โครงการรณรงค์สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก0-5 ปี ตำบลกาลูปัง ปีงบประมาณ 2561
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก0-5 ปี ตำบลกาลูปัง ปีงบประมาณ 2561 |
รหัสโครงการ | 61-L4155-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง |
วันที่อนุมัติ | 26 มกราคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 19,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.464,101.374place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
นโยบายการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตระหนักดีว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูง จึงได้นำวัคซีนที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับประเทศมาบรรจุในโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมายาวนานกว่า 30 ปี แล้ว โดยมีนโยบายด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญ คือ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคที่มีความจำเป็นให้ครอบคลุมจำนวนโรคให้มากที่สุด ให้ครอบคลุมประชาชนกลุ่มเป้าหมายสูงที่สุด ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน การพัฒนาคุณภาพด้านอารมณ์และสติปัญญาในเด็กให้ดีเยี่ยมนั้น ควรเริ่มจากการที่เด็กมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และสมบูรณ์เนื่องจากการมีสุขภาพกายที่ดี สุขภาพจิตก็จะดีตามไปด้วยภาวะโภชนาการจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายและสติปัญญา เห็นได้ว่าเด็กที่ขาดสารอาหารมักจะมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายและสติปัญญาช้ากว่าเด็กที่มีภาวะโภชนาการที่ปกติ และการได้รับภูมิคุ้มกันโรคก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพกายที่แข็งแรงซึ่งมักพบว่าเด็กที่ได้รับวัคซีนภูมิคุ้มกันโรคไม่ครบตามเกณฑ์นั้น มักมีภาวการณ์เจ็บป่วยได้บ่อย ร่างกายอ่อนแอ และส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายอารมณ์และพัฒนาการทางด้านสมองไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปังอำเภอรามันจังหวัดยะลา ได้ตระหนักดีในความสำคัญของการส่งเสริมให้เด็กมีการพัฒนาการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาของเด็ก 0 – 5ปี ดังนั้นจึงได้ทำโครงการส่งเสริมรักเด็กสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้เด็กมีภาวะสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อไปซึ่งเด็กอายุ 0- 5 ปีในเขตรับผิดชอบทั้งหมด จำนวน 330 คน ฉีดวัคซีนไม่ครบ จำนวน 110 คน และปัจจุบันเด็กได้รับวัคซีนจำนวน 220คน คิดเป็นร้อยละ 66.6 ในปี 2561เด็ก 0-5 ปีต้องได้รับวัคซีน ร้อยละ 90 จึงจะผ่านตัวชี้วัดของกระทรวงฯด้วยเหตุนี้ทางโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กในพื้นที่มีสุขภาพสมบูรณ์ ปลอดภัยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและเป็นบันไดสู่ความสำเร็จของการมีสุขภาพดี
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
17 ส.ค. 61 | อบรมให้ความรู้, รณรงค์ประชาสัมพันธ์การรับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี | 140 | 19,000.00 | ✔ | 19,000.00 | |
รวม | 140 | 19,000.00 | 1 | 19,000.00 |
- ขั้นตรียมการ
- จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
- จัดเตรียม อสม และผู้ปกครองเด็กอายุ อายุ 0 – 5ปี
- ประชุม ชี้แจงโครงการแก่ อสม. / ผู้นำสตรี / ผู้นำชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ
- ประสานงานวิทยากร
- จัดเตรียมสื่อการสอนได้แก่ โมเดล แผ่นพับ โปสเตอร์
2.ขั้นดำเนินการ
- จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับการป้องกันโรคได้ด้วยวัคซีน จำนวน 140 คน
- ติดตามเด็กติดตามเด็กกลุ่มเป้าหมายรายบ้านที่ขาดนัด โดย อสม หรือเจ้าหน้าที่ให้มารับบริการในครั้งต่อไป
- อสม หรือเจ้าหน้าที่ลงเยี่ยมเฝ้าระวังกลุ่มปฎิเสธวัคซีน
3.ขั้นประเมินผล
- จากรายงานผล HDCเว็บไซต์ของสาธารณสุขจังหวัดยะลา
- อสม.และผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้วามเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและตระหนักในการนำบุตรหลานมารับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีต่อการรับวัคซีน
- ผู้ปกครองตระหนักในการนำบุตรหลานมารับบริการวัคซีนตามนัด 3.ไม่มีอุบัติการณ์และอัตราป่วยจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2561 13:21 น.