กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพงานอนามัยแม่และเด็ก
รหัสโครงการ 61-L527-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง
วันที่อนุมัติ 14 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,440.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัว โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ครั้งแรก ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยาการเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างมากมายกับการเปลี่ยนแปลงของระบบต่าง ๆ ของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง อย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพแวดล้อม เพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์ สัมพันธภาพกับครอบครัว เป็นต้นจากข้อมูลอนามัยและเด็กของตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปี 2560 อัตรามีภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ คิดเป็นร้อยละ 14.29 อัตรารัอยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนคิดเป็นร้อยละ 93.1 จากปัญหาอนามัยแม่และเด็ก ยังคงเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขดังนั้น การพัฒนาคนให้มีคุณภาพจึงต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์โรงพย่าบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำ โครงการพัฒนาคุณภาพงานอนามัยแม่และเด็กปี 2561 ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากองค์กรในชุมชนทุกภาคส่วน ร่วมวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพแม่และเด็ก แบบบูรณาการตามบริบทเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ

1.1 ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ 1.2 ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพ กำหนดให้ร้อยละ 60 1.3 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน กำหนดไว้ร้อยละ 100

0.00
2 ข้อ 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำอนามัยแม่และเด็กมีความรู้และความสามารถให้การแนะนำแก่หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดให้มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม

อัตราร้อยละของหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์กำหนดไว้ ร้อยละ 65

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16.00 0 0.00
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 1.จัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ สามี ผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์และฟื้นฟูความรู้แก่ อสม.แกนนำอนามัยแม่และเด็ก 0 13.00 -
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 2.สาธิตและฝึกทักษะ อสม.แกนนำอนามัยแม่และเด็กกิจกรรมสาธิตการตรวจหน้าท้องในหญิงตั้งครรภ์และฝึกทักษะการดูแลหญิงหลังคลอดและทารกหลังคลอด 0 3.00 -

1.ขั้นเตรียมการ ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเครือข่าย ทบทวนบทบาทหน้าที่และกำหนดแผนการทำงานร่วมกันเสนอโครงการเพื่อของบประมาณประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ ประชาสัมพันธ์การจัดทำโครงการ 2.ขั้นดำเนินการ ดำเนินการอบรมให้ความรู้แกนนำอนามัยแม่และเด็ก เขตพื้นที่รับผิดชอบตำบลฉลุง ค้นหาหญิงตั้งครรภ์ในชุมชนโดย อสม. ผู้นำชุมชน กระตุ้นหญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ดำเนินการติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง ติดตามเยี่ยมมารดาและทารกหลักคลอด โดย อสม. สรุปและประเมินผลโครงการรายงานผลต่อกองทุน สปสช. อบต.ฉลุง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดการมีส่วนร่วมและได้รับความร่วมือจาก องค์กรชุมชนในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและพัฒนางาน อนามัยแม่และเด็ก2. อสม. แกนนำแม่และเด็ก มีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กสามารถถ่ายทอดความรู้ สู่ชุมชนได้ และชุมชนมีแผนงาน มีมาตรการทางสังคมเพื่อการพรัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก โดยชุมชน 3.หญิงตั้งครรภ์และครอบครัว มีความรู้ ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองที่ถูกต้องขณะตั้งครรภ์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561 15:26 น.