กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมสุขภาพอนามัยมารดาและทารก รพ.สต.บางปอ ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61L2493114
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปอ
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 115,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยาตี .. มะเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.33,101.804place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่การปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ปัจจุบัน ข้อมูลอนามัยและเด็ก ตำบลบางปอ ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ การมีบุตรก่อนวัยอันควร หญิงตั้งครรภ์มารับบริการการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า ๑๒ สัปดาห์ ทารกแรกเกิดที่คลอดครบกำหนดและคลอดในสถานพยาบาลมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม การคลอดที่บ้านกับผดุงครรภ์โบราณ และการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย ๖ เดือน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงสูงต่อการทำให้เกิดปัญหาการป่วยและการตายของมารดาจากการตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอด รวมถึงภาวะสุขภาพของทารกแรกเกิดได้ จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปอในปีที่ผ่านมา ปรากฏว่า ผลการดำเนินงานส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำถึงพอใช้เมื่อเทียบกับเกณฑ์ตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้ เช่น อัตราหญิงตั้งครรภ์มารับบริการการฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์น้อยกว่า ๑๒ สัปดาห์ ร้อยละ ๘๑.๒๕ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๘๐) อัตราการคลอดบุตรในมารดาที่มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีสูงกว่าเกณฑ์ คือ ร้อยละ ๑๕.๐๙ (เกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ ๑๐) อัตราทารกแรกเกิดที่คลอดครบกำหนดและคลอดในสถานพยาบาลมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ร้อยละ ๕.๖๖ (เกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ ๗) อัตราทารกที่กินนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน ร้อยละ ๕๕.๑๗ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๕๐) ซึ่งจะเห็นได้ว่าผลงานบางตัวไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดและอีกหลายตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จากปัญหางานอนามัยแม่และเด็กดังกล่าวข้างต้น อาจส่งผลทำให้มารดาและบุตรมีความเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพอนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปอ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำงานอนามัยแม่และเด็กให้มีความรู้ความสามารถในการให้คำแนะนำแก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด ให้มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

๑.ทีมสุขภาพและแกนนำงานอนามัยแม่และเด็กได้รับการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานอนามัยแม่และเด็กอย่างน้อย ๓ เดือน/ครั้ง

0.00
2 ๒.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์ สามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์และระยะหลังคลอดได้

๒.หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ได้รับบริการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ มากกว่าร้อยละ ๖๐

0.00
3 ๓.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ตามนโยบายลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย อัตรามารดาตายลดลง

๓. อัตรามารดาตายน้อยกว่า ๑๕ ต่อแสนการเกิดมีชีพหรือเท่ากับ ๐

0.00
4 ๔. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์ระยะคลอด และระยะหลังคลอดอย่างมีคุณภาพ

๔. หญิงตั้งครรภ์ ได้รับบริการฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน มากกว่าร้อยละ ๗๐ หญิงตั้งครรภ์เข้ารับบริการคลอดในโรงพยาบาล มากกว่าร้อยละ ๙๗ และหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะหลังคลอดครบ ๓ ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน มากกว่าร้อยละ ๖๕

0.00
5 ๕. เพื่อลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์

๕. อัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์น้อยกว่าร้อยละ ๑๐

0.00
6 ๖. เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น อายุ ๑๕ – ๑๙ ปี และลดอัตราการคลอดบุตรในมารดาที่มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี


๖. อัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น อายุ ๑๕ – ๑๙ ปี และลดอัตราการคลอดบุตรในมารดาที่มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี น้อยกว่าร้อยละ ๑๐

0.00
7 ๗. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย ๖ เดือน

๗. อัตราทารกที่กินนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน มากกว่าร้อยละ ๕๐

0.00
8 ๘. เพื่อลดอัตราทารกแรกเกิดที่คลอดครบกำหนดและคลอดในสถานพยาบาลมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม

๘. อัตราทารกแรกเกิดที่คลอดครบกำหนดและคลอดในสถานพยาบาลมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม น้อยกว่าร้อยละ ๗

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 115,700.00 2 30,100.00
1 มิ.ย. 61 ประชุมชี้แจง 0 19,200.00 4,500.00
1 มิ.ย. 61 ถ่ายเอกสารและสิ่งพิมพ์ 0 4,000.00 -
4 มิ.ย. 61 อบรม 0 92,500.00 25,600.00

