กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตำบลจัดการสุขภาพ
รหัสโครงการ 61-L2539-01-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.โต๊ะเด็ง
วันที่อนุมัติ 20 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 เมษายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2561
งบประมาณ 17,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางละออ สุขป่าน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.116,101.849place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 เม.ย. 2561 30 เม.ย. 2561 17,000.00
รวมงบประมาณ 17,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หมู่บ้านจัดการสุขภาพ มีเป้าหมายสูงสุด( Ultimate Goal ) คือ เป็นหมู่บ้านที่ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพได้ ตามคำขวัญที่ว่า “ แม้เราเป็นชาวบ้าน เราก็สามารถดูแลสุขภาพของพวกเรากันเองได้ ” ด้วยคำขวัญนี้มีปรัชญาและฐานคิดอยู่เบื้องหลัง คือ หมู่บ้านจัดการสุขภาพเป็นทั้งเป้าหมายในการพัฒนา ( Ultimate Goal ) คือ ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน พึ่งพากันเองได้ ทางด้านสาธารณสุข และเป็นทั้งกระบวนการพัฒนา( Process ) กล่าวคือ เป้าหมายสุดท้ายหรือสิ่งที่เราอยากเห็นหรืออยากให้เกิดขึ้นคือ ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน พึ่งพากันเองได้ทางสาธารณสุข แต่การที่ประชาชนจะสามารถพึ่งพากันเองได้นั้น ต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาด้วยกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเอง จนสามารถรู้จักตนเอง เข้าใจตนเองและกำหนดอนาคตของชุมชนได้เอง จนเกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้และการพึ่งพากันเองหรือจัดการกันเอง นอกจากชุมชนจะต้องมีความรู้ในการจัดการแล้ว คนในชุมชนจะต้องมีคุณธรรมด้วย เพราะคุณธรรมจะเป็นกรอบกำหนดพฤติกรรมหรือจัดระบบ ระเบียบการทำงานร่วมกันของหมู่บ้าน/ชุมชน หรือมีมาตรการทางสังคมที่จะเป็นตัวกำหนดคนในชุมชนอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข
ตำบลโต๊ะเด็งเป็นตำบลที่มีปัญหาด้านสุขภาพหลายอย่างจากรายงานสภาวะสุขภาพของประชาชนตำบลโต๊ะเด็ง ปี 2558-2560 ประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนังซึ่งมีผลกระทบมาจากพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองที่ไม่ถูกสุขลักษณะและในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ตามลำดับซึ่งที่ผ่านมาการแก้ปัญหาสุขภาพ มักเกิดแบบระบบพึ่งพา และรัฐเป็นผู้จัดให้ ชุมชนขาดความตระหนัก และการแสดงบทบาทในการดูแลตนเองในการสร้างสุขภาพไม่ถูกต้อง รวมทั้งผู้นำที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงขาดทักษะในการค้นหาปัญหา การแก้ไข และขาดกระบวนการเรียนรู้การดูแลสุขภาพตามวิถีชุมชน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโต๊ะเด็งจึงได้จัดทำโครงการเพื่อใช้ในการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนการจัดการสุขภาพ ชุมชนในระดับตำบล เพื่อนำไปสู่ หมู่บ้านจัดการสุขภาพขึ้นเพื่อเสริมสร้างให้แกนนำให้มีทักษะ การจัดการระบบสุขภาพในหมู่บ้านและมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้โครงการบรรลุผลตามเป้าหมายและตรงตามแผนงานที่วางไว้และเป็นแนวทางในการติดตามผลการดำเนินงานโครงการอื่นๆ ของงานสุขภาพภาคประชาชนต่อไปในอนาคตที่ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้แกนนำเครือข่ายมีทักษะในการค้นหาปัญหาสุขภาพของชุมชนและจัดระบบการดูแลสุขภาพของชุมชนได้

ร้อยละ100 แกนนำมีความรู้

100.00
2 2.เพื่อให้เกิดการประสานงานที่ดีระหว่างองค์กรของรัฐและชุมชนและเป็นเครือข่ายสร้างสุขภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยอาศัยการมีส่วนร่วมโดยใช้วิถีชุมชน

ร้อยละ100 ได้รับความร่วมมือ

100.00
3 3.เพื่อให้มีการติดตามผลการดำเนินงานทำให้โครงการบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้

โครงการบรรลุผลสำเร็จ

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,000.00 1 17,000.00
25 เม.ย. 61 อบรมความรู้ให้ความรู้แก่แกนนำชุมชน 0 17,000.00 17,000.00

-จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับแกนนำ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.แกนนำเครือข่ายมีทักษะในการค้นหาปัญหาสุขภาพของชุมชนและจัดระบบการดูแลสุขภาพของชุมชนได้ 2.เกิดการประสานงานระหว่างองค์กรภาครัฐและชุมชนเป็นเครือข่ายสร้างสุขภาพเพื่อการัฒนาที่ยั่งยืนโดยอาศัยการมีส่วนร่วมโดยใช้วิถีชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561 22:02 น.