โครงการ อสม. วังขนายร่วมใจ ค้นหาโรคภาวะซึมเศร้า
ชื่อโครงการ | โครงการ อสม. วังขนายร่วมใจ ค้นหาโรคภาวะซึมเศร้า |
รหัสโครงการ | ประเภท 2 / 006 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ด้วยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 7 บ้านริมน้ำ |
วันที่อนุมัติ | 10 มกราคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 17,575.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 7 บ้านริมน้ำ |
พี่เลี้ยงโครงการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลเจ้าโพรงไม้ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลวังขนาย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 13.96,99.663place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มี.ค. 2561 | 30 ก.ย. 2561 | 17,575.00 | |||
รวมงบประมาณ | 17,575.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 200 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละการคัดกรองประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงป่วยเป็นโรคซึมเศร้า | 30.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยปัจจุบันประเทศไทยมีสภาวการณ์ของจำนวนผู้สูงอายุและผู้พิการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากสถิติผู้สูงอายุและผู้พิการปี 2550 มีผู้สูงอายุและผู้พิการรวมทั้งหมด 5.3 ล้านคน ปี 2559มีจำนวน 10.2 ล้านคนและปี 2560 มีจำนวน 12.5 ล้านคน และคาดการณ์ว่าในปี 2583 จะเพิ่มเป็น 20.5 ล้านคนปี 2558 กระทรวงสาธารณสุขได้ทำการคัดกรองผู้สูงอายุและผู้พิการอายุต่ำกว่า 60 ปี จำนวน 6,394,022 ราย พบว่าผู้สูงอายุและผู้พิการสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ กลุ่มติดสังคมจำนวน 5 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 79 กลุ่มติดบ้านและติดเตียงรวมกัน จำนวน 1.3 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 21 ที่จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนบริการสาธารณสุขและดูแลจากภาครัฐอย่างใกล้ชิด
ตำบลวังขนายมีจำนวนผู้สูงอายุและผู้พิการ (จากการสำรวจ) ปี 2558 มีจำนวน 671 รายปี 2559 มีจำนวน 746 ราย และปี 2560 มีจำนวน 872 ราย ทำให้ทราบว่ากลุ่มวัยผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลวังขนายมีแนวโน้มและอัตราการเพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างชุมชนโดยตรงทำให้ชุมชนขาดเสถียรภาพ ในการสร้างรายได้มวลรวมเนื่องมาจากการเกิดภาวะพึ่งพิงมากขึ้นรายได้ต่อหัวประชากรลดลง จากการคัดกรองผู้สูงอายุและผู้พิการอายุต่ำกว่า 60 ปีในปี 2560 จำนวน 650 รายพบว่าผู้สูงอายุติดสังคมมีจำนวน 461 รายคิดเป็นร้อยละ 70 กลุ่มติดบ้านและติดเตียง รวมกัน 189 รายคิดเป็นร้อยละ 30 ที่ต้องได้รับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างคลอบคลุมและดูแลอย่างใกล้ชิดทุกมิติเช่นการฟื้นฟู ส่งเสริม สมรรถภาพร่างกายทั้งด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม จึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดบริการ ดูแลสุขภาพระยะยาว (Long Term Care: LTC) ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และยังช่วยลดภาระให้ครอบครัวด้วย สำหรับผู้ป่วยที่พัฒนาการของการเจ็บป่วยจนถึงวาระสุดท้ายจำเป็นต้องจัดให้มีบริการผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Palliative Care : PC) เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
ผู้สูงอายุและผู้พิการ ที่มีสภาวะติดบ้านติดเตียงจะได้รับการดูแลจากทีมสหวิชาชีพจากหน่วยบริการปฐมภูมิ
( รพ.สต.บ้านศาลเจ้าโพรงไม้) บริการดูแลด้านสุขภาพถึงที่บ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามปัญหาสุขภาพและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น ส่งผลให้ผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีและเข้าถึงบริการทางด้านสาธารณสุขได้อย่างถ้วนหน้าและเท่าเทียม เป็นการสร้างสังคมแห่งการเอื้ออาทร อีกทั้งยังเป็นการสร้างความร่วมมือภาคส่วนต่างๆควบคู่ไปกับการพัฒนาทีมหมอครอบครัวและอาสาสมัครในชุมชนเพื่อให้ “สังคมไทยผู้สูงอายุ ผู้พิการ เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้”
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรควัณโรคได้รับคัดกรอง ประชาชนที่มีความเสี่ยงได้รับการคัดกรอง |
60.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
3 เม.ย. 61 | กิจกรรมรณรงค์และค้นหาผู้มีภาวะซึมเศร้าเสี่ยงฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มผู้สูงอายุในหมู่บ้าน | 200 | 17,575.00 | ✔ | 17,575.00 | |
รวม | 200 | 17,575.00 | 1 | 17,575.00 |
. วิเคราะห์ปัญหาร่วมกับชุมชนและศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมโครงการให้สอดคล้องกับวิถีชุมชน 2. จัดทำโครงการคัดกรองและค้นหาผู้มีภาวะซึมเศร้าเสี่ยงฆ่าตัวตาย เสนอคณะกรรมการกองทุนหลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้าในระดับพื้นถิ่นหรือท้องที่เทศบาลตำบลวังขนาย 3. จัดเตรียมความพร้อมด้านเอกสารและอุปกรณ์ต่างๆ ในการจัดถ่ายทอดความรู้การคัดกรองและประเมินผู้มีภาวะซึมเศร้าแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 4. จัดประชุมและอบรมถ่ายทอดความรู้การใช้แบบประเมินคัดกรองโรคซึมเศร้า แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงฆ่าตัวตายแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 5. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลวังขนายออกคัดกรองและค้นหาผู้มีภาวะซึมเศร้าเสี่ยงฆ่าตัวตายในกลุ่มเป้าหมายพิเศษในละแวกบ้านที่ตนเองรับผิดชอบ 6. นำข้อมูลที่ได้จากคัดกรองกลุ่มเป้าหมายพิเศษมาวิเคราะห์หาผู้มีภาวะซึมเศร้าเสี่ยงฆ่าตัวตายเพื่อทำการส่งต่อไปรับการรักษาอย่างทันท่วงที 7. ออกติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานโครงการทุกๆ รายไตรมาส 8. สรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในระดับพื้นถิ่นหรือท้องที่เทศบาลตำบลวังขนาย
- ผู้มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงฆ่าตัวตายได้รับการคัดกรองและค้นหาทุกราย
- ผู้มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงฆ่าตัวตายได้รับการส่งต่อได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและทันท่วงที
- ไม่พบอุบัติการณ์ฆ่าตัวตายสำเร็จรายใหม่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561 14:06 น.