กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย ปี 2561
รหัสโครงการ 61L2493113
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บางปอ
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 119,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยาตี .. มะเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.33,101.804place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะเด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นอนาคตของชาติเพราะเด็กในวัยนี้เป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งด้านร่างกายจิตใจและสติปัญญา ประกอบกับการพัฒนาในด้านต่างๆของเด็กวัยนี้นั้นมีผลต่อการกำหนดลักษณะพฤติกรรมและความสามารถในการปรับตัวต่อสังคมสิ่งแวดล้อมจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กวัยนี้ต้องมีภาวะโภชนาการที่ดีไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ได้กำหนดเป้าหมายเด็ก แรกเกิด – 72 เดือนต้องมีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐานอายุตามน้ำหนัก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90จากผลการดำเนินงานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กแรกเกิด-72 เดือน ปีงบประมาณ 2560 พบว่าเด็กแรกเกิด-72 เดือนมีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์ร้อยละ 76.67เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 8.92เนื่องจากผู้ปกครองมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง ขาดความเข้าใจในเรื่องของโภชนาการ ไม่มีเวลาดูแลเรื่องอาหารลูกเพราะต้องทำงานนอกบ้าน เด็กอยู่กับปู่ ย่า ตา ยายมากกว่าบิดา มารดาแต่การเฝ้าระวังและแก้ไขภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด - 72เดือนจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กเป็นสำคัญ พร้อมๆกับการส่งเสริมความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ รวมถึงการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องโดยทีมสุขภาพ ทีมสุขภาพตำบลบางปอตระหนักและเห็นความสำคัญที่จะต้องมีการเฝ้าระวังและแก้ไขภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัยจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยขึ้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญาของเด็กที่จะเติบโตเป็นอนาคตของชาติอย่างมีคุณภาพและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กแรกเกิด – 72 เดือน

เด็กแรกเกิด – 72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการร้อยละ 90

0.00
2 2. เพื่อติดตามแก้ไขภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และค่อนข้างน้อย

เด็กแรกเกิด-72 เดือน  มีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์น้ำหนักต่ออายุร้อยละ 90 เด็กแรกเกิด-72 เดือน  มีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์ น้ำหนักต่อส่วนสูง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

0.00
3 3 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 72 เดือน

อัตราเด็กแรกเกิด - 72 เดือน มีพัฒนาการสมวัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 119,300.00 0 0.00
15 พ.ค. 61 .ประชุม 0 27,200.00 -
21 - 24 พ.ค. 61 การรณรงค์ 0 92,100.00 -
  1. ประชุมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการและชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการแก่ทีมสุขภาพสุข
  2. จัดทำข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย/วางแผนการดำเนินงาน
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการ/นัดหมายวันเวลาลงพื้นที่
  4. รณรงค์ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง/แปลผล/ประเมินพัฒนาการ/สาธิตอาหารและเลี้ยงอาหาร
  5. แปลผลแจ้งแก่ผู้ปกครองทราบ
  6. จ่ายยาวิตามินเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กอายุ 6เดือนขึ้นไปที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
  7. ตรวจหาความเข้มข้นของเลือด
  8. ติดตามชั่งน้ำหนักเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์เดือนละ 1 ครั้งติดตามภาวะโภชนาการทุก 3 เดือน ในเด็กที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์
  9. ติดตามเด็กทีมีภาวะโลหิตจาง/ติดตามการกินยาเสริมธาตุเหล็ก
  10. ติดตามตรวจอุจจาระในเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
  11. เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์
  12. ประกวดหนูน้อยสุขภาพดี จำนวน 2 ประเภท ประเภทที่ 1 หนูน้อยนมแม่
    ช่วงอายุ 18 – 30เดือน และประเภทที่ 2 หนูน้อยสุขภาพดี ช่วงอายุ 31 – 48เดือน
  13. ประกวดเมนูอาหารเด็กปฐมวัย
  14. สรุปวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้/ร่วมหาแนวทางการเฝ้าระวังและแก้ไขภาวะทุพโภชนาการกับผู้ปกครอง (เด็กน้ำหนักผิดปกติทั้งน้อยกว่าเกณฑ์/ค่อนข้างน้อย/มากเกินเกณฑ์)และอาสาสมัครโภชนาการติดตามความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิดถึง 72 เดือน
  15. การประเมินผลการดำเนินกิจกรรม 15.1 ระหว่างดำเนินงาน
    15.2 เมื่อสิ้นสุดโครงการฯ
    1. การสรุปผลโครงการ สนับสนุนการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ 1.ส่งเสริมความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2.ประเมินพัฒนาการร่วมกับผู้ปกครอง 3.ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ร่วมหาแนวทางการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการในผู้ปกครองเด็กและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4.ติดตามศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพปีละ 2 ครั้ง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 ศูนย์ 5.ประเมินศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กแรกเกิด – 72 เดือน ทุกคนได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและประเมินพัฒนาการ
  2. เด็กแรกเกิด – 72 เดือนที่มีน้ำหนักค่อนข้างน้อย/น้อยกว่าเกณฑ์/มากเกินเกณฑ์ ได้รับการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง
  3. ผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลบุตรทุกคน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2561 23:24 น.