กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

๑)  จัดประชุมเครือข่ายที่จะร่วมดำเนินงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อสม. สำนักงานสาธารณสุข จ สงขลา และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สนับสนุนชุดทดสอบ และองค์ความรู้นการดำเนินงาน ๒)  การส่งเสริมความปลอดภัยของอาหารทอด  ดังนี้ ๒.๑) การตรวจสอบเพื่อปรับปรุงสุขลักษณะสถานประกอบการจำหน่ายอาหารประเภทอาหารทอดในเขตเทศบาล  กรณีรายใหม่  จำนวน  ๒๓๗  แห่ง แห่งละ ๓  รอบ  และรายเดิม  จำนวน  ๓๐๐  แห่ง แห่งละ ๑ รอบ  (รวมตรวจสถานประกอบการ  จำนวน  ๕๓๗  แห่ง)  ซึ่งจากการดำเนินงานในปี  ๒๕๕๙-๒๕๖๐  มีสถานประกอบการผ่านเกณฑ์มาตรฐาน  จำนวน  ๓๘๒  แห่ง  คิดเป็นร้อยละ ๗๑.๑๔  และยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน  จำนวน  ๑๕๕  แห่ง  คิดเป็นร้อยละ  ๒๘.๘๖ ๒.๒) สุ่มตรวจคุณภาพน้ำมันทอดอาหาร (สารโพลาร์) ในสถานประกอบการจำหน่ายอาหารทอด  จำนวน  ๔๒๘  แห่ง  จำนวนตัวอย่างน้ำมัน  จำนวน  ๗๓๑  ตัวอย่าง  ผ่านมาตรฐาน  จำนวน  ๖๑๙  ตัวอย่าง  คิดเป็นร้อยละ  ๘๖.๖๘  ไม่ผ่านมาตรฐาน  จำนวน  ๑๑๒  ตัวอย่าง  คิดเป็น  ร้อยละ  ๑๕.๓๒  โดยแยกรายละเอียด  ดังนี้
- ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า  จำนวน  ๖๕  แห่ง  จำนวน  ๑๘๓  ตัวอย่าง  ผ่านมาตรฐาน  จำนวน  ๑๔๗  ตัวอย่าง  คิดเป็นร้อยละ  ๘๐.๓๓  และไม่ผ่านมาตรฐาน จำนวน  ๓๖  ตัวอย่าง  คิดเป็นร้อยละ  ๑๙.๖๗
- แผงลอยฯ / ร้านอาหารทั่วไป  จำนวน  ๓๐๕  แห่ง  จำนวน  ๔๔๔  ตัวอย่าง  ผ่านมาตรฐาน  จำนวน  ๓๖๘  ตัวอย่าง  คิดเป็นร้อยละ  ๘๒.๘๘  และไม่ผ่านมาตรฐาน  จำนวน  ๗๖  ตัวอย่าง  คิดเป็นร้อยละ  ๑๗.๑๒ - แผงลอยฯ/โรงอาหารในโรงเรียน  จำนวน  ๕๘  แห่ง  จำนวน  ๑๐๔  ตัวอย่าง  ผ่านมาตรฐาน  จำนวน  ๑๐๔  ตัวอย่าง  คิดเป็นร้อยละ  ๑๐๐
๓)  ได้ดำเนินการเปิดศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคประจำเขต  ทั้ง ๔  เขต  เพี่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องและปลอดภัยแก่ประชาชน  โดยจัดทำสื่อให้ความรู้/ประชาสัมพันธ์  และจัดกิจกรรมรณรงค์ลดการใช้น้ำมันทอดซ้ำในแหล่งชุมชนครบทุกเขต  รวมจำนวน  ๘  ครั้ง
          ๔)  จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้/ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน  และมอบป้าย “น้ำมันทอด ปลอดภัย” แก่ร้านจำหน่ายอาหารทอดที่ผ่านการตรวจตามหลักเกณฑ์ จำนวน ๒๐๐  คน ๕) ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการนำน้ำมันพืชใช้แล้วไปใช้ประโยชน์  ได้แก่ ๕.๑) การรณรงค์ให้สถานประกอบการจำหน่ายอาหารทอดรวบรวมน้ำมันพืชใช้แล้วนำไปจำหน่ายที่คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เพื่อผลิตไบโอดีเซล  เพื่อป้องการการทิ้งน้ำมันเหลือใช้ลงในท่อระบายน้ำสาธารณะ  และการนำไปกรองแล้วนำมาใช้ปรุงอาหารใหม่
๕.๒) การรณรงค์ให้สถานประกอบการ/ประชาชนนำน้ำมันพืชใช้แล้วมาทำสบู่ซักล้างเพื่อใช้ในครัวเรือน/สถานประกอบการ  โดยมีจุดสาธิตที่ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคประจำเขต  ซึ่งมีประชาชนให้ความสนใจและเข้ามาเรียนรู้เพื่อกลับไปทำใช้ในครัวเรือน ๕.๓) การส่งเสริมการนำน้ำมันพืชใช้แล้วมาผสมกับโฟมทำเป็นอิฐบล๊อคปูพื้น  ซึ่งจะมีจุดสาธิตการใช้งานอิฐบล๊อคในชุมชนต้นแบบอย่างน้อย ๑  แห่ง  ซึ่งมีประชาชนให้ความสนใจจำนวนมาก  แต่เนื่องจากขั้นตอนการทำค่อนข้างยุ่งยาก  ประกอบกับต้องใช้โฟมจำนวนมาก  จึงทำให้ยังไม่ได้มีการนำไปใช้งานจริงมากนัก

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อส่งเสริมโภชนาการและอาหารปลอดภัยในโรงเรียนร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารประเภทอาหารทอดในชุมชน
ตัวชี้วัด :

 

2 2.เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องและปลอดภัยเกี่ยวกับอาหารทอดแก่ประชาชน
ตัวชี้วัด :

 

3 3.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาแผงลอยจำหน่ายอาหารในชุมชนเรื่องอาหารและความปลอดภัยการบริโภคอาหารประเภทอาหารทอด
ตัวชี้วัด :

 

4 4.เพื่อส่งเสริมการนำน้ำมันพืชใช้แล้วไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆเช่นการส่งไปผลิตไบโอดีเซลการทำสบู่ซักล้างและการทำอิฐบล๊อกเพื่อป้องกันการนำน้ำมันมาใช้ซ้ำหรือนำกลับมาในห่วงโซ่อาหารอีก
ตัวชี้วัด :

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1000
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อส่งเสริมโภชนาการและอาหารปลอดภัยในโรงเรียนร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารประเภทอาหารทอดในชุมชน (2) 2.เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องและปลอดภัยเกี่ยวกับอาหารทอดแก่ประชาชน (3) 3.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาแผงลอยจำหน่ายอาหารในชุมชนเรื่องอาหารและความปลอดภัยการบริโภคอาหารประเภทอาหารทอด (4) 4.เพื่อส่งเสริมการนำน้ำมันพืชใช้แล้วไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆเช่นการส่งไปผลิตไบโอดีเซลการทำสบู่ซักล้างและการทำอิฐบล๊อกเพื่อป้องกันการนำน้ำมันมาใช้ซ้ำหรือนำกลับมาในห่วงโซ่อาหารอีก

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh