กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2561
รหัสโครงการ 61L2493112
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บางปอ
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 104,675.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยาตี .. มะเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.33,101.804place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (104,675.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการจัดทำโครงการ) จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออก รพ.สต.บางปอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส5 หมู่บ้าน พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี 2560จำนวน 5 ราย อัตราป่วย89.02 ต่อแสนประชากร กระจายใน 5 หมู่บ้าน ซึ่งเกินจากอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกที่กำหนดไว้ไม่เกิน50 ต่อแสนประชากร
การป้องกันและการควบคุมโรคไข้เลือดออกเป็นมาตรการที่ต้องดำเนินการไปพร้อมๆกับการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องด้วยความรู้และเข้าใจในหลักการป้องกันการควบคุมโรคที่ถูกต้อง ด้วยศักยภาพและตามบริบทของชุมชนจึงจะสามารถป้องกันและควบคุมการระบาดในพื้นที่อื่นๆได้การสร้างเครือข่ายทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ( SRRT ) ในตำบลให้เข้มแข็ง สามารถทำงานประสานเชื่อมโยงกันโดยมีบทบาทหลักในการเฝ้าระวังเหตุการณ์ความผิดปกติของโรคภัยไข้เจ็บในชุมชนด้วยการนำกิจกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคเบื้องต้นมาเป็นหลักในการควบคุมโรค การควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยวิธีการใช้เครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายตัวแก่ในบ้านหลังจากเกิดโรคแล้วนั้น เป็นการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอีกหนึ่งมาตรการที่จำเป็นต้องดำเนินการในทันทีที่มีการเกิดโรค ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานและร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออก ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนิน งานกิจกรรมตามโครงการฯในทุกๆขั้นตอนเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ทีมสุขภาพและชุมชนตำบลบางปอตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีประสิทธิภาพ จึงได้ร่วมจัดทำโครงการร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออกตำบลบางปอ ปี2561 ขึ้น เพื่อส่งเสริมความรู้และเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานป้องกันแลการะควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกแก่ทีมสุขภาพและผู้เข้าร่วมรณรงค์ร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออกตำบลบางปอที่มีประสิทธิภาพต่อไป วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ประชุมชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการแก่ทีมสุขภาพ รพ.สต.บางปอ (จนท.สส./อสม.)แกนนำครอบครัว 2. อบรมเชิงปฎิบัติการส่งเสริมความรู้หลักเบื้องต้นในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่มีประสิทธิภาพแก่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว 3. สำรวจลูกน้ำยุงลาย / ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทุกวันศุกร์ โดยทีมสุขภาพทุกหมู่บ้าน ร่วมสรุปค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายทุกวันที่ 15 ของเดือน
4. รณรงค์บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย เดือนละครั้ง/หมู่บ้าน 5. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ติดตามผลการดำเนินงานทีม SRRT ทีมสุขภาพ2ครั้ง/ปี 6. เฝ้าระวังลูกน้ำยุงลายและพ่นละอองฝอยในโรงเรียน 2ครั้ง 7. พ่นละอองฝอยในบ้านที่พบผู้ป่วยและรอบบ้านผู้ป่วยรัศมี200 เมตร (2 ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์ )/แจกทรายอะเบท/ไบกอนสเปรย์ฉีดยุงหลังพ่นหมอกควันในบ้าน/โลชั่นทากันยุงสำหรับหญิงตั้งครรภ์ 8. พ่นละอองฝอยในพื้นที่เกิดโรคซ้ำซาก (2ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์ )3หมู่บ้าน หมู่ 1 , 2 , 7 9. ร่วมสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อลดอัตราป่วย/ตายด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก  ลดลงจากปี 2560  ร้อยละ 5

200.00
2 2 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจหลักเบื้องต้นในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่มีประสิทธิภาพแก่อาสาสมัครสาธารณสุข

ไม่มีผู้ป่วยในระยะเวลา 15 วันเกิดขึ้นหลังจากการควบคุมโรคเมื่อพบผู้ป่วยรายแรก

400.00
3 3 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคร้อยละ 80

300.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 63,266.00 0 0.00
6 เม.ย. 61 รณรงค์ 0 41.00 -
1 พ.ค. 61 ประชุม 0 9,600.00 -
2 พ.ค. 61 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ติดตาม 0 19,200.00 -
3 - 10 พ.ค. 61 การจัดซื้อ 0 34,425.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ประชุมชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการแก่ทีมสุขภาพ รพ.สต.บางปอ (จนท.สส./อสม.)แกนนำครอบครัว 2. อบรมเชิงปฎิบัติการส่งเสริมความรู้หลักเบื้องต้นในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่มีประสิทธิภาพแก่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว 3. สำรวจลูกน้ำยุงลาย / ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทุกวันศุกร์ โดยทีมสุขภาพทุกหมู่บ้าน ร่วมสรุปค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายทุกวันที่ 15 ของเดือน
4. รณรงค์บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย เดือนละครั้ง/หมู่บ้าน 5. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ติดตามผลการดำเนินงานทีม SRRT ทีมสุขภาพ2ครั้ง/ปี 6. เฝ้าระวังลูกน้ำยุงลายและพ่นละอองฝอยในโรงเรียน 2ครั้ง 7. พ่นละอองฝอยในบ้านที่พบผู้ป่วยและรอบบ้านผู้ป่วยรัศมี200 เมตร (2 ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์ )/แจกทรายอะเบท/ไบกอนสเปรย์ฉีดยุงหลังพ่นหมอกควันในบ้าน/โลชั่นทากันยุงสำหรับหญิงตั้งครรภ์ 8. พ่นละอองฝอยในพื้นที่เกิดโรคซ้ำซาก (2ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์ )3หมู่บ้าน หมู่ 1 , 2 , 7 9. ร่วมสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก5 หมู่บ้านลดลงจากปี 2560ร้อยละ 5
  2. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้หลักเบื้องต้นในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและสามารถนำมาใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคในบริบทชุมชนที่รับผิดชอบได้ในระดับหนึ่ง
  3. ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกทุกครั้ง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2561 23:17 น.