กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อย สุขภาพฟันดี
รหัสโครงการ 60-L4131-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอัยเยอร์เวง
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 31 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 37,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอมือล๊ะ อาโล๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.963,101.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย โรคฟันผุในเด็กสามารถ พบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 2 – 4 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจาดพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาด ช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อการพัฒนาการ การเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสีย ต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวนเก ล้มเอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้ อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็น ปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก และด้วยวิสัยทัศน์ระบบสุขภาพ จังหวัดยะลา ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 เรื่องการพัฒนาระบบการแก้ปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ซึ่งกำหนดตัวชี้วัดในงานทันตสาธารณสุข คือ เด็กมีปัญหาฟันน้ำนมผุไม่เกินร้อยละ 57 อัตราการปราศจากฟันผุในเด็กอายุ 3 ปี(มากกว่าร้อยละ 43 ) และมีฟันผุลดลง ปัญหาสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญ งานทันตสาธารณสุขในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินงาน โดยต้องมีผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันหลายฝ่าย คือ ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็กและเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข ต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปาก จากการตรวจทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านอัยเยอร์เวง บ้านกม.28 และนากอปีงบประมาณ 2559 จำนวน 198 คน ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของการดำเนินงานเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน พบว่า เด็กที่มีปัญหาโรคฟันผุ 163 คน คิดเป็นร้อยละ 82.32 และพบเด็กที่มี CF จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 17.67 ซึ่งจะเห็นว่า ภาพรวมของสภาวะฟันผุของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจะอยู่ในระดับสูงสาเหตุการเกิดโรคฟันผุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกิดจากพฤติกรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครองและเลี้ยงดูเนื่องจากการรักษาโรคฟันผุในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทำได้ยาก เพราะเด็กให้ความร่วมมือน้อย แนวทางที่เมหาะสมสำหรับเด็กกลุ่มนี้ควรเน้นไปที่การป้องกันการเกิดฟันผุตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้น ซึ่งสามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพหากได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี ช่วยให้สามารถเก็บรักษาฟันให้มีสุขภาพดีและใช้งานได้ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอัยเยอร์เวง ได้เห็นความสำคัญของปัญหาทันตสุขภาพของเด็กในศุนย์พัฒนาเด็กเล็กของตำบลอัยเยอร์เวงจึงได้จัดทำโครงการหนูน้อย สุขภาพฟันดีขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสภาวะช่องปากและฟันที่ดียิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

 

2 2. เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์

 

3 3. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการเพิ่มความรู้พื้นฐานในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของเด็กและการดูแลทันตสุขภาพของตนเองได้

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง 3.ดำเนินกิจกรรมตามกลุ่มเป้าหมายโดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ 3.1 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านอัยเยอร์เวงบ้านกม. 28 และนากอ 3.2 ตรวจสภาวะทันตสุขภาพในเด็ก/ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ 3.3 กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรค์ทุกวัน 3.4 กิจกรรมเคลือบฟลูออไรด์วานิชเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3.5 สนับสนุนอุปกรณ์สาธิตการแปรงฟัน เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า 3.6 จัดอบรมให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เรื่อง โรคฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ การแปรงฟันที่ถูกวิธีการเลือกแปรงฟัน ยาสีฟัน สาธิตวิธีการ และฝึกทักษาะการแปรงฟันความรู้เรื่องอาหารที่มีประโยชน์และโทษต่อฟัน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
    1. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการเคลือบฟลูออไรด์วานิชป้องกันฟันผุ
    2. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของเด็กและของตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2560 15:58 น.