กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการระบบดี ขวัญเยี่ยม สู่การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ประจำปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกลาง หมู่ที่ 3 บ้านหัวเขาแก้ว ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 กันยายน 2561 - 14 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 20 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 9,695.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอัมราน เบ็ญอิสริยา
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการสปสช.
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.บ้านกลางหมู่ที่ 3 ตำบลบ้านกลางอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.839,101.521place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 พ.ค. 2561 14 ก.ย. 2561 9,695.00
รวมงบประมาณ 9,695.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 113 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ได้รับการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ของเด็กในพื้นที่ (คน)
113.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

  1. หลักการและเหตุผล หากเรามองย้อนกลับสู่อดีตที่ว่าเด็กคืออนาคตของชาติปัญหาสุขภาพเด็กในปัจจุบันได้บั่นทอนเศรษฐกิจสังคมและการเมือง ความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติลดต่ำลงและด้วยโอกาสในเวทีต่างๆระดับโลก จากการวิเคราะห์ปัญหาสภาวะสุขภาพเด็กที่สำคัญได้แก่ภาวการณ์เจริญเติบโตพัฒนาการสมองการมีภูมิคุ้มกันโรคและปัญหาสุขภาพด้วนทันตกรรม ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะเชื่อมโยงกันไม่ว่าเราจะมองในประเด็นใดๆก็ตามเด็กในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะด้อยกว่าเด็กจากภาคส่วนอื่นๆของประเทศไทยหากเราได้พิจารณาแล้วว่าจริงๆแล้วเรามีความรู้ความเข้าใจตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์คลอดออกมา การเลี้ยงดูบุตรด้วยวิธีการต่างๆหากแต่เราไม่ได้วางระบบการเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขโดยเฉพาะการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค หนึ่งจากการดำเนินงานทางด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของเด็กในรอบ3เดือนแรกของปี๒๕๖๑พื้นที่ในส่วนของรพ.สต.บ้านกลางมีผลงานโดยเฉพาะความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุดังนี้ ๑.ความครอบคลุมวัคซีนเด็กอายุ๑ปีไตรมาสแรกของปีงบประมาณ2561ได้แก่ -วัณโรค(BCG)ร้อยละ 100 -วัคซีนตับอักเสบ(HBV1)เข็มที่1 ร้อยละ100 -วัคซีนคอตีบ ไอกรนบาดทะยัก(DTP-Hb3) เข็มที่3ร้อยละ55.56 -วัคซีนโปลิโอชนิดหยอด(OPV3) ร้อยละ55.56 -วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม(MMR1) เข็มที่1ร้อยละ66.67 -วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด ร้อยละ4.44 ๒.ความครอบคลุมวัคซีนเด็กอายุ2ปีไตรมาสแรกของปีงบประมาณ2561ได้แก่ -วัคซีนคอตีบไอกรนบาดทะยัก(DTP4)กระตุ้นครั้งที่1ร้อยละ37.50 -วัคซีนโปลิโอ(OPV4)กระตุ้นครั้งที่1ร้อยละ37.50 -วัคซีนไข้สมองอักเสบ(JE1)ครั้งที่1 ร้อยละ37.50 ๓.ความครอบคลุมวัคซีนเด็กอายุ3ปีไตรมาสแรกของปีงบประมาณ2561ได้แก่ -วัคซีนไข้สมองอักเสบ(JE2)ครั้งที่2 ร้อยละ18.18 -วัคซีนหัดหัดเยอรมันคางทูม(MMR2)ครั้งที่2 ร้อยละ36.36 ๔.ความครอบคลุมวัคซีนเด็กอายุ5ปีไตรมาสแรกของปีงบประมาณ2561ได้แก่ -วัคซีนคอตีบไอกรนบาดทะยัก(DTP5)กระตุ้นครั้งที่2ร้อยละ25.00 -วัคซีนโปลิโอ(OPV5)กระตุ้นครั้งที่2 ร้อยละ25.00 จากข้อมูลข้างต้นเกณฑ์ในการประเมินทั้งหมดกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ0-5ปีจะต้องผ่านเกณฑ์การได้รับวัคซีนร้อยละ95ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวหากเราไม่รีบดำเนินการหรือหาแนวทางแก้ไขปัญหาพื้นที่ตำบลบ้านกลางมีแนวโน้มของการเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลเสียและผลกระทบทางด้านสุขภาพของคนในตำบลระบบเศรษฐกิจจะเกิดปัญหาขึ้นดังนั้นทางรพ.สต.บ้านกลางได้เห็นถึงความสำคัญของสุขภาพเด็กด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพเด็กและการเข้าถึงบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อต่อไปเด็กจะได้เป็นอนาคตที่ดีของชาติรพ.สต.บ้านกลางจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาสุขภาพเด็กและเพิ่มคุณภาพของการมีชีวิตของเด็กในพื้นที่ได้ดีเป็นอย่างสูง
stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อถ่ายทอดข้อมูลสุขภาพเด็กอายุ 0-5 ปี โดยเฉพาะข้อมูลการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ของเด็กในพื้นที่ 2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาการได้รับวัคซีน 3. เพื่อพัฒนาระบบบริการและระบบติดตามที่มีประสิทธิภาพ 4. เพื่อส่งเสริมให้เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ

1.ประชาชนได้รับทราบข้อมูลสถานการณ์การเข้าถึงบริการ  ความครอบคลุมวัคซีน  แนวทางการแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชน 2.มีระบบบริการที่ดีมีคุณภาพมากขึ้น  อันอาจจะส่งผลทำให้การเข้าถึงบริการเพิ่มมากขึ้น 3.แนวโน้มของการเกิดโรคลดลงจากการเพิ่มขึ้นของความครอบคลุมการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ 4.เด็กๆมีขวัญและกำลังใจในการมารรับบริการเพิ่มขึ้น

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 3.00 1 9,695.00
20 มี.ค. 61 กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาระบบติดตาม กิจกรรมที่ 3 การส่งเสริมและสร้างขวัญกำลังใจเด็กที่มารับบริการวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ 0 3.00 9,695.00

วิธีดำเนินการ 1. จัดประชุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ 2. จัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน 3. สร้างขวัญและกำลังใจให้เด็กที่มารับบริการวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ 4. สำรวจความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ 5. สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ประชาชนได้รับทราบข้อมูลสถานการณ์การเข้าถึงบริการความครอบคลุมวัคซีนแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชน 2.มีระบบบริการที่ดีมีคุณภาพมากขึ้นอันอาจจะส่งผลทำให้การเข้าถึงบริการเพิ่มมากขึ้น 3.แนวโน้มของการเกิดโรคลดลงจากการเพิ่มขึ้นของความครอบคลุมการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ 4.เด็กๆมีขวัญและกำลังใจในการมารรับบริการเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561 12:14 น.