กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมประจำปี 2561
รหัสโครงการ 61-L4155-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 19,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.464,101.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยจากข้อมูลสถิติสาธารณสุขปี พ.ศ.2546(สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2548) พบว่าอัตราตายจากโรคมะเร็งของประชากรไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นและโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทยได้แก่มะเร็งตับมะเร็งปอดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามลำดับสำหรับสตรีไทยโรคมะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งทุกชนิด (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2548) นอกจากนี้ยังพบว่า การตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอน ที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติโดยการทำPapsmearหรือVIA (VisualInspectionofcervixwithAceticacid)ประกอบกับการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาตามระบบและการจี้เย็น (Cryotherapy)ปีงบประมาณ2553 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาจึงให้การสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่กระทรวงสาธารณสุข โดยมอบให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีPapsmearและVIA ในสตรีไทยอายุ30-60ปีกำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัด ร้อยละของสตรี 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสม ปีงบประมาณ2558-2560 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ในปี 2558-2560จังหวัดยะลาได้ดำเนินการคัดกรองค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกมีผลงานสะสม 3ปี (2558–2560) เป้าหมาย 83,512 คน ได้รับการตรวจคัดกรอง19,507 คนคิดเป็นร้อยละ 23.36ไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด อำเภอรามัน มีเป้าหมาย 15,264 ผลงานการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 4,438 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.07 ไม่ผ่านผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด
ตำบลกาลูปัง มีเป้าหมาย 542 คนมีผลการดำเนินงานสามารถคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรี อายุ 30-60 ปี สะสมตั้งแต่ ปี 2558-2560 168 ราย คิดเป็นร้อยละ 168ผลการตรวจ ปกติจำนวน 166 รายคิดเป็นร้อยละ 98.29 พบเชื้อราในช่องคลอด จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 01.71 ได้ส่งต่อพบแพทย์โรงพยาบาลรามัน ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งปากมดลูก 1 ราย รับการรักษาต่อเนื่องจาก โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ผลการดำเนินงานสามารถคัดกรองมะเร็งเต้านม อายุ 30-70 ปี ดังนี้ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 688 รายคัดกรองมะเร็งเต้านม จำนวน 645 รายคิดเป็นร้อยละ 93.75 ผลการตรวจ ปกติ จำนวน 643 รายคิดเป็นร้อยละ 99.68ผิดปกติจำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 01.32 ได้ส่งต่อพบแพทย์โรงพยาบาลรามัน เพื่อรับการรักษาที่ต่อเนื่องต่อไป ต่อเนื่อง ในสตรีที่ตรวจพบความผิดปกติของเต้านม ผลการวินิจฉัย พบว่าเป็นซีสต์ (ก้อนไขมัน ) จำนวน 2 ราย ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งเต้านม 1 ราย รับการรักษาได้รับการรักษาและอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์ โรงพยาบาลยะลาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ทางโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีPapsmearเพื่อส่งเสริมให้สตรีอายุ30-60 ปี ได้มีทักษะความรู้ในการดูแลตนเองและคัดกรองหากตรวจพบสิ่งผิดปกติ สามารถรักษาได้ทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังการเกิดการเกิดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในกลุ่มเสี่ยง 2.สตรีรายที่มีผลการตรวจผิดปกติได้รับการส่งต่อการรักษาต่อไป 3. เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
  1. ร้อยละ 20 ของสตรีที่มีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก 2.ร้อยละ 70 ของสตรีที่มีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งเต้านม
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,000.00 1 19,000.00
10 ส.ค. 61 อบรมให้ความรู้, จัดนิทรรศการเรือ่งโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม , แนะนำวิธีการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง 0 19,000.00 19,000.00
  1. ขั้นตรียมการ
  2. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
  3. จัดเตรียมสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30 – 60ปี
  4. ประชุม ชี้แจงโครงการแก่ อสม. / ผู้นำสตรี / ผู้นำชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ
  5. ประสานงานวิทยากร
  6. จัดเตรียมสื่อการสอนได้แก่ โมเดล แผ่นพับ โปสเตอร์ 2.ขั้นดำเนินการ
  7. จัดนิทรรศการเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก / มะเร็งเต้านม
  8. จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายโรคมะเร็งปากมดลูก / มะเร็งเต้านมละ140 คน
  9. สอนกลุ่มเป้าหมายตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และประเมินทักษะการตรวจโดยเจ้าหน้าที่
  10. ตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear 3.ขั้นประเมินผล
  11. จากรายงานผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
  12. จากรายงานผล HDCเว็บไซต์ของสาธารณสุขจังหวัดยะลา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีอายุ 30 – 60 ปี มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม
  2. สตรีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Pap smear ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
  3. อัตราป่วย และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมลดลงร้อยละ 20
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561 13:32 น.