในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคไข้เลือดออก ๔.เกิดนวตกรรมของชุมชนในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคไข้เลือดออก ๕.เกิดเครือข่ายป้องกันโรคไข้เลือดออก ๖.สร้างความรับผิดชอบและตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน ๗.เกิดชุมชนต้นแบบในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นต่อไป


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. จัดซื้อเคมีภัณฑ์ สำหรับใช้ในช่วงการระบาดชองโรคไข้เลือดออก และการจัดกิจกรรมรณรงค์กำจัดยุงลาย

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกลดลงเปรียบเทียบก่อน และหลังดำเนินโครงการ

     

    0 0

    2. จัดซื้อวัสดุเชื้อเพลิงสำหรับผสมเคมีภัณฑ์ในการพ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวเต็มวัยและเติมเครื่องพ่นยุง

    วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกลดลงเปรียบเทียบก่อน และหลังดำเนินโครงการ

     

    0 0

    3. จัดกิจกรรมชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย

    วันที่ 3 พฤษภาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน จะเป็นชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย

     

    0 0

    4. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์โรคไข้เลือดออก

    วันที่ 1 สิงหาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ในการจัดกิจกรรม สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหา ร่วมป้องกัน และควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

     

    0 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ๑. รายละเอียดผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอหาดใหญ่ ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ พบว่า ข้อมูล มกราคม ๒๕๕๙ ถึง ธันวาคม ๒๕๕๙ พบผู้ป่วย ๖๑๗ ราย มีผู้เสียชีวิต ๒ ราย และเดือนมกราคม ๒๕๖๐ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐ พบผู้ป่วย ๓๓๓ ราย ซึ่งลดลงจากปี ๒๕๕๙ แต่ยังคงพบผู้เสียชีวิต ๑ ราย ซึ่งในปลายปี พ.ศ.๒๕๕๙ ถึงต้นปี พ.ศ. ๒๕๖๐ มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างรุนแรง ทั้งจังหวัดสงขลา จะส่งผลให้สถานการณ์ของโรคในภาพรวมระดับประเทศ จังหวัดสงขลาอยู่ในลำดับที่ ๑ ต่อเนื่องติดกันหลายเดือน สถานการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การปรับแนวทางการปฏิบัติงานในการควบคุมป้องกันโรค มีความเข้มงวดมากขึ้น และมีการเปิด War Room ทั้งในระดับอำเภอและจังหวัด เพื่อติดตามสถานการณ์ และแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด
    ๒. ดำเนินการพ่นสารเคมีกำจัดยุง ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๕๙ ถึงกันยายน ๒๕๖๐ จำนวน ๓,๐๓๑ ครั้ง ตามคำร้องจากสายด่วนสองแสน จำนวน ๖๐๓ ครั้ง แจ้งเอง ๖๖๗ ครั้ง ดำเนินการตามแผนดำเนินงาน ๑,๐๖๐ ครั้ง พ่นสารเคมีกำจัดยุงบ้านที่มีผู้ป่วย เป็นโรคไข้เลือดออก จำนวน ๗๐๑ ครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสถิติผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลง ๓.  ดำเนินงานการรณรงค์เชิงรุกในชุมชนที่มีสถิติ ผู้ป่วยไข้เลือดออกสูง ลำดับที่ ๑ ถึง ๑๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ผลการดำเนินงานพบว่า ทุกชุมชนมีอัตราการเกิดของโรคไข้เลือดออกลดลง เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๙ ทุกชุมชน และไม่พบผู้เสียชีวิต

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัด หรือควบคุมแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งทางกายภาพ ทางชีวภาพ และทางเคมีภาพ
    ตัวชี้วัด :

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1000
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,000
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัด หรือควบคุมแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งทางกายภาพ ทางชีวภาพ และทางเคมีภาพ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    รณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 60-L7258-1-05

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด