กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.วังขนายห่วงใย อาหารปลอดภัย เกษตรกรปลอดโรค
รหัสโครงการ ประเภท 2 / 004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5 บ้านหลังอำเภอ
วันที่อนุมัติ 10 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 27,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5 บ้านหลังอำเภอ
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลเจ้าโพรงไม้และเทศบาลตำบลวังขนาย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังขนาย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
ละติจูด-ลองจิจูด 13.96,99.663place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 27,000.00
รวมงบประมาณ 27,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)
2.00
2 จำนวนผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย
5.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5 บ้านหลังอำเภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลเจ้าโพรงไม้ ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดกิจกรรมเพื่อดูแลสุขภาพเกษตรกรในชุมชน การสำรวจข้อมูลเบื้องต้นสถานประกอบการ การสัมภาษณ์ด้วยแบบประเมินความเสี่ยง การเจาะเลือดตรวจคัดกรองเกษตรกร เพื่อสืบค้นความผิดปกติในระยะเริ่มแรกป้องกันและลดความสูญเสียจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยกองทุนสุขภาพชุมชนสนับสนุนงบประมาณและการจัดเวทีคืนข้อมูลให้แก่ชุมชน ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช วิธีการป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ด้วยตัวเอง การวินิจฉัยและการรักษาเบื้องต้น การส่งต่อเพื่อพบแพทย์เฉพาะทาง และการแนะนำการใช้สมุนไพรลดล้างพิษ การให้คำปรึกษา เพื่อลดความเครียด การตรวจหาสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ที่จำหน่ายชุมชน การตรวจสถานประกอบการ การตรวจตลาดนัด ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องของกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มผู้บริโภค ชมรม อสม. หมู่ 5 ตำบลวังขนาย จึงร่วมกับ รพ.สต. บ้านศาลเจ้าโพรงไม้ได้จัดทำโครงการ อสม. วังขนายห่วงใย อาหารปลอดภัย เกษตรกรปลอดโรคขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาเกษตรกรมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

2.00 0.00
2 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้บริโภคมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

5.00 3.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 27,000.00 3 27,000.00
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เชิงรุกในเรื่องการปฏิบัติตัวตามคู่มือเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง จำนวน 1 วัน 0 13,800.00 13,800.00
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมคัดกรองสุขภาพเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง 0 10,200.00 10,200.00
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมออกตรวจตลาดนัด ร้านขายอาหารสด และร้านอาหารในชุมชน (จำนวน 12 ครั้ง/ปี) 0 3,000.00 3,000.00

กลุ่มเกษตรกร 1. สำรวจกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีในชุมชน และจัดทำทะเบียนเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง 2. ประชุมแกนนำสุขภาพในหมู่บ้านและเครือข่าย วิเคราะห์งาน เพื่อจัดเตรียมแผนงานโครงการฯ 3. เขียนโครงการ 4. เสนอโครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการฯ 5. ดำเนินงานตามโครงการ - จัดอบรม เรื่อง การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และอันตรายจากการสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ให้กับเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง -จัดกิจกรรมการตรวจคัดกรองหาสารพิษในร่างกายกลุ่มเกษตรกรและประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชน โดยใช้ตู้อบสมุนไพรขับสารพิษเคลื่อนที่ - กิจกรรมการประเมินความเครียดในกลุ่มเกษตรกรและให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่มีความเครียด - จัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรปลูกพืชสมุนไพรว่านรางจืด อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
- กิจกรรมการส่งเสริม/เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทางวิทยุชุมชน เสียงตามสาย แผนพับ คู่มือ ป้ายประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับสารพิษที่อันตรายในพืช ผักและผลไม้ ให้กับประชาชนในชุมชน -สรุปผลการตรวจคัดกรองหาสารพิษในร่างกายกลุ่มเกษตรกร และส่งต่อกรณีที่เกษตรกรมีอาการรุนแรงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 6. ประเมินและสรุปผลโครงการ

กลุ่มสถานประกอบการและประชาชนผู้บริโภค 1. จัดกิจกรรมการสำรวจข้อมูลพื้นฐานสถานประกอบการในพื้นที่ เช่น ร้านอาหาร แผงลอย จำหน่ายอาหาร ตลาดนัด สถานประกอบการต่างๆโรงงานอุตสาหกรรม
2. แกนนำสาธารณสุขในตำบลร่วมกับเทศบาลฯ และรพ.สต. ตรวจประเมินร้านอาหาร ร้านค้าชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตลาดนัด และร้านอาหารภายในโรงเรียนในเขตพื้นที่ เพื่อควบคุม/ดูแลให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน และสำรวจผู้ประกอบการโต๊ะจีน และรณรงค์การใช้ช้อนกลางในโต๊ะจีน 3. แกนนำสาธารณสุขในตำบลร่วมกับเทศบาลฯ และรพ.สต.ตรวจเยี่ยมสถานที่ผลิตอาหาร และ โรงงานอุตสาหกรรม
4.แกนนำสาธารณสุขในตำบลร่วมกับเทศบาลฯ และรพ.สต. ออกสำรวจสังฆทานในวัดและตรวจ เยี่ยมครัววัดสะอาดปลอดภัย 5.กิจกรรมจัดตั้งสายตรวจคุ้มครองผู้บริโภค ในหมู่บ้าน
6.ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง/ที่ไม่ปลอดภัยได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ และได้รับการบำบัดรักษา ส่งต่อ
  2. กลุ่มเกษตรกรปลูกพืชสมุนไพร มีความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรล้างพิษต่างๆ เช่น ว่านรางจืด
  3. ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร ในอันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  4. ผู้ประกอบการร้านอาหาร มีความรู้ตามหลักสุขาภิบาลอาหารและประกอบอาหารได้อย่างถูกต้อง
  5. ร้านจำหน่ายอาหารสด ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน 6 ชนิด
  6. ผู้บริโภคมีความรู้ สามารถเลือกบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้อง
  7. ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ เกี่ยวกับการบริโภค ผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง และ ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม โดยผ่านช่องทางต่างๆ
  8. มีกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561 13:28 น.