โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 61-L3321-1-4 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.ปันแต อ.ควนขนุน จ.พัทลุง |
วันที่อนุมัติ | 28 ธันวาคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2561 |
งบประมาณ | 39,070.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางทัศนีย์ คงเทพ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.783,100.051place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2561 | 30 ก.ย. 2561 | 1 ม.ค. 2561 | 30 ก.ย. 2561 | 39,070.00 | |
รวมงบประมาณ | 39,070.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และการสาธารณสุขในระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันโดยตรงต่ออัตราการตาย และการป่วย โรคไข้เลือดออกจึงส่งผลต่อ สุขภาพของผู้ป่วย ชุมชน สังคม และประเทศชาติตามลำดับ หากมีการตรวจวินิจฉัยขั้นต้นที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกจะพบบ่อยใน กลุ่มเด็กอายุระหว่างอายุ ๕-๙ ปี แต่ปัจจุบันสามารถพบผู้ป่วยได้ในทุกกลุ่มอายุ และโรคไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เรื่อยมา ซึ่งในแต่ละปีจะมีรายงานทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกที่มีข้อมูลเกิดโรคในอัตราการป่วยที่ยังคงสูง จากสถานการณ์ปัจจุบันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดพัทลุง พบว่ามีการระบาดอยู่ในอัตราที่สูง และคาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและกำจัดลูกน้ำและตัวแก่ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน (Container Index=0) และบริเวณบ้าน (House Index=0) |
0.00 |
1 .ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ผู้นำหมู่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุข 2. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการให้กับประชาชนในหมู่บ้านทราบ 3. จัดกิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย 4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ของประชาชนและการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรค 5. สำรวจลูกน้ำยุงลายโดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 6. สำรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านวัดโรงเรียนและสถานบริการสาธารณสุข 7. ควบคุมโรคทางเคมีโดยการพ่นสารเคมีกรณีที่มีการระบาดของโรค 8. สรุปประเมินผลโครงการ
- อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
- ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561 10:33 น.