กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภัยแทรกซ้อนเบาหวานโดยชุมชนเพื่อคนปากแจ่ม
รหัสโครงการ 61-L1536-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ตำบลปากแจ่ม
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 10,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.ตำบลปากแจ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการกองทุน สปสช.ต.ปากแจ่ม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.737,99.724place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (10,200.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตและคร่าชีวิตมนุษย์มากที่สุดโรคหนึ่งสำหรับประเทศไทยแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตด้วยเบาหวานปีละ ๒หมื่นคน จากสถิติตั้งแต่ ๑ม.ค. ๒๕๕๕ – ๓๑ธ.ค.๒๕๕๘จังหวัดตรัง พบผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน จำนวน ๒,๒๖๓ราย คิดเป็นอัตราตายร้อยละ๔.๔๙ต่อประชากรพันคนมีอัตราตายสูงสุดในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ร้อยละ๑.๓๙จำนวน ๗๐๑ราย (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง : ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง,๒๕๕๙)แสดงว่าโรคเบาหวานมีแนวโน้มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มมีความชุกค่อนข้างสูง และนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เรื้อรังหรือรุนแรงได้ อาทิเช่น ภาวะหลอดเลือดตีบแข็งความดันโลหิตสูงจอประสาทตาเสื่อมไตวายโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดร่วมกับเป็นแผลเรื้อรัง ติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความพิการหลายประการ ได้แก่ ตาบอด หรือ ถูกตัดขา ซึ่งปัญหาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม รวมทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจของครอบครัวหากผู้ป่วย/ครอบครัวไม่มีความเข้าใจในโรคที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญอยู่ ร่วมกับให้การดูแลผู้ป่วยไม่ถูกต้อง ปัญหาด้านต่างๆที่กล่าวมารวมถึงภาวะแทรกซ้อนก็อาจเกิดขึ้นได้ หากไม่สามารถควบคุมภาวะแทรกซ้อนให้อยู่ในภาวะปกติได้ ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาที่เรื้อรังต่อไป
สำหรับตำบลปากแจ่มผลการดำเนินงานโครงการตรวจประเมินภาวะแทรกซ้อนทางตาและเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานในปี ๒๕๖๐ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแจ่มมีผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจประเมินภาวะแทรกซ้อนจำนวน ๘๐คน พบผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางตาจำนวน ๖รายคิดเป็นร้อยละ ๗.๕๐ และมีภาวะแทรกซ้อนทางเท้าจำนวน ๒ราย๒.๕๐ นอกจากนี้มีผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมโรคไม่ได้ (ค่า HbA1c >๗ mg%)จำนวน ๕๐ ราย คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๕ ถึงแม้ว่าจะมีการเฝ้าระวังคัดกรองโรคอย่างต่อเนื่อง แต่ยังพบว่ามีประชาชนกลุ่มป่วยเบาหวานส่วนหนึ่งที่ยังมีพฤติกรรมไม่ถูกต้องและขาดความตระหนักในการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงตามมาดังนั้นการจัดทำแผนงานแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องก็จะส่งผลทำให้ปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มลดลง เป็นการลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตาเท้ารายใหม่ในผู้ป่วยเบาหวาน และการสนับสนุนพัฒนาองค์ความรู้ให้กับแกนนำ อสม.บูรณาการการมีร่วมกับแกนนำ องค์กรต่างๆ ในการเฝ้าระวังควบคุมโรคเบาหวานในชุมชน ดังนั้นทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแจ่ม จึงได้จัดทำโครงการ “เฝ้าระวังภัยแทรกซ้อนเบาหวาน โดยชุมชนเพื่อคนปากแจ่ม”ขึ้น เพื่อการสร้างเสริมกลุ่มแกนนำในการดูแลติดตามผู้ป่วยเบาหวานและการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนรุนแรง อีกทั้งส่งเสริมความตระหนักในกลุ่มป่วยให้สามารถดูแลสุขภาพตนเอง เฝ้าระวังควบคุมโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานได้อย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

จัดทำแผนงาน/โครงการ แก้ไขปัญหาและชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง
อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างทักษะและพัฒนาความรู้ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในทีมคระทำงาน NCD BORD ระดับตำบล การแต่งตั้งคณะกรรมการNCD BORD ระดับตำบลและการติดตามเฝ้าระวังควบคุมโรคประสานชุมชนมีส่วนร่วม
การค้นหาและจัดทำฐานทะเบียนฐานข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานและออกแบบนวัตกรรมการเฝ้าระวังโดยโดยทีมงาน NCD BORD ระดับตำบล
การจัดสัปดาห์รณรงค์ตรวจประเมินคัดกรองตาและเท้าในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและการส่งต่อเพื่อรักษาอย่างถูกต้อง การจัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในผู้ป่วยเบาหวานโดยแบ่งเป็นฐานความรู้ “ฐานความรู้สู้ภัยแทรกซ้อนเบาหวาน” เพื่อส่งเสริมความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้อย่างถูกต้อง
การจัดทำนวัตกรรม “บัตรเตือนใจ ห่วงใยสุขภาพคนเบาหวาน” เพื่อการสนับสนุนให้กับกลุ่มป่วยเบาหวาน เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลควบคุมโรค สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เกิดการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังควบคุมโรคเรื้อรังโดยชุมชนภายใต้ทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง NCD BORD ระดับตำบล อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานลดลง
ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแลตนเองได้ และควบคุมโรคเบาหวานได้ดีเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ (ค่า HbA1C

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2561 13:53 น.