กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรียุคใหม่ใส่ใจมะเร็ง ปี 2561
รหัสโครงการ 61L2493110
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปอ
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 66,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยาตี .. มะเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.33,101.804place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (66,400.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ ๒ของโรคมะเร็งทั้งหมดรองจากมะเร็งเต้านมของสตรีไทยปัจจุบันในประเทศไทยแต่ละปีจะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ๑๐,๐๐๐รายและเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก๕,๐๐๐รายอัตราการเสียชีวิตของสตรีไทยเพิ่มขึ้นจาก ๗คน/วันเป็น๑๔คน/วันสถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและครอบครัวตามมาอย่างมากมายแต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกร้อยละ ๓๐ – ๔๐ สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงทีดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค , อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง จากผลการดำเนินงานปี ๒๕๖๐ที่ผ่านมาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปอ ได้ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ทั้งหมด จำนวน ๑๘ รายในจำนวนนี้มีผู้รับบริการรายเก่าจำนวน ๓ รายผู้รับบริการรายใหม่จำนวน ๑๕ รายมีผลการตรวจปกติจำนวน ๑๘ รายคิดเป็นร้อยละ ๒.๓๘ (เกณฑ์ร้อยละ ๒๐) และมีผลงานสะสม (นับตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐) เท่ากับ ๑๑.๒๖ ซึ่งจะเห็นได้ว่าผลงานไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด
จากปัญหางานบริการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังดังกล่าวข้างต้น อาจส่งผลทำให้สตรีอายุ ๓๐–๗๐ ปี มีความเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพอนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปอ จึงได้จัดทำโครงการ ”สตรียุคใหม่ ใส่ใจมะเร็ง” ขึ้นเพื่อติดตามการตรวจเต้านมอย่างต่อเนื่องของผู้รับบริการและเน้นการตรวจPapSmear เชิงรุก เพื่อค้นหาเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มแรกรวมถึงตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นเพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ซึ่งจะเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนลุกลามและสร้างเสริมสุขภาพคนในชุมชนให้ห่างไกลโรคด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อค้นหาความผิดปกติของเซลล์มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก

๑. อัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในผู้ป่วยรายใหม่ลดลงจากปี ๒๕๖๐

0.00
2 ๒. เพื่อให้สตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม

๒.  สตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ ๘๐

0.00
3 ๓. เพื่อให้สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

3.สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้าปากมดลูก ร้อยละ ๒๐

0.00
4 ๔. เพื่อให้สตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและการรักษาที่ถูกต้อง
  1. สตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและการรักษาที่ถูกต้อง ร้อยละ ๑๐๐
0.00
5 ๕. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายทุกคน ตระหนักและให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปีและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกๆ ๕ ปี

๕.  อัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในผู้ป่วยรายใหม่และอัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกลดลงจากปี ๒๕๖๐

0.00
6 ๕. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายทุกคน ตระหนักและให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปีและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกๆ ๕ ปี

๕.  อัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในผู้ป่วยรายใหม่และอัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกลดลงจากปี ๒๕๖๐

0.00
7 ๖. เพื่อให้นโยบายด้านการสาธารณสุข บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนพัฒนาที่กำหนดไว้
  1. สตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ ๘๐ และสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกสะสม ๕ ปี (ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ - ๒๕๖๒) ร้อยละ ๑๐๐
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 48,096.00 0 0.00
1 พ.ค. 61 ๑.ประชุมชี้แจง 0 96.00 -
1 พ.ค. 61 - 29 มิ.ย. 61 ถ่ายเอกสารและสิ่งพิมพ์ 0 0.00 -
2 พ.ค. 61 ประชุมเชิงปฏิบัติการ 0 9,600.00 -
3 - 4 พ.ค. 61 อบรมเชิงปฏิบัติการ 0 9,600.00 -
4 พ.ค. 61 ประชุมเชิงปฏิบัติการณ์ 0 28,800.00 -
7 พ.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 ติดตาม 0 0.00 -

ธีดำเนินการ ๑. ขั้นเตรียมการ ๑.๑ประชุมหารือคณะทำงานทีมสุขภาพ เพื่อค้นหาและเลือกวิธีการใหม่ๆในการชักชวนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และสำรวจกลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่จริงในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
๑.๒จัดทำข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย/วางแผนการดำเนินงาน ๑.๓แบ่งพื้นที่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่แก่ทีมสุขภาพและ อสม. เพื่อติดตาม แนะนำและนำส่งกลุ่มเป้าหมายเข้าตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ๑.๔เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ ๑.๕แจ้งแผนการดำเนินการรณรงค์แก่ทีมสุขภาพและ อสม. ๑.๖ประชาสัมพันธ์โครงการโดยใช้ป้ายประชาสัมพันธ์และจัดทำเอกสารความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก และกำหนดวันตรวจมะเร็งปากมดลูกในสถานบริการส่งแก่แกนนำสุขภาพทุกคนเพื่อแจ้งแก่กลุ่มเป้าหมายทราบต่อไป ๒. ขั้นดำเนินการ ๒.๑จัดประชุมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ระหว่างแกนนำสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย และผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งปากมดลูกที่กำลังได้รับการรักษาอยู่ในขณะนี้ ๒.๒จัดอบรมเชิงปฏิบัติการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองและให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก พร้อมทั้งกำหนดวันตรวจในสถานบริการ ในวันจันทร์และวันศุกร์ ช่วงเช้า ๒.๒.๑ แกนนำงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ จำนวน ๖ คน ๒.๒.๒ อสม. จำนวน ๙๐ คน ๒.๒.๓ สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐-๗๐ ปี จำนวน ๑๙๒ คน ๒.๓ให้บริการเชิงรุกแก่กลุ่มเป้าหมายที่ไม่สามารถเดินทางเข้ารับการตรวจในสถานบริการที่กำหนดในครัวเรือน ๒.๔ส่งแผ่น Slide ไปตรวจและอ่านผล ที่โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ๒.๕รับผลการตรวจจากโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ๒.๖ส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ
๒.๗ติดตามผลการรักษาภายหลังการส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ
๒.๘บันทึกผลการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม สำหรับสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐-๗๐ ปี และผลการตรวจ PapSmear สำหรับสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐-๖๐ ปี ใน Program JHCIS ๒.๙เยี่ยมบ้านสร้างสัมพันธภาพ เยี่ยมบ้านด้วยหัวใจหมออนามัย
๒.๑๐ ประเมินผลการดำเนินโครงการทุกเดือนแก่ทีมสุขภาพและ อสม. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาของโครงการและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
๒.๑๐.๑ระหว่างดำเนินงาน ๒.๑๐.๒เมื่อสิ้นสุดโครงการฯ ๒.๑๑ การสรุปผลและประเมินโครงการเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมร้อยละ ๙๕ และมะเร็งปากมดลูกร้อยละ ๒๐ ๒. สตรีที่ตรวจพบโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างถูกวิธี ๓. สตรีกลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความตระหนักและให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปีและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกๆ ๕ ปี
๔. อัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกลดลงจากปี ๒๕๖๐ ๕. อัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในผู้ป่วยรายใหม่ลดลงจากปี ๒๕๖๐

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2561 23:07 น.