กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขจัดสิ้นยุงก้นปล่อง ป้องกันภัยไข้มาลาเรีย
รหัสโครงการ 60-L4131-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังใหม่
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 52,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสารีหม๊ะ มะลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.963,101.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3224 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในประเทศไทย มาลาเรียเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขมาช้านาน รัฐบาลได้พยายามควบคุมกวาดล้างมาลาเรียมาตั้งแต่องค์การอนามัยโลกแนะนำ โดยการกำจัดยุงก้นปล่องซึ้งเป็นพาหะนำโรค และการรักษาโดยการให้ยาฆ่าเชื้อมาลาเรียแก่ผู้ป่วย แต่โรคมาลาเรียก็ยังปรากฏอย่างต่อเนื่องในพื้นที่เสี่ยงสูง โดยเฉพาะบริเวณชายป่า และป่าเขาตลอดแนวชายแดนของประเทศในภาพรวมปัญหาโรคมาลาเรียของประเทศไทยได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้พัฒนาแผนยุทธศาสตร์กำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย พ.ศ. 2560-2569 มีวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยปลอดจากโรคไข้มาลาเรียภายในปี พ.ศ. 2567 โดยมี 4 ยุทธศาสตร์ 1) เร่งรัดกำจัดการแพร่เชื้อมาลาเรียในประเทศไทย 2) พัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรม มาตรการและรูปแบบที่เหมาะสม ในการกำจัดโรคไข้มาลาเรีย 3) สร้างความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ เพื่อขับเคลื่อนงานกำจัดโรคไข้มาลาเรีย 4) ส่งเสริมให้ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลตนเองจากโรคไข้มาลาเรีย ด้วย ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบสุขภาพ ปี พ.ศ. 2560 – 2564 คือ “ระบบสุขภาพยั่งยืน ประชาชนสุขภาพดีเจ้าหน้าที่มีความสุข” ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 1 เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ลดปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ โดยมีเป้าประสงค์หลัก เพื่อประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค มีพฤติกรรมและดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองครอบครัวและชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งกำหนดตัวชี้วัดอัตราป่วยไข้มาลาเรียไม่เกิน 300 ต่อแสนประชากร ประกอบกับโรคมาลาเรียยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญของโลก เนื่องจากมีประชากรป่วยและตายด้วยโรคมาลาเรียเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นโรคติดต่อที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรคอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการควบคุม ป้องกันและดูแลอย่างดี จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการการควบคุมและป้องกันที่ดี อำเภอเบตง มีสภาพเป็นป่าเขา อากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดทั้งปี จึงเหมาะต่อการระบาดของไข้มาลาเรียโดยเฉพาะพื้นที่อัยเยอร์เวง เป็นแหล่งรังโรคของไข้มาลาเรีย มีการระบาดซ้ำซากเป็นประจำทุกปี จากสถิติที่ผ่านมา พบว่า ปี 2555 – 2559 พบผู้ป่วยจำนวน 12 ราย 15 ราย 12 ราย 4 ราย และ 7 รายตามลำดับ จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วยมาลาเรียยังคงขึ้น – ลง เพียงเล็กน้อยและไม่เกินตัวชี้วัดที่กำหนด แต่ก็ไม่ควรนิ่งเฉย เพราะปกติแล้วในเขตพื้นที่ตำบลอัยเยอร์เวง โรคไข้มาลาเรียจะระบาดเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในช่วงเดือน เมษายน – มิถุนายน ของทุกปี หากไม่มีการรณรงค์ป้องกัน และทำงานในเชิงรุกที่ดี ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังใหม่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อควบคุมและป้องกันโรคมาลาเรีย โดยมุ่งหวังให้จำนวนผู้ป่วยไข้มาลาเรียลดลง และอัตราป่วยไม่เกิน 300 ต่อแสนประชากร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียไม่เกิน 300 ต่อแสนประชากร

 

2 2. เพื่อพ่นสารเคมีตกค้างในเขตพื้นที่เสี่ยงระบาดซ้ำซ้อน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1) ขั้นเตรียมการ -ประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อวางแผนการดำเนินการ -วิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง -เขียนและเสนอโครงการ 2) ขั้นดำเนินการ -เจาะเลือดค้นหาผู้ป่วย -พ่นสารเคมีตกค้างทุกครัวเรือนในเขตพื้นที่เสี่ยงระบาดซ้ำซ้อน 3) สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรียลดลงและอัตราป่วยไข้มาลาเรียไม่เกิน 300 ต่อแสนประชากร 2) ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ระบาดได้รับการเจาะเลือดคัดกรองโรคมาลาเรีย 3) หลังคาเรือนที่อยู่พื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ระบาดได้รับการพ่นสารเคมีตกค้าง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2560 15:43 น.