กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชน
รหัสโครงการ 61-L4143-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 เมษายน 2561 - 11 เมษายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 148,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศรัณยา ปูเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางเรวดี ขาวเกตุ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.552,101.324place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 156 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือที่เรียกว่าการเข้าสุนัต เป็นหลักปฏิบัติที่สืบเนื่องมาจากท่านศาสดามุฮัมมัด เป็นสิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาทางวัฒนธรรมและศาสนาเป็นเวลานานมาแล้ว การขลิบเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมุสลิมชาย เนื่องจากการศึกษาวิจัยเมื่อเร็วๆนี้พบว่าการตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายนั้นมีผลดีทางการแพทย์บางอย่าง เช่น โอกาสที่จะติดโรคทางเดินปัสสาวะน้อยมาก เด็กที่ไม่ได้ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จะมีโอกาสไตอักเสบเป็น 10 เท่าของเด็กที่ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย การทำงานของไตและการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติสามารถเกิดขึ้นกับการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะได้ นอกจากนี้แล้วการติดเชื้อแบคทีเรียจากสิ่งสกปรกที่หมักหมมอยู่ภายใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายก็อาจนำไปสู่การติดเชื้อของไตได้เช่นกัน
ผู้ชายที่เข้าสุนัตแทบจะไม่เป็นมะเร็งที่อวัยวะเพศเลย การติดเชื้อที่หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถเกิดขึ้นกับผู้ชายที่ไม่เข้าในอายุเท่าใดก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นในตอนอายุ 2 - 5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายยังแยกไม่หมด ดังนั้นจึงไม่สามารถถลกให้เปิดออกได้เต็มที่เพื่อทำความสะอาด นอกจากนั้นแล้วเด็กเองก็ไม่สามารถทำความสะอาดให้ตัวเองได้และในที่สุดก็จะต้องไปตัดออกในตอนหลังซึ่งเสียค่าใช้จ่ายแพง ด้วยเหตุนี้ การทำให้แก่เด็กตั้งแต่เกิดมาจึงทำให้สามารถรักษาความสะอาดได้ตลอดชีวิต การศึกษายังแสดงให้เห็นว่าคนที่ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายมีอัตราเสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศน้อยมาก ส่วนผู้ชายที่ไม่ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายนั้นจะมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าเพราะในระหว่างการมีความสัมพันธ์ทางเพศนั้น หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายสามารถถลอกหรือเป็นแผลเล็กๆที่ทำให้เชื้อไวรัสเข้าไปในบาดแผลนั้นได้ เป็นที่คาดกันว่าหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายอาจจะปล่อยให้ไวรัสและเชื้อโรคอื่นๆสามารถอยู่รอดได้ยาวนานกว่าที่อยู่ข้างนอกและมีเวลามากกว่าที่จะเข้าไปในร่างกาย เมื่อเร็วๆนี้มีการพบว่าเซลล์บางอย่างในหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายสามารถที่จะดักไวรัสเอชไอวีและทำให้เกิดการติดเชื้อได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อและภาวะออกเลือดมาก(ฺBleeding)

 

0.00
2 2.เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

 

0.00
3 3.เพื่อเสริมสร้างสุขภาพป้องกันโรค และลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพตามหลักการแพทย์ปัจจุบันให้กับเด็กและเยาวชน

 

0.00
4 4.เพื่อให้เด็กละเยาวชนสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 148,150.00 2 39,000.00
??/??/???? 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพให้กับผู้ดูแลเด็ก(ผู้ปกครอง)ที่เข้าร่วมโครงการฯ 0 23,350.00 8,600.00
??/??/???? 2.กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (Circumcision) 0 124,800.00 30,400.00
  1. กิจกรรมเตรียมความพร้อม 1.1 จัดประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ 1.2 ประชาสัมพันธ์ และรับสมัครเด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการ 1.3 จัดตารางเวลา กำหนดการเพื่อบริการทำสุนัตหมู่แก่เด็กและเยาวชน
  2. กิจกรรมบริการทำแก่เด็กและเยาวชน 2.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดต่อ 2.2 กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision)
    2.3 การติดตามและประเมิน เพื่อติดตามและประเมินอาการหลังการทำ และความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็ก 3.สรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กและเยาวชนได้รับการทำ (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด (bleeding) ภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง)และการติดเชื้อ รวมทั้งสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครอง ชุมชน ในการป้องกันโรคติดเชื้อ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561 09:39 น.