กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพประชาชนและช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์อุทกภัย
รหัสโครงการ 61-L3016-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปะกาฮะรัง
วันที่อนุมัติ 22 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.833,101.232place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยในเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมของทุก ๆ ปี เป็นช่วงฤดูฝนในภาคใต้ตอนล่างโดยเฉพาะจังหวัดปัตตานีมักมีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมซ้ำซาก ซึ่งตำบลปะกาฮะรังเป็นพื้นที่ติดแม่น้ำปัตตานีและเป็นที่ราบลุ่ม เมื่อมีปริมาณน้ำฝนมาก น้ำล้นทะลักริมฝั่งแม่น้ำ ก็จะเป็นพื้นที่ที่รองรับน้ำฝน ทั้งจากน้ำป่าไหลหลาก น้ำที่ปล่อยจากเขื่อน น้ำจากภูเขา ไหลลงสู่พื้นที่ตำบลปะกาฮะรังเป็นจุดแรก ทำให้พื้นที่ตำบลปะกาฮะรังประสบภัยพิบัติน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี นานถึง 15 วัน หรืออาจถึง 1 เดือน การดำรงชีวิตของประชาชนขาดแคลนอาหารสิ่งของอุปโภคบริโภค ผลกระทบที่จะส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนอย่างรุนแรง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทั้งในระหว่างที่เกิดอุทกภัยและหลังจากอุทกภัย คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปะกาฮะรัง ในฐานะที่มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการดูแลด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับประชาชน ทั้งที่บ้านและในชุมชน ให้สามารถเข้าถึงบริการและได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง ได้ตระหนักถึงความเดือดร้อนของประชาชน อันได้แก่ การเกิดอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพ การป้องกันโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์อุทกภัย การรักษาพยาบาลเบื้องต้นในพื้นที่และศูนย์อพยพ รวมถึงการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของประชาชนในพื้นที่ ที่อาจเกิดผลกระทบด้านสุขภาพโดยรวมจากสถานการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ เช่น ระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหาร น้ำกัดเท้า โรคตาแดง โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก ภาวะซึมเศร้า ปัญหาความเครียดและปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ ที่มีผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยดังกล่าว ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร่งด่วน คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปะกาฮะรัง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพประชาชนและช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ภาวะน้ำท่วมขึ้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ประสบภัยพิบัติ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ ให้สามารถได้รับการช่วยเหลือและดูแลสถานการณ์น้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2557 ข้อ 7 (5) กิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็นเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ได้ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปะกาฮะรัง จึงจัดให้มีงบประมาณเพื่อการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพ ประชาชนในระหว่างสถานการณ์น้ำท่วม

ประชาชนในพื้นที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพประชาชนในระหว่างสถานการณ์น้ำท่วมตามความจำเป็น    และเหมาะสม  80% 

0.00
2 เพื่อให้การช่วยเหลือน้ำท่วมและสนับสนุนการดำเนินงานอื่นในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วม

ประชาชนในพื้นที่ได้รับการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่น ๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก      ภัยพิบัติน้ำท่วมตามความจำเป็นและเหมาะสม  80% 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ร่วมประชุมกับคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะดำเนินการ 2. ดำเนินการสำรวจผู้ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์น้ำท่วมในลำดับแรก ๆเช่น ขาดการติดต่อสู่โลกภายนอกหรือยากต่อการสัญจรไปมา 3. จัดซื้ออาหารสำเร็จรูปและน้ำดื่มสะอาดเพื่อแจกจ่ายให้กลุ่มคนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์น้ำท่วม 4. ประสานติดต่อขอรับสิ่งของจากหน่วยงานหรือผู้มีจิตศรัทธาเพื่อนำไปมอบให้กลุ่มเป้าหมาย 5. ออกไปดำเนินการเชิงรุก นำอาหารไปแจกจ่ายถึงประตูบ้าน 6. สรุปรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการและประเมินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพประชาชนในระหว่างสถานการณ์น้ำท่วมตามความจำเป็นและเหมาะสม
  2. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่น ๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมตามความจำเป็นและเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561 13:39 น.