กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ 61-L527-1-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง
วันที่อนุมัติ 14 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,040.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันมะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับหนึ่งในหญิงไทย เป็นสาเหตุการตายอันดับสองของประเทศไทย และมีอัตราเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเพราะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จำเป็นที่ต้องเร่งหามาตรการป้องกันและการควบคุมโรค โดยมีการรณรงค์ให้หญิงไทยเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แต่ในช่วงต้นเป็นการดำเนินงานในโรงพยาบาล จึงมีสตรีบางคนที่มาตรวจสุขภาพประจำปีเท่านั้นที่ได้รับการตรวจคัดกรอง ต่อมาสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ สปสช.จึงได้จัดโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระดับชาติขึ้น ให้หญิงไทยอายุระหว่าง 30-60 ปีทั่วประเทศ ด้วยวิธีการตรวจแปปสเมียร์ (Pap smer) พบว่าการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการทำ (Pap smear) ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ทำให้ช่วยลดอัตราเกิดและอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้ ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2560 อัตราการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี ของกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 36.98 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงกำหนดไว้ในเป้าหมายรายใหม่ร้อยละ 20 เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุงจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1.เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก

สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีแปปสเมียร์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 และพบภาวะผิดปกติทุกชนิด ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

0.00
2 ข้อ 2.สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีแปปสเมียร์

อัตราการคัดกรองสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก โดยวิธีแปปสเมียร์ ผ่านเกณฑ์ที่กระทรวงกำหนดไว้ในเป้าหมายรายใหม่ร้อยละ 20 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29.00 2 29,040.00
1 มี.ค. 61 - 1 ต.ค. 61 1.จัดอบรมให้ความรู้สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ30-60 โรคมะเร็งปากมดลูก 0 29.00 29,040.00
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 2.การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีแปปสเมียร์ (Pap smer) 0 0.00 0.00
  1. ขั้นเตรียมการ ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเครือข่าย เพื่อค้นหาและเลือกวิธีการใหม่ ๆ ในการชักชวนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและกลุ่มสำรวจกลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่รับผิดชอบ เสนอโครงการ ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการแบ่งพื้นที่กลุ่มเป้าหมายให้แก่ อสม.ผู้รับผิดชอบครัวเรือน ประชาสัมพันธ์การจัดทำโครงการ2.ขั้นดำเนินการดำเนินการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมายดำเนินการตรวจมะเร็งปากมดลูก ส่งแผ่นสไลด์ไปตรวจและอ่านผลจากโรงพยาบาลหาดใหญ่ รับผลตรวจจากโรงพยาบาลหาดใหญ่ บันทึกผลการทำในโปรแกรมของสถาบันมะเร็ง และโปรแกรม JHCIS ของ รพ.สต.ฉลุง ส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ และติดตามผลการรักษาภายหลังการส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติสรุปและประเมินผลโครงการรายงานผลต่อ กองทุน สปสช.อบต.ฉลุง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ลดอัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร็งปากมดลูก2.สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก โดยวิธีแปปสเมียร์ (Pap smer) และพบภาวะผิดปกติทุกชนิด ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง3.สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี มีความรู้ เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก เพื่อส่งเสริมและป้องกันตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561 14:24 น.