ธีดำเนินการ ๑. ประชุมปรึกษาหารือคณะทำงานทีมสุขภาพ แกนนำงานอนามัยแม่และเด็ก รพ.สต.บางปอ เพื่อสอบถามความคิดเห็น ค้นหาปัญหาและวิเคราะห์สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บางปอ และหาแนวทางในการดำเนินงานร่วมกัน ๒. จัดทำข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย/วางแผนการดำเนินงาน ๓. แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินโครงการ ๔. แกนนำงานอนามัยแม่และเด็ก จัดทำมาตรฐานการดูแลในขณะตั้งครรภ์ คลอด หลังคลอด เพื่อพัฒนาตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก ๕. ประชุมชี้แจงทีมสุขภาพ และแกนนำงานอนามัยและเด็ก รับทราบหลักการและแนวทางการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการทำงาน ๖. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ ๗. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทราบ ๘. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่แกนนำอนามัยแม่และเด็ก เพื่อพัฒนาศักยภาพ ๙. กำหนดให้แกนนำอนามัยแม่และเด็ก สำรวจ ค้นหา และติดตามหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ให้มารับบริการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ ๑๐. จัดกิจกรรมอาหารที่มีประโยชน์ต่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด และหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่างๆ ๑๑. ติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่างๆโดยทีมสุขภาพ ๑๒. จัดประชุมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย ในรูปแบบของ โรงเรียนพ่อแม่ ๑ (หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ก่อน ๒๘ สัปดาห์) และ โรงเรียนพ่อแม่ ๒ (หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ ๓๒ สัปดาห์ขึ้นไป) ๑๒.๑หญิงตั้งครรภ์จำนวน ๘๐ คน ๑๒.๒สามีหรือผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์จำนวน ๘๐ คน ๑๓. อบรมเชิงปฏิบัติการและเสวนาร่วมกัน ได้แก่ ทีมสุขภาพ แกนนำงานอนามัยแม่และเด็ก อสม. หญิงหลังคลอดที่ไม่ซีด หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางและสามี เพื่อค้นหาปัญหาและวิเคราะห์หาสาเหตุ พร้อมทั้งหาแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกัน ๑๓.๑ แกนนำงานอนามัยแม่และเด็ก จำนวน ๖ คน ๑๓.๒ อสม. จำนวน ๙๐ คน ๑๓.๓ หญิงหลังคลอดที่ไม่ซีด จำนวน ๕ คน ๑๓.๔ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง จำนวน ๕ คน ๑๓.๕ สามีหรือผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง จำนวน ๕ คน ๑๔. ทีมสุขภาพและแกนนำอนามัยแม่และเด็ก ออกติดตามเยี่ยมบ้านดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์จนถึงระยะคลอดและหลังคลอด เพื่อประเมิน และให้ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กทุกเดือน ๑๕. ทีมสุขภาพและแกนนำอนามัยแม่และเด็ก ติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่ขาดการฝากครรภ์ตามนัดทุกเดือน ๑๖. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เด็กวัยเรียนและเยาวชนเกี่ยวกับเพศศึกษา ในประเด็นเรื่อง “วัยเรียน วัยใส รักอย่างไรไม่ให้เสี่ยง” เพื่อป้องกันปัญหาการมีบุตรก่อนวัยอันควร ๑๖.๑ นักเรียนหญิงระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ ๕ และ ๖ โรงเรียนบ้านยารอ โรงเรียนบ้านโคกตีเต โรงเรียนบ้านโคกสุมุ และโรงเรียนบ้านแคนา จำนวน ๖๙ คน ๑๖.๒ นักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๑ – ๓ โรงเรียนบางปอประชารักษ์และโรงเรียนบ้านแคนา จำนวน ๙๔ คน ๑๗. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ ๑๕ – ๑๙ ปี ในเรื่องการวางแผนครอบครัวเพื่อเว้นระยะการมีบุตรอย่างเหมาะสม เพื่อลดปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น และลดอัตราการคลอดบุตรในมารดาที่มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี
๑๗.๑ หญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ ๑๕ – ๑๙ ปี หมู่ ๑, ๒, ๓, ๗ และ ๑๑ ตำบลบางปอ จำนวน ๑๐๐ คน ๑๘. แลกเปลี่ยนเรียนรู้/รายงานผลการดำเนินโครงการ ๑๙. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ และสื่อการสอนการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารก ๑๙.๑จัดทำไวนิลโครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารก จำนวน ๓ ชุด ๒๐. การประเมินผลการดำเนินกิจกรรม ๒๐.๑ระหว่างดำเนินงาน ๒๐.๒เมื่อสิ้นสุดโครงการฯ ๒๑. การสรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ทีมสุขภาพและแกนนำงานอนามัยแม่และเด็กได้รับการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานอนามัยแม่และเด็กอย่างน้อย ๓ เดือน/ครั้ง ๒. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ๓. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอดได้อย่างมีคุณภาพ ได้แก่ ฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์๑๒ สัปดาห์ และคลอดในสถานพยาบาล ๔. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะหลังคลอดได้อย่างมีคุณภาพ ได้แก่ ได้รับการติดตามเยี่ยมหลังคลอดบุตรครบ ๓ ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน ๕. แกนนำอนามัยแม่และเด็กมีความรู้และความสามารถในการให้คำแนะนำแก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ให้มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม ๖. หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ตามนโยบายลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ๗. ไม่มีมารดาตาย หรืออัตรามารดาตายลดลงจากปี ๒๕๖๐ ๘. อัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ลดลงจากปี ๒๕๖๐ ๙. หญิงตั้งครรภ์ให้ความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย ๖ เดือนเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๖๐ ๑๐. อัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น อายุ ๑๕ – ๑๙ ปี และลดอัตราการคลอดบุตรในมารดาที่มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีลดลง ๑๑. อัตราทารกแรกเกิดที่คลอดครบกำหนดมีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่าหรือเท่ากับ ๒,๕๐๐ กรัม เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๖๐ ๑๒. สามีหรือญาติเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในระยะตั้งครรภ์และระยะหลังคลอดบุตรเพิ่มมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2561 23:28 น.