กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชาชนร่วมใจ ขจัดภัยเบาหวานความดัน
รหัสโครงการ 60-L4131-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังใหม่
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 มิถุนายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปาตีเม๊าะ อารี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.963,101.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เบาหวานเป็นโรคซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากตัวเลขของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันพบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานทั้งสิ้น 189 ล้านคนและคาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึง 324 ล้านคน ที่น่าเป็นห่วงคือผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่เสียชีวิตจากภาวะโรคแทรกซ้อน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถป้องกันและควบคุมได้ อีกทั้งยังพบว่า อายุเฉลี่ยของการเริ่มต้านป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นน้อยลงเรื่อยๆ และมีแนวโน้มจะลุกลามไปถึงเด็กในอนาคตอันใกล้ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะเรื่องการรับประทาน เบาหวานนอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆอีกมากมาย เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานคือ “กรรมพันธุ์” และ “สิ่งแวดล้อม”ในส่วนของกรรมพันธุ์นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้นขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์แม่ แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ แต่ก็สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานได้ “มีผลการวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำ ส่งผลโดยตรงต่อการป้องกันโรคเบาหวาน โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงทางกรรมพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นการควบคุมโรคเบาหวานและป้องกันโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานเพราะการควบคุมอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูง” การรักษาเบาหวานโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์จึงไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือประชาชนทั่วไปต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องการโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ค่ายเบาหวานหรือกิจกรรมชมรมอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเช่นคนปกติโดยปราศจากโรคแทรกซ้อน จากการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ตามนโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่เดือน กันยายน พ.ศ. 2559 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 จำนวน 1,200 ราย พบว่า มีผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน 23 ราย และเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง 57 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.90 และ 4.75 ตามลำดับ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังใหม่ ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรคเรื้อรังได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

 

2 เพื่อประชากรกลุ่มเสี่ยงลดพฤติกรรมเสี่ยงและสามารถดูแลสุขภาพตนเองขั้นพื้นฐานได้อย่างเหมาะสม

 

3 เพื่อร่วมพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 .กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวานจำนวน 80 คน 2 .ประเมินภาวะ BMI วัดรอบเอวรอบสะโพก ตรวจรับระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) และวัดความดันโลหิตก่อนและหลังร่วมโครงการ 3. จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยใช่สื่อให้ความรู้ได้แก่ Power point แผ่นพับบอร์ดนิทรรศการ โมเดลอาหารเป็นต้น โดยใช้หลัก 3 อ. 2 ส. แบ่งออกเป็น 5 ฐานที่ 1 อ.อาหาร ฐานที่ 2.อ.ออกกำลังกาย ฐานที่ 3 อ. อารมณ์ ฐานที่ 4 ส. สูบบุหรี่ ฐานที่ 5 ส. สุราใช้แผ่นพับ ฯลฯ 4. ติดตามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงหลังได้รับการอบรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
    1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงลดพฤติกรรมเสี่ยงและสามารถดูแลสุขภาพตนเองขั้นพื้นฐานได้อย่างเหมาะสม
    2. สามารถพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2560 15:53 น.