กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และอย.น้อยในโรงเรียนด้านคุ้มครองผู้บริโภค และอาหารปลอดภัย
รหัสโครงการ 1-61
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพสต.บันนังสาเรง
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2017 - 31 สิงหาคม 2018
กำหนดวันส่งรายงาน 13 กันยายน 2018
งบประมาณ 35,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประกายดาวสุขเสน
พี่เลี้ยงโครงการ สุชาดา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบันนังสาเรง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.48,101.258place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2018 30 มิ.ย. 2018 33,600.00
2 1 ต.ค. 2017 30 ก.ย. 2018 2,120.00
รวมงบประมาณ 35,720.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนและต้องบริโภคกันอยู่ทุกวัน จะแน่ใจได้อย่างไรว่าอาหารที่เราบริโภคอยู่ทุกวันนี้มีความสะอาดปลอดภัย หากผู้บริโภคปรุงอาหารด้วยตนเองก็มั่นใจได้ว่าอาหารมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่คนส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารนอกบ้านมารับประทาน ทำให้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า อาหารมีความปลอดภัยเพียงพอทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่าซึ่งในปัจจุบันมีพ่อค้าแม่ค้าที่เอาเปรียบผู้บริโภคโดยนำวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำมาประกอบอาหาร หรือมีการเติมสารห้ามใช้ในอาหารบางอย่างลงไปเช่น บอแรกซ์ โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ เป็นต้น รวมทั้งมีการปรุงอาหารอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่สะอาดเหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ อีกทั้ง หากผู้บริโภคขาดความรู้ ความเข้าใจ อย่างเพียงพอในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ก็จะยิ่งทำให้ไม่สามารถเลือกซื้อ หรือเก็บรักษาอาหารได้ถูกต้อง และไม่สามารถดูแลปกป้องตนเองจากพิษภัยของอาหารที่ไม่ปลอดภัยได้ ดังนั้น การให้ความรู้เบื้องต้นเรื่องความปลอดภัยของอาหาร จึงมีความสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพ (Empowerment) การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพ ผู้ปฏิบัติหน้าที่จำเป็นจะต้องใช้องค์ ความรู้ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มต่างๆในชุมชน ทั้งกลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มอสม. และกลุ่มนักเรียน โดยในกลุ่มผู้บริโภค จะมุ่งเน้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค เช่น ความรู้ในการเลือก ซื้อ เลือกใช้ ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย การตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ สิทธิผู้บริโภค ช่องทางการร้องเรียน ส่วนในกลุ่มผู้ประกอบการ จะมุ่งเน้นความรู้ในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ ผลิตภัณฑ์สินค้าของตนเอง แนวทางการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ในการนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบันนังสาเรงจึงจัดทำโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และอย.น้อยในโรงเรียนด้านคุ้มครองผู้บริโภค และอาหารปลอดภัยขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพในเรื่องการเลือกซื้อ เลือกบริโภคที่ถูกต้อง และขั้นตอนการตรวจสอบเฝ้าระวังตลอดจนการจัดการกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้แก่ผู้ประกอบการและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ อสม. และครู/นักเรียน อย.น้อย และเพิ่มเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และเครือข่าย อย.น้อยในโรงเรียน
  1. ผู้ประกอบการและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ อสม. และครู/นักเรียน อย.น้อยได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านคุ้มครองผู้บริโภค และอาหารปลอดภัยร้อยละ 100
100.00
2 2. เพื่อให้สถานประกอบการ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพได้รับตรวจเฝ้าระวังอาหารปลอดภัย และสารปนเปื้อน 6 ชนิด และโรงเรียนในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการตรวจสอบ/ผลิตภัณฑ์นมโรงเรียน

1.ร้อยละ 80 ของอาหารสด อาหารแปลรูปมีความปลอดภัย 2.ร้อยละ 100 ของสถานประกอบการและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพได้รับตรวจสอบมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,120.00 0 0.00
1 ต.ค. 60 - 31 ส.ค. 61 อบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ และผู้บริโภคด้านคุ้มครองผู้บริโภค และอาหารปลอดภัย 0 2,120.00 -
30 เม.ย. 61 2.1.ตรวจเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในสถานประกอบการ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ /สารปนเปื้อน 6 ชนิดในอาหารสด/ผลิตภัณฑ์นมโรงเรียนในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 0 30,000.00 -
  1. อบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ และผู้บริโภคด้านคุ้มครองผู้บริโภค และอาหารปลอดภัย
  2. ตรวจเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในสถานประกอบการ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ /สารปนเปื้อน 6 ชนิดในอาหารสด/ผลิตภัณฑ์นมโรงเรียนในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ผู้ประกอบการและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ อสม. และครู/นักเรียน อย.น้อยมีความรู้ด้านคุ้มครองผู้บริโภค และอาหารปลอดภัยมากขึ้น 2. สถานประกอบการ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพได้รับตรวจเฝ้าระวังอาหารปลอดภัย และสารปนเปื้อน 6 ชนิด 3. โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการตรวจสอบ/ผลิตภัณฑ์นมโรงเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2018 15:33 น.