กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดยุงก้นปล่อง ทำลายไข้มาลาเรีย
รหัสโครงการ 60-L4131-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอัยเยอร์เวง
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรุสดี ซียง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.963,101.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วย วิสัยทัศน์พัฒนาระบบสุขภาพจังหวัดยะลา ปี 2560 ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสุขภาพประชาชนตามกลุ่มวัยและแก้ปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายโดยใช้กลไกเครือข่ายสุขภาพอำเภอ (DHS) พัฒนาระบบควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งกำหนดตัวชี้วัดอัตราป่วยไข้มาลาเรียไม่เกิน 300 ต่อแสนประชากร ประกอบกับโรคไข้มาลาเรียเป็นโรคติดต่อที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรคอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้หากดูแลไม่ดี จึงต้องเร่งหาทางป้องกันโดยด่วน
อำเภอเบตง มีสภาพเป็นป่าเขา อากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี จึงเหมาะต่อการระบาดของ ไข้มาลาเรียโดยเฉพาะพื้นที่ตำบลอัยเยอร์เวง เป็นแหล่งรังโรคของไข้มาลาเรีย มีการระบาดซ้ำซากเป็นประจำทุกปี จากสถิติที่ผ่านมา พบว่า ปี 2555 – 2559 มีประชากรป่วยเป็นไข้มาลาเรีย 1, 29, 43, 6 ราย ส่วนในปี 2560 นี้คาดว่าจะมีแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้น หากไม่มีการรณรงค์ป้องกัน และทำงานในเชิงรุกที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียไม่เกิน 300 ต่อแสนประชากร

 

2 เพื่อพ่นสารเคมีตกค้างในเขตพื้นที่เสี่ยงระบาดซ้ำซ้อน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1) วิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง 2) เขียนและเสนอโครงการ 3) ประสาน และดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนด ดังนี้ 3.1) กิจกรรมการควบคุมและป้องกันโรค - เจาะเลือดค้นหาผู้ป่วยโดย อสม./รพ.สต. - ตรวจเลือดค้นหาผู้ป่วยโดย รพ.สต. - พ่นสารเคมีตกค้างทุกครัวเรือนในเขตพื้นที่เสี่ยงระบาดซ้ำซ้อนโดย นคม./อสม. 3.2) กิจกรรมสาธิตรณรงค์ควบคุมโรค - ใช้โลชั่นกันยุงในจุดที่พบผู้ป่วย 4) สรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) อัตราป่วยไข้มาลาเรียลดลงเหลือไม่เกิน 300 ต่อแสนประชากร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2560 16:35 น.