กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ในเขต 2 ตำบลกะลุวอเหนือ
รหัสโครงการ 60-L2491-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะปอม
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 45,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอัจฉราบินแวดาโอะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.404,101.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฮพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคมและภูมิปัญญาชุมชนตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื่นที่ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตโรคเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจโดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชนและให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกินการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยื่นนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่
จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในปี 2559 เป้าหมายประชากร 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,055 คน คัดกรองได้ 990 คน คิดเป็นร้อยละ 93.84 พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 5.45 กลุ่มส่งสัยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 1.51 ผู้ป่วยรายใหม่ 6 คนคิดเป็นร้อยละ 0.06และพบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิตสูง จำนวน 128 คน คิดเป็นร้อยละ 12.92 กลุ่ม สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 2.52 ผู้ป่วยรายใหม่ 9 คนคิดเป็นร้อยละ 0.90
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะปอม มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการปรับพฤติกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเพื่อเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ในเขต 2 ชึ้นโดยไม่เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมการเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และเบาหวาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน

 

2 เพื่อลดอัตราการป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 การประชาสัมพันธ์และดำเนินการคัดกรองฯ 1.1 ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเนื้อหา กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ การพิจารณากลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน 1.2 ประสานกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรม อสม. แกนนำสุขภาพ 1.3 ดำเนินการคัดกรองสุขภาพที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป ในเขต 2 หมู่ 4,5,8,9,11 และ 13
1.4 สรุปผลคัดกรอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินงานในกิจกรรมที่ 2 ต่อไป กิจกรรมที่ 2 การดำเนินการอบรมฯและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง ขั้นการเตรียม 2. ดำเนินการลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจคัดกรองและยื่นยันผลการคัดกรองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงมีความพร้อมและสมัครใจ ขั้นดำเนินการ 4. ดำเนินการจัดประชุมแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยงจำนวน 2 วัยน โดยประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมเป็นกรอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การถอดบทเรียน และประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเสี่ยง (รายละเอียดตามภาคผนวก) 5. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง ดำเนินการจำนวน 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 จำนวน 2 วัน (ในการอบรม) ครั้งที่ 2 จำนวนครั้งละ 1 วัน (งบสนับสนุนจาก รพ.นราธิวาส) ห่างกันครั้งละประมาณ 1 เดือน ครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งที่ 2 ประมาณ 3 เดือน ร่วมระยะเวลาเข้าร่วมกิจกรรม ถึงการประเมิน 6 เดือน 6. สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.1 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่มรเกณฑ์ปกติ 10.2 มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในชุมชน 10.3 เกิดนวัฒกรรมสุขภาพในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2560 15:33 น